Yamaha TF Series ดิจิตอลคอนโซลมิกเซอร์ มีให้เลือกตั้งแต่ 16 แชนแนลจนถึง 48 แชนแนล รองรับสเตจบ็อกซ์ บันทึกเสียงได้ ควบคุมผ่านแท็ปเล็ต สมาร์ทโฟน และคอมพิวเตอร์
หากกล่าวถึงดิจิตอลมิกเซอร์ Yamaha ถือว่าเป็นผู้ผลิตดิจิตอลมิกเซอร์ที่อยู่ในตลาดเครื่องเสียงยาวนานที่สุดรายหนึ่ง เพราะกว่า 30 ปีที่ผ่านมา Yamaha มีการเปิดตัวดิจิตอลมิกเซอร์มากมายหลายรุ่น หลายซีรี่ส์ นับกันแทบไม่ไหว
Yamaha TF Series เป็นอีกหนึ่งความสำเร็จในตลาดดิจิตอลมิกเซอร์ของ Yamaha ที่ได้รับความนิยมทั้งในและต่างประเทศ เพราะเป็นมิกเซอร์ที่ออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการผู้ใช้โดยตรง
ปัจจุบัน TF Series เป็นดิจิตอลมิกเซอร์ตระกูลเล็กที่สุดของ Yamaha มีทั้งหมด 4 รุ่น คือ TF1, TF3, TF5 และ TF Rack สำหรับ TF Series นั้น จัดเป็นคอนโซลมิกเซอร์ที่มีลูกเล่นหรือฟังก์ชันต่างๆ สามารถรองรับงานอีเว้นต์เล็กๆ ไปจนถึงงานระดับคอนเสิร์ต โดยมีราคาค่าตัวที่ทุกคนเอื้อมถึงได้
เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน
Yamaha TF Series ดีไหม
ในภาพแสดงถึงส่วนประกอบต่างๆ ของ Yamaha TF
ในตลาดดิจิตอลมิกเซอร์จะแข่งขันกันอยู่ประมาณ 3 เรื่องใหญ่ๆ คือ
-ฟังก์ชันการใช้งาน
-คุณภาพเสียง
-ความยืดหยุ่น
ฉะนั้นมาพิจารณาว่า TF Series เข้าเกณฑ์ 3 ข้อนี้หรือไม่
ฟังก์ชันการใช้งาน
Yamaha TF Series มีดีไซน์หนึ่งที่เรียกว่า TouchFlow OperationTM ซึ่งเป็นแนวคิดที่เน้นการใช้งานผ่านจอสัมผัส (Touch Screen) บนตัวเครื่อง และรีโมทผ่านอุปกรณ์โมบาย ช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงฟังก์ชันหรือคำสั่งปรับแต่งเสียงได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ
มิกเซอร์ตระกูลนี้ถูกออกแบบให้ใช้งานง่าย แม้ผู้ใช้ไม่เคยมีประสบการณ์หรือไม่เคยเล่นดิจิตอลมิกเซอร์ของ Yamaha มาก่อน ก็สามารถเรียนรู้การใช้ได้ไม่ยาก
นอกจากเรื่องของฟังก์ชันจอสัมผัส ยังมีในส่วนปุ่ม Touch & Turn ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถปรับแต่งค่า Threshold ของเอฟเฟ็กต์ Compressor รวมไปถึงค่า EQ gain และอื่นๆ ได้รวดเร็วและง่ายดาย
ฟังก์ชันบน Yamaha TF Series บางอย่างได้แนวคิดมาจาก CL Series ซึ่งเป็นมิกเซอร์ตระกูลใหญ่กว่า เช่น ระบบการแสดงผลจำนวนแชนแนลบนจอภาพ ในแต่เซตจะแสดงสูงสุดทีละ 8 แชนแนล กล่าวคือ ผู้ใช้จะเห็นแชนแนลบนจอภาพเป็นเซตดังนี้ 1-8, 9-16, 17-24, 25-32 ตามสเป็คของมิกเซอร์รุ่นนั้นๆ ข้อดีคือช่วยให้ผู้ใช้มองเห็นสถานะและเข้าถึงพารามิเตอร์ของแต่ละแชนแนลได้รวดเร็วแม่นยำยิ่งขึ้น
ลักษณะฟังก์ชันของแต่ละแชนแนล
Yamaha TF Series มีฟังก์ชันที่ใช้ปรับแต่งเสียงที่ง่ายอย่างไม่เคยมีมาก่อน นั่นคือ 1-knob COMPTM และ 1-knob EQTM ปกติหากผู้ใช้ต้องการปรับแต่งเสียงเอฟเฟ็กต์คอมเพรสเซอร์ จะต้องปรับแต่งพารามิเตอร์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นค่า Attack, Release, Gain และ Knee ซึ่งการจะปรับให้ได้เสียงที่ดีนั้น จำเป็นต้องมีประสบการณ์พอสมควร
ด้วยฟังก์ชันของมิกเซอร์ตระกูลนี้ ถูกออกแบบให้ชีวิตมันง่ายขึ้น เพียงแค่ใช้ 1-knob COMPTM หรือ 1-knob EQTM ก็จะได้เสียงร้อง กีตาร์ กลอง ที่ดีขึ้นอย่างเหลือเชื่อ โดยฟังก์ชัน COMP จะไปจัดการกับไดนามิกของเสียง ส่วน 1-knob EQTM จะจัดการกับความถี่เสียง โดยมีให้เลือกใช้งานหลายโหมด ได้แก่
-Vocal Mode – ใช้กับเสียงร้อง
-Intensity Mode – ใช้ควบคุม EQ ด้วยปุ่มเดียวตามที่ต้องการ
-Loudness Mode – ใช้ควบคุมความดังหรือ SPL ของ EQ ให้เหมาะสม
Yamaha TF มาพร้อมจอทัชสกรีน
GainFinderTM
อีกฟังก์ชันหนึ่งที่อำนวยความสะดวกผู้ใช้ที่ต้องการตั้งค่า Gain สัญญาณอินพุตที่เหมาะสมในเวลาอันสั้น เพราะสัญญาณอินพุตจากแหล่งกำเนิดเสียงอาจมีความแรงของสัญญาณต่างกัน การปรับอัตราขยายสัญญาณเหล่านี้ หากไม่มีประสบการณ์ถือเป็นเรื่องไม่ง่าย Yamaha จึงคิดค้นอัลกอริทึ่มที่ชาญฉลาดมาช่วยให้การปรับแต่งค่า Gain อินพุตให้ได้ผลลัพธ์ที่เหมาะสมรวดเร็วและง่ายขึ้น
เฉพาะสไลด์เฟดเดอร์ของมาสเตอร์ สีแดงเด่นชัดกว่าใคร (ภาพบน) | ตำแหน่งต่อกับหูฟัง (ภาพล่าง)
QuickPro PresetsTM และ Scenes Memory
ความได้เปรียบของดิจิตอลมิกเซอร์ที่เห็นชัดที่สุดคือเรื่องของการจัดเก็บค่าพรีเซตและ Scenes ต่างๆ ผู้ใช้สามารถเก็บเหล่านั้นลงหน่วยความจำเครื่องหรือแฟลชไดร์ฟส่วนตัวผู้ใช้งานได้
ทำให้ผู้ใช้สามารถเรียกค่าพรีเซตกลับมาได้เสมอ กรณีจัดเก็บไว้ในแฟลชไดร์ฟ สามารถนำไปใช้กับ TF ได้ทุกเครื่อง แม้จะไม่ใช่เครื่องที่ใช้งานประจำก็ตาม บน TF แบ่งหน่วยความจำเป็น 2 ชุด คือ Bank A และ B แต่ละ Bank สามารถเก็บพรีเซตได้สูงสุด 100 รายการ เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้ใช้สามารถจัดเก็บพรีเซตต่างๆ ได้อย่างอิสระ
แผงควบคุมฟังก์ชัน USER DEFINED KEYS และ FX1, FX2 อยู่ฝั่งขวามือของจอ
สำหรับ QuickPro PresetsTM เป็นการออกแบบพรีเซตที่ใช้กับอุปกรณ์แบรนด์ชั้นนำระดับโลก ไม่ว่าจะเป็น Shure, Audio-Technica และ Sennheiser หลักการคือว่า สมมติ มีการนำไมค์ Shure SM58 มาใช้กับ TF ผู้ใช้แค่โหลดพรีเซตของไมค์รุ่นนี้ ก็ใช้งานได้ทันที โดยไม่ต้องไปปรับค่า Gain, EQ และค่าไดนามิกให้วุ่นวาย ฟังก์ชันนี้ยังครอบคลุมถึงระบบลำโพงและหูฟังแบบ In-Ear ที่นำมาใช้ร่วม TF อีกด้วย
ตอบสนองการใช้งานรวดเร็ว
ฟังก์ชันของ Yamaha TF Series ถูกพัฒนาให้ตอบสนองการใช้งาน อย่างรวดเร็วทันใจ ไม่ว่าจะเป็นสไลด์เฟดเดอร์ที่เป็นระบบมอเตอร์ ปุ่มหมุน ปุ่มกด หน้าจอสัมผัส ที่รองรับทั้งการแตะและถ่าง โดยเฉพาะการบีบ-ถ่างด้วยมือบนหน้าจอเพื่อปรับความกว้าง/แคบของค่า Q ของ EQ ที่ต้องการ เรียกว่าทั้งหมดตอบสนองได้ดีเยี่ยม
การออกแบบแผงควบคุม
แผงควบคุมฟังก์ชันต่างๆ บนมิกเซอร์ TF ทาง Yamaha ได้จัดวางปุ่มคำสั่งพื้นฐาน พวกคำสั่งเฉพาะ คีย์ลัด และเฟดเดอร์ โดยจัดเรียงให้ง่ายต่อการใช้งาน เช่นปุ่ม USER DEFINED KNOBS, USER DEFINED KEYS, TOUCH and TURN, MUTE, FX, ST IN, USB เป็นต้น
ชื่อของแชนแนลจะแสดงผลเรียงเลข ID ของแชนแนลเหล่านั้น เพื่อให้ผู้ใช้เห็นสถานะเฟดเดอร์ปัจจุบันว่าเป็นแชนแนลอะไร ซึ่งจะเปลี่ยนไปตามเลเยอร์ที่เรียก รวมถึงค่าสถานะเฉพาะของแชนแนล เช่น ค่า Phantom Power, Gate และ Compressor ทำให้ผู้ใช้ไม่สับสนและมั่นใจในการทำงานยิ่งขึ้น
ตำแหน่ง FADER BANK
Fader Bank
ฟังก์ชันนี้ให้มาเพื่อใช้ควบคุม Group Bank เมื่อกดปุ่ม INPUT1/INPUT2 พร้อมกันจะทำให้สามารถคุมสัญญาณ Group ด้วยผ่าน DCA เฟดเดอร์ก้านเดียว รวมถึง CUSTOM Fader Bank โดยผู้ใช้สามารถ Assign ให้เป็นสัญญาณจากอินพุต เอาต์พุต Aux หรือ DCA อะไรก็ได้
DCA
เป็นฟังก์ชันพื้นฐานที่ดิจิตอลมิกเซอร์ต้องมี Yamaha ก็ให้มาด้วย เพื่อใช้จัดการแชนแนลสัญญาณเป็นกลุ่มๆ ให้สะดวกขึ้น
ลูกบิด TOUCH AND TURN
SENDS ON FADER
ผู้ใช้สามารถนำสัญญาณจาก AUX, FX มาควบคุมผ่านสไลด์เฟดเดอร์ปกติได้ เช่น ปกติ Master เฟดเดอร์ใช้ปรับความดังของแชนแนล หากใช้ฟังก์ชันนี้ เครื่องจะเปลี่ยน Master เฟดเดอร์มาคุม Bus ที่ถูกกำหนดแทน โดยไม่ต้องไปยุ่งกับ Fader อื่น
Dan Dugan Automixer
เป็นฟังก์ชันไฮไลท์ของดิจิตอลมิกเซอร์ TF ที่ช่วยขยายขีดความสามารถเหนือคู่แข่ง หน้าที่หลักของฟังก์ชันนี้คือช่วยบาลานซ์ Gain อินพุตจากไมโคโฟนหลายๆ ตัวในคราวเดียวให้อัตโนมัติเพื่อไม่ให้เกิดการฟีดแบ็ก ซึ่งจำเป็นกับงานประชุม สัมมนา ที่มีการพูดกันหลายๆ คน โดยแต่ละคนอาจจะพูดด้วยระดับโทนเสียงที่ต่างกัน อาจเกิดปัญหาฟีดแบ็ก หวีดหอนได้ นับว่าเป็นลูกเล่นที่เป็นจุดขายของมิกเซอร์ Yamaha ก็ว่าได้
อย่างไรก็ดีฟังก์ชัน Dan Dugan ยังมีอยู่ในตระกูล QL/CL/PM และบนโพรเซสเซอร์ MRX7-D อีกด้วย
ปุ่ม TAP สำหรับเอฟเฟ็กต์ Delay (ภาพบน) จอแสดงสถานะของแชนแนลต่างๆ (ภาพล่าง)
คุณภาพเสียง Yamaha TF Series
TF Series เป็นดิจิตอลมิกเซอร์ที่ให้คุณภาพเสียงดี เป็นที่ยอมรับในวงการเครื่องเสียงกลางแจ้ง และสายงานโพสโปรดักชัน มีวงจรไมค์ปรีชื่อว่า D-PRETM เนื่องจากวงจรไมค์ปรีไม่ได้ออกแบบด้วยไอซีเสียงจึงคมชัด เที่ยงตรง นุ่มนวล สัญญาณไม่ผิดเพี้ยน วงจรนี้นำไปใช้กับมิกเซอร์ทุกรุ่นของ Yamaha ดังนั้น โทนเสียงจึงออกไปในทิศทางเดียวกัน
TF มาพร้อมเอฟเฟ็กต์คุณภาพ โทนเสียงเหมือนเอฟเฟ็กต์ SPX มีทั้งหมด 17 โปรแกรม เช่น Reverb, Delay, Flanger, Chorus สามารถปรับแต่งพารามิเตอร์ต่างๆ ได้ง่าย โดยแบ่งเป็น 2 ยูนิต FX1 และ FX2 มีโพรเซสเซอร์ 8 ชุด
ซอฟต์แวร์ Steinberg Nuendo Live
ด้านหลังเครื่องจะพบพอร์ต USB ใช้เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์
TF สามารถบันทึกเสียงได้ โดยให้ Steinberg Nuendo Live มาฟรี รองรับการบันทึกเสียงสูงสุดบนคอมพิวเตอร์ได้ 34 แทร็ก ผ่านพอร์ต USB สามารถนำสัญญาณเสียงที่บันทึกไว้แล้วมาออกมิกเซอร์ TF ได้ ทำให้ Sound Check สะดวกขึ้น นอกจากนี้ ยังสามารถเล่นไฟล์ Wav และ MP3 ได้ แต่ไม่สามารถบันทึกเสียงผ่านแฟลชไดร์ฟได้
ความยืดหยุ่นของ Yamaha TF Series
TF สามารถควบคุมและจัดการผ่านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ รวมทั้งอุปกรณ์โมบายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแท็ปเล็ตหรือสมาร์ทโฟน โดยรองรับทั้ง Windows, MacOS, iOS และ Android มีการสร้าง Ecosystem การใช้เฉพาะตัว
TF StageMix รันบน iPad ทำงานได้ทั้งโหมด OFFLINE/ONLINE
TF Editor – เป็นซอฟต์แวร์หลักที่ทำหน้าที่ปรับแต่ง Scene และพรีเซตต่างๆ เพื่อสร้างรูปแบบการมิกซ์ไว้ล่วงหน้า โดยไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อกับ TF โดยรองรับระบบปฎิบัติการ Windows และ MacOS
TF StageMix – เป็นแอปพลิเคชันที่ใช้ควบคุม TF ในระยะไกล หรือใช้เป็นรีโมท TF ผ่าน Wi-Fi นั่นเอง ปัจจุบันรองรับเฉพาะแท็ปเล็ตที่รันระบบปฎิบัติการ iOS ทำให้ผู้ใช้สามารถปรับแต่งเสียงหรือมิกซ์เสียงภายในงานจากทุกตำแหน่งได้คล่องตัวขึ้น TF Editor และ TF StageMix สามารถเชื่อมต่อได้พร้อมกันสูงสุด 3 อุปกรณ์
TF MonitorMix – เป็นแอปพลิเคชันที่ใช้ปรับแต่งมอนิเตอร์ส่วนตัวผ่าน Wi-Fi ซึ่งผู้ใช้อาจเป็นนักดนตรีบนเวที มีความต้องการปรับแต่งสัญญาณของ AUX เฉพาะของตน ปัจจุบันรองรับสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตที่รันระบบปฎิบัติการ iOS และ Android สามารถเชื่อมต่อพร้อมกันได้สูง 10 อุปกรณ์
Tio1608-D (ซ้าย) | การ์ดออปชัน NY64-D (ขวา)
Stage Box – TF สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์สเตจบ็อกซ์รุ่น Tio1608-D ได้สูงสุด 3 เครื่อง (48 Input /24 Output) แบบ Daisy chain วงจรไมค์ปรีคุณภาพเกรดเดียวกับคอนโซล TF การเชื่อมต่อกับสเตจบ็อกซ์นั้นต้องติดตั้งการ์ดออปชัน NY64-D ซึ่งเป็นการ์ด Dante เน็ตเวิร์ก สำหรับการ์ดรุ่นนี้รับสัญญาณเสียงได้สูงถึง 128 ช่อง (64 input/64 output) บนความละเอียด 24Bit/48kHz
คุณสมบัติเฉพาะทางเทคนิค
Yamaha TF5
-33 motor faders (32 channels + 1 master)
-48 input mixing channels (40 mono +2 stereo+2 return)
-20 AUX (8 mono + 6 stereo) + stereo + sub buses 8 DCA groups with Roll-out
-32 analog XLR/TRS combo mic/line inputs + 2 analog
-RCA pin stereo line analog inputs
-16 analog XLR outputs 34 x 34 digital record/playback channels via
-USB 2.0 + 2 x 2 via a USB storage device
-1 expansion slot for NY64-D audio interface card
Yamaha TF3
-25 motor faders (24 channels + 1 master)
-48 input mixing channels (40 mono + 2 stereo + 2 return)
-20 AUX (8 mono + 6 stereo) + stereo + sub buses
-8 DCA groups with Roll-out
-24 analog XLR/TRS combo mic/line inputs + 2 analog RCA pin stereo line analog inputs
-16 analog XLR outputs
-34 x 34 digital record/playback channels via USB 2.0 + 2 x 2 via a USB storage device
-1 expansion slot for NY64-D audio interface card
Yamaha TF1
-17 motor faders (16 channels + 1 master)
-40 input mixing channels (32 mono + 2 stereo + 2 return)
-20 AUX buses (8 mono + 6 stereo) + stereo + sub • 8 DCA groups with Roll-out
-16 analog XLR/TRS combo mic/line inputs + 2 analog RCA pin stereo line analog inputs
-16 analog XLR outputs
-34 x 34 digital record/playback channels via USB 2.0 + 2 x 2 via a USB storage device
-1 expansion slot for NY64-D audio interface card
TF Rack
-Inputs: 16 mic/line (XLR/TRS combo) + 1 stereo line (RCA pin)
-Output: 16 (8 XLR + 8 TRS phone)
-Channels: 40 (32 mono + 2 stereo + 2 return)
-Aux Buses: 20 (8 mono + 6 stereo)
-Stereo Buses: 1
-Sub Buses: 1
-Dimensions (WxHxD): 480 mm (18-7/8 in) x 132 mm (5-1/4 in) x 409 mm (16-1/8 in)
-Net weight: 9.2 kg (20.3lb)
สรุป
Yamaha TF Series เป็นดิจิตอลมิกเซอร์ ประกอบด้วยมิกเซอร์จำนวนหลายรุ่น หากผู้ใช้ต้องการดิจิตอลคอนโซลรุ่นใหญ่ เพื่อใช้กับงานที่ต้องการอินพุตและเฟดเดอร์จำนวนมาก ให้เลือก TF-5
หากต้องการดิจิตอลคอนโซลรุ่นกลาง ด้วยขนาดกระทัดรัด แต่ให้ประสิทธิภาพเหมือน TF-5 สามารถรองรับงานได้หลากหลายแนะนำ TF-5
หากต้องการดิจิตอลคอนโซลรุ่นเล็ก ที่ต้องการความคล่องตัวในการเคลื่อนย้าย สามารถติดตั้งในแร็ค แต่คุณภาพเสียงและลูกเล่นเหมือน TF-5, TF-3 ให้เลือก TF-1
หากผู้ใช้ต้องการดิจิตอลมิกเซอร์ที่ไม่มีก้านสไลด์เฟดเดอร์ แต่ยังต้องการฟังก์ชันและโทนเสียง TF เพื่อใช้กับงานติดตั้งถาวร หรืองานแสดงสด ให้เลือก TF-Rack
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง :
Yamaha MG Series อะนาล็อกมิกเซอร์
เจาะระบบเสียง Yamaha ศาลาดนตรีสุริยเทพ ม.รังสิต
สามารถมาทดลองสินค้าได้ที่
YDACC ชั้น 3 อาคารสยามกลการ ใกล้กับ bts สนามกีฬาแห่งชาติhttps://goo.gl/maps/ca3fkb2ZmwUq4Rrg6
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่
Facebook : Yamaha Pro Audio Thailand
Line: @yamahaproaudioth
Website: th.yamaha.com
Instagram: yamahaproaudiothailand
Tel: 02-215-2626-39 (1401)