dbx DriveRack – เจาะทุกฟังก์ชันการใช้งาน

dbx driverack

dbx DriveRack มาพร้อมกับซอฟต์แวร์ควบคุม เหนือชั้นด้วยโหมดฟังก์ชัน Wizard ทำให้ระบบลำโพงที่ซับซ้อนกลายเป็นเรื่องง่าย

DriveRack เป็นอีกหนึ่งในอุปกรณ์ดิจิตอลครอสโอเวอร์ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง ตลอดช่วงหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา dbx ได้ผลิตครอสโอเวอร์รุ่นใหม่ๆ ป้อนสู่ตลาดมากมาย โดย dbx มีไลน์ผลิตครอสโอเวอร์ต่อเนื่องถึง 10 รุ่น

สำหรับวงการ PA บ้านเรา หลายคนรู้จักครอสโอเวอร์ DriveRack เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น DriveRack 260, DriveRack VENU360 และ PA2 เชื่อว่าต้องเคยใช้งาน หรือผ่านหูผ่านตามาแน่นอน ไม่เพียงเท่านั้น วงการ PA ในต่างประเทศได้รับความนิยมไม่แพ้ตลาดเมืองไทยเช่นกัน

เจาะฟังก์ชันของ DriveRack

สำหรับบทความนี้จะอธิบายเกี่ยวกับฟังก์ชันของ DriveRack VENU 360 เป็นหลัก เรามาเริ่มที่ฟีเจอร์หลักๆ ของอุปกรณ์ตัวนี้ว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง อุปกรณ์ตัวนี้สามารถทำได้ถึง 5 อินพุต คำถามคือมันจะทำได้ยังไงในเมื่อด้านหลังเครื่องมีเพียง 3 อินพุต นั่นเพราะ 2 อินพุตแรกสามารถเลือกรับได้จากสัญญาณดิจิทัลในฟอร์แมทของ AES นั่นเอง

dbx DriveRack VENU360


DriveRack VENU 360 เป็นอุปกรณ์ Loudspeaker Management System มีขนาด 3×6 รองรับสัญญาณระดับ 24-Bit สามารถเลือกแซมปลิ้งเรทได้ 48kHz/96kHz

จุดเด่นของอุปกรณ์รุ่นนี้คือมีฟังก์ชัน Wizard สามารถจัดการบาลานซ์ Level ในตัวระบบ อีกฟังก์ชันที่โดดเด่นของ Auto EQ แต่ต้องใช้ร่วมกับไมโครโฟน RTA ภายในมีพาราเมตริก EQ จำนวน 10 แบนด์ให้เลือกใช้ และยังมี ASF เป็นฟังก์ชัน Anti-Feedback รองรับการจัดการเป็นโมโนหรือสเตริโอก็ได้ หรือจะทำเป็น Aux ก็ได้

ด้านในยังมีกราฟิก EQ จำนวน 31 แบนด์ สามารถทำ Delay ได้ ทำเป็นจุด หรือทำเป็นโซน Delay แยกได้ ตัวนี้มี Subharmonic Synthesis ช่วยเพิ่มเสียงเบสได้ในบางกรณี ตัวอย่างเช่น เราต้องการเรียกศักยภาพของย่านความถี่ต่ำ เราสามารถใช้โหมดนี้มาช่วยสังเคราะห์ย่านความถี่ต่ำให้เพิ่มขึ้นนั่นเอง

นอกจากนั้นยังมีคอมเพรสเซอร์ให้ มีครอสโอเวอร์ สิ่งหนึ่งที่ผู้ใช้ซื้อ DriveRack ไปใช้งาน ส่วนใหญ่แล้วนำไปใช้เป็นครอสโอเวอร์กันทั้งนั้น สำหรับฝั่งเอาท์พุตจะมีพาราเมตริก EQ มาให้จำนวน 8 แบนด์ สามารถจัดการระบบต่างๆ เช่น Limiter ในเครื่องยังสามารถสร้างแหล่งกำเนิดสัญญาณพวกพิงค์น้อยส์, คลื่นไซน์, ไวท์น้อยส์ได้ เพื่อเช็คว่าลำโพงของเรามีความถี่เที่ยงตรงหรือเปล่า

มุมมองด้านหลังของ dbx DriveRack VENU360


ด้านหลังมี XLR สำหรับเชื่อมต่อกับสัญญาณภายนอก 3 ช่องอินพุต เราสามารถเลือกระบบได้ว่าจะเป็นแอนาลอกหรือดิจิตอล และมีช่องเอาท์พุต XLR 6 ช่อง ด้านหน้าเครื่องมีช่องต่อกับไมค์ RTA พร้อมกับจ่ายไฟ Phantom 48V

การเชื่อมต่อ dbx DriveRack

สำหรับการเชื่อมต่อ VENUE 360 ร่วมกับคอมพิวเตอร์นั้น วิธีแรกผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อกันตรงๆ ด้วยการเซตค่า IP Address บนคอมพิวเตอร์ โดยใช้หลักการเดียวกับการตั้ง IP บนมิกเซอร์ UI 24R เช่น เรากำหนดค่าหมายเลข IP ของคอมพิวเตอร์ ให้เป็น 192.168.1.2

ตัวอย่างการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับ DriveRack ผ่านสาย LAN


ส่วนค่า Subnet Mask กำหนดเป็น 255.255.255.0 จากนั้นไปเซตที่ตัว DriveRack ด้วยคำสั่ง Utility > Network แล้วปิดคำสั่ง DHCP Enable ซึ่งเราต้อง Off ฟังก์ชันนี้ไป จากนั้นต้องแก้เลข IP ให้มีค่าอยู่ในวงเน็ตเวิร์กเดียวกับคอมพิวเตอร์ที่เราจะเชื่อมต่อ

ดังนั้นบน DriveRack อาจตั้งเป็น 192.168.1.1 แล้วแก้ Subnet Mark เป็น 255.255.255.0 เช่นกัน กรณีนี้จะเป็นการเชื่อมต่อกันแบบไม่ผ่านเราท์เตอร์

ตัวอย่างการเชื่อมต่อ DriveRack กับคอมพิวเตอร์ผ่านระบบ Wi-Fi เราท์เตอร์


สิ่งสำคัญอย่าลืมปิดค่า DHCP ให้อยู่ในสถานะ Off ในการเชื่อมต่อวิธีที่ 2 นั้นเป็นการเชื่อมต่อผ่าน switch หรือ router วิธีนี้เราจะต้องไปเปิดคำสั่ง DHCP Enable ให้เป็น On เพราะตัว switch หรือ router จะสามารถแจก IP ให้กับตัวเครื่อง DriveRack และคอมพิวเตอร์ให้เป็นวงเดียวกันโดยอัตโนมัติ สำหรับวิธีที่ 3 เป็นการเชื่อมต่อ Wi-Fi Router วิธีนี้จะสามารถคอมคุม Application ผ่าน iPad ได้ด้วย

เริ่มจากโหมดหลัก

ท่านผู้อ่านสามารถทำความเข้าใจง่ายๆ ว่า อุปกรณ์ DriveRack นั้นจะมีโหมดการทำงานให้ผู้ใช้เลือกทั้งหมด 4 โหมด ได้แก่

  • Home Mode
  • Wizard Mode
  • Configuration Mode
  • Edit Mode
Home Mode
Wizard Mode
Configuration Mode


แต่ละโหมดที่กล่าวถึงนี้จะเกี่ยวข้องกับการเซตค่าตามที่เราต้องการ การจัดเก็บพรีเซต รวมถึงการตั้งค่าย่อย ที่เกี่ยวเนื่องกับการเซตค่าระบบเสียงที่กำลังทำงานอยู่ทั้งหมด เราสามารถใช้งานในลักษณะตั้งเป็นโหมดอัตโนมัติหรือตั้งค่าเองใช้เองก็ได้ ในการใช้งานแต่ละโหมดจะเข้าผ่านการกดสวิตซ์ และ Up/Down บวกกับ Rotary สวิตซ์

Wizard Mode

เป็นการเข้าถึงการทำงานในลักษณะแบบ Step-by-Step โดยแบ่งเป็น 4 โหมดย่อย กรณีผู้ใช้เลือกโหมดนี้ ตัว Wizard จะรันการเซตอัพไปอย่างต่อเนื่อง เราสามารถแทรกการปรับแต่ง Auto EQ ในการใช้ AFS กรณีใช้โหมดนี้ ผู้ใช้สามารถเลือกพรีเซตระบบลำโพงและเพาเวอร์แอมป์ที่อยู่ในตัวเครื่อง ซึ่งจะปรับแต่งให้โดยอัตโนมัติ และการปรับแต่งค่าครอสโอเวอร์สามารถเลือกผ่านพรีเซตเหล่านี้ได้เลย

การใช้งาน Wizard โหมด ผ่านหน้าเครื่อง 1. กดปุ่ม Wizard 2. หมุนเลือกคำสั่งผ่าน Wizard Menu และ 3. เลือกรูปแบบโปรแกรมที่ต้องการเซตอัพ


นอกจากนั้นยังมีฟังก์ชัน Auto EQ, Level Assist Wizard โดยฟังก์ชันเหล่านี้นี้ต้องใช้งานร่วมกับไมค์ RTA

จุดเด่นคือสามารถช่วยให้เราทำ Gain before feedback ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ซึ่งการวัดนั้นสามารถวัดได้หลายๆ ตำแหน่ง ถัดไปโหมด Run AFS Wizard โหมดนี้ สามารถตั้ง Gain ได้ จัดการเสียงฟีดแบ็กที่เกิดขึ้น

กรณีเราใช้ไมค์หลายตัว สามารถจัดการไมค์แต่ละตัวได้ทั้งระบบ เพื่อไม่ให้เกิดการหวีดหอนนั่นเอง และสุดท้ายเป็น Wizard Options เป็นเหมือนโหมดย่อยที่เสริมอยู่ในนี้ ซึ่งประกอบด้วยคำสั่งเมนู Level Assist Auto Trim [ON, OFF], Mic Response [dbx RTA-M, FLAT] และ Setup Auto Preset Naming [ON, OFF]

ในการควบคุม DriveRack จำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์ ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ dbxpro.com ชื่อว่า VENU360 Control App v2.0.5 (Windows) ในกรณีที่เชื่อมต่อผ่านเราท์เตอร์ จะต้องเข้าไปจัดการที่ตัวเราท์เตอร์ก่อน

การควบคุมผ่านเราท์เตอร์นั้นข้อดีของมันคือ เวลาเราปรับเสียงหากไม่มี iPad ที่ใช้ควบคุมระยะไกล เราต้องออกไปฟังเสียงที่หน้าห้องคอนโทรล แล้วจำเสียงนั้น แล้วกลับเข้ามาปรับเสียงในห้องคอนโทรล สำหรับ dbx นั้นได้พัฒนาแอปฯ ลักษณะนี้ขึ้นมาเป็นเจ้าแรกๆ ในตลาด เดี๋ยวเรามาทำความรู้จักซอฟต์แวร์ของ VENU360 แต่ละตัวคืออะไร

อ่านต่อหน้า 2

Read Previous

NEWS | NPE Pro Audio & Electronics Fair 2019

Read Next

Mahajak Plus เพื่อลูกค้าคนพิเศษ