Soundcraft Ui24R -ไอเดียของ Sub Mix นั้นคือ เรามีมิกเซอร์หนึ่งตัว แต่จำนวนอินพุตไม่พอกับความต้องการ เราจึงซื้อมิกเซอร์อีกตัวมาเพิ่ม โดยการต่อพ่วงในลักษณะนำ Main Out ของตัวรองมาเข้าแชนแนลอินพุตของตัวหลัก
ทีมแอปพลิเคชัน มหาจักรฯ
สำหรับเนื้อหาในตอนที่ 2 เราจะอธิบายเกี่ยวกับวิธีการเซตอัพค่าต่างๆ เพื่อให้ Ui24R ทั้ง 2 เครื่องสามารถทำงานร่วมกันได้ รวมทั้งเทคนิคอื่นๆ เพิ่มเติมอีกด้วย ถ้าใครพลาดตอนที่ 1 อ่านย้อนหลังได้ที่นี่ การต่อ Soundcraft Ui24R พ่วง 2 เครื่อง (ตอนที่ 1)
การทำ Connection บน Soundcraft Ui24R
หลังจากที่เราทำการเชื่อมต่อทุกอย่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว สิ่งแรกที่ต้องทำหลังจากนั้นคือการเชื่อมต่อตัว Wi-Fi ที่เราใช้งาน บางคนอาจจะใช้แอปฯของเราท์เตอร์ให้มา เช่น LinkSys ในกรณีต่อสาย LAN ไว้แล้วก็ไม่จำเป็นต้องเลือก
ขั้นตอนถัดมาคือพิมพ์ไปหามิกเซอร์ตัวแรก เราต้องกรอกไอพีแอดเดรสของมิกเซอร์ตัวแรก เช่น 192.168.1.101 และมิกเซอร์ตัวที่สองอาจเป็น 192.168.1.102 หากไม่มีอะไรผิดพลาด นั่นคือหมายเลขไอพีแอดเดรสที่กรอกไปนั้นถูกต้อง
ตัว Host คือตัวหลัก ส่วนตัว Remote คือตัวขยาย ให้ไปที่หน้า Setting แล้วคลิกที่ปุ่มคำสั่ง CASCADE
คราวนี้เราก็สามารถเปิดมิกเซอร์ทั้งสองตัวมาใช้งานพร้อมกันได้แล้ว แต่วิธีนี้อาจจะไม่สะดวกเพราะเวลาใช้งานจะต้องสลับหน้าต่างไปมา หากพิจารณามิกซ์ตัวแรก .101 และมิกซ์ตัวที่ 102 มันจะมีบางอย่างต่างกัน ทำให้ต้องคอยสังเกตซึ่งการทำงานบางครั้งอาจจะลำบาก เพราะต้องคอยกดสลับหน้า
แต่ Soundcraft ได้พัฒนาปุ่มพิเศษเพื่อทำให้เราสลับหน้าจอได้ง่ายขึ้น วิธีการคือให้ไปที่หน้า Settings ที่มิกซ์ตัวแรกให้ไปที่ไอคอนรูปฟันเฟือง ตามด้วย Settings > Cascade สังเกตว่าค่าที่มาจากโรงงานถูกตั้งเป็น OFF แล้วหน้าที่ของมิกซ์ตัวนั้น Role จะเป็น Remote ซึ่งเป็นค่าปกติ
เมื่อไปเช็คมิกซ์ตัวที่สอง Settings > Cascade ค่าโรงงานถูกตั้งเป็น OFF เช่นกัน และมีโหมดเป็น Remote เช่นกัน ฉะนั้น ทีนี้หากเราต้องการมิกซ์ .101 เป็นตัวหลัก (Host) เราจะต้องกำหนด Role ให้เป็น Host
การกำหนดให้มิกเซอร์ตัวใดตัวหนึ่งเป็น Host ก็เหมือนการกำหนดให้เป็นตัว Master เมื่อมิกเซอร์ตัวใดถูกกำหนดเป็น Host มันจะเป็น Master จากนั้นอย่าลืมใส่ Remote IP เข้าไปด้วย ตอนแรกมันจะไม่มีไอพีแอดเดรส ซึ่งตัวเลขไอพีนั้นจะต้องเป็นค่าของมิกเซอร์ที่ต่อพ่วงกับมิกเซอร์หลัก (192.168.1.101)
บนตัว Remote ก็ให้ทำแบบเดียวกับตัว Host ค่าเริ่มต้น CASCADE จากโรงงานทั้งคู่จะเป็น OFF
สำหรับเลขไอพีของมิกเซอร์ที่มาเชื่อมต่อคือ 192.168.1.102 จากนั้นสั่ง ON ออปชันของ Cascade ทั้งหมด จากนั้นไม่ต้องทำอะไร เพราะ Role ของตัว Remote ทำอะไรไม่ได้อยู่แล้ว หลังจากที่เรา ON มิกเซอร์ทั้งสอง จะพบปุ่มพิเศษโผล่ขึ้นมา นั่นคือปุ่ม Host ซึ่งมันจะอยู่ที่มิกเซอร์ตัวหลักเท่านั้น
ส่วนที่มิกเซอร์ Remote จะไม่มีปุ่มดังกล่าว เมื่อกดปุ่ม Host มันจะสลับเป็นมิกเซอร์ Remote นั่นเท่ากับขณะนี้เราสามารถควบคุมมิกเซอร์ทั้งสองผ่านเว็บเซอร์เดียวกันได้แล้ว เพียงแค่กดปุ่ม Host นั้น
บางคนอาจจะมองว่าทำไมไม่เรียงแชนแนลไปเลย เช่นมิกเซอร์ตัวแรกมี 24 แชนแนล ตัวที่สองมีอีก 24 แชนแนล หากเรียงเป็น 25.. ถึงแชนแนลสุดท้าย เราจะพบว่าตัวเลขมันเยอะมาก แบบนั้นจะมีปัญหาในการใช้งานคือการเข้าถึงแชนแนล 25 เป็นต้นไปจะทำได้ช้า เพราะต้องปัดหน้า iPad หลายครั้งกว่าจะถึงแชนแนลที่เราต้องการ
ดังนั้น Soundcraft จึงไม่นำแชนแนลของมิกเซอร์ตัวที่สองมาเรียงต่อกันในแท็บเดียว การกดปุ่ม Host ครั้งเดียวแล้วสามารถสลับไปที่แชนแนล 25 ทันทีจึงทำงานคล่องตัวกว่า จริงๆ มันไม่ใช่แชนแนลที่ 25 มันคือแชนแนลที่ 1 ของมิกเซอร์ตัวที่สอง
ให้คลิกที่ปุ่ม HOST บนเครื่องที่ต้องการกำหนดให้เป็น Host
เราสามารถเช็คไอพีแอดเดรสได้ว่ามิกเซอร์ที่แสดงบนเบราเซอร์ขณะนั้นเป็นตัว Host หรือ Remote ได้เลย เพราะระบบจะโชว์ไอพีให้เราเห็น หลังจากกดปุ่ม Host/Remote แล้วระบบสลับหน้าต่างมิกเซอร์ได้ นั่นหมายถึงมิกเซอร์ทั้งสองตัวมีการลิงค์หากันเรียบร้อยแล้ว เราไม่จำเป็นต้องไปเปิดเบราเซอร์ของมิกซ์ตัวที่สองแล้ว ใช้เบราเซอร์หน้าเดียวก็คุมมิกซ์ทั้งสองได้
ตัวอย่างการเซต Sub Mix
หลังจากทำ Connection เสร็จแล้ว จะต้องทำอะไรต่อ เสียงมันจะวิ่งไปหากันได้ยัง การต่อแบบนี้จำเป็นต้องใช้ในกรณีไหน ลองมาศึกษากันเลย กรณีแรกที่จำเป็นต้องใช้คือ Sub Mix เป็นการใช้งานแบบทั่วไปซึ่งถือเป็น Sub Mix ของกันและกัน และเป็นกรณีศึกษาที่คนทั่วไปเข้าใจง่าย
ไอเดียของ Sub Mix นั้นคือ เรามีมิกเซอร์หนึ่งตัว แต่จำนวนอินพุตไม่พอกับความต้องการ เราจึงซื้อมิกเซอร์อีกตัวมาเพิ่ม โดยการต่อพ่วงในลักษณะนำ Main Out ของตัวรองมาเข้าแชนแนลอินพุตของตัวหลัก ว่าไปแล้วเรื่องการทำ Cascade ทำกันมานานแล้ว
เพียงแต่ใช้สายอะนาล็อคไม่ใช่สาย LAN เท่านั้นเอง แต่บน Ui ไม่ต้องใช้สายอะนาล็อคเพราะมีช่อง LAN ให้แล้ว วิธีการทำงานคือเราต้องนำสัญญาณเสียง Master จากมิกเซอร์ตัว Remote มาเข้าอินพุตมิกเซอร์ตัว Host
กรอกตัวเลขไอพีเครื่อง Remote กฎเหล็กจำไว้ว่าไอพีห้ามเป็นเลขเดียวกันโดยเด็ดขาด
แน่นอนว่าเราต้องส่งสัญญาณผ่าน Cascade เพียงแต่จะใช้ช่องไหน เพราะมันมีทั้งหมด 32 สล็อตหรือบัสนั่นเอง ให้ไปที่หน้า Patching เมื่อเราซื้อ Ui มาแล้วหน้า Patching ในแต่ละแชนแนลจะทำหน้าที่รับสัญญาณจากฮาร์ดแวร์อินพุต เช่น เราเชื่อมต่ออินพุต 1 สัญญาณก็จะเข้าที่แชนแนล 1 หรือเชื่อมต่ออินพุต 2 หน้าเครื่อง เสียงจะมาเข้าที่แชนแนล 2
กรอกเลขไอพีให้ถูกต้อง ในตัวอย่างนี้คือ 192.168.1.102
แต่ช่องที่สัญญาณส่งออกจะเป็น Hardware Output ซึ่งเสียงที่ถูกส่งออกไปนั้น จะไปที่ช่อง Master L และ R คือเป็นสองช่องด้านหน้าที่เป็นอะนาล็อคเอาต์พุตจริง
อย่างไรก็ดี เราจะไม่ทำแบบนั้น เราปลดออก นั่นหมายถึง เมื่อนำสัญญาณอะไรมาต่อ XLR ที่หน้าเครื่อง Remote เสียงจะไม่ออกไปที่ Master L/R แต่เราต้องการให้สัญญาณจาก Master L/R ส่งไปหามิกเซอร์ Host เราจะต้องเลือกเป็น Cascade Out แล้วด้านบนเลือกเป็น Master
ถ้าเราอยากให้เสียง Master L ไปออกที่ Cascade สล็อต 1 ส่วน Master R ไปออกที่ Cascade สล็อต 2 ก็ให้กำหนดเพื่อส่งสัญญาณออกไป
แบบนี้ก็จะทำให้สัญญาณ Master L/R ถูกส่งออกไปที่ Cascade 1 และ 2 สัญญาณจะวิ่งผ่านสาย LAN เรียบร้อย จากนั้นให้ไปเซตที่ตัว Host เพื่อให้มันรับเสียงจากตัว Remote มาใช้ แม้ว่าเราได้เซตมิกเซอร์ตัว Remote เรียบร้อยแล้ว
คลิกที่ปุ่ม Remote บนเครื่อง Remote แล้วตั้งค่า CASCADE เป็น ON
หากตัว Host ยังไม่ได้กำหนดรับสัญญาณเข้ามา เสียงก็จะไม่ดัง เพราะไม่รู้ว่าเสียงจะไปออกที่ช่องใด ให้เราไปที่มิกเซอร์ตัว Host แล้วเลือกแชนเนลที่ต้องการ สมมติ เราต้องการให้เข้าแชนแนล 1-2 แน่นอนเราต้องยอมเสียมันไป โดยยกเลิกการรับสัญญาณอินพุต 1-2 จากหน้าเครื่อง แต่เรากำหนดให้รับสัญญาณจากตัว Remote แทนหรือสัญญาณ Cascade นั่นเอง โดยการ Patch แค่นี้ก็เสร็จแล้ว
จะเห็นว่าเป็นวิธีการเซตที่ง่ายมาก จากนั้นในแชนเนล 1 และ 2 ของมิกเซอร์ Host นั้นจะไม่สามารถรับสัญญาณอินพุตหน้าเครื่องได้เลย เพื่อป้องกันการสับสนควรจะตั้งชื่อใหม่ เช่น Master Sub L เสียงจากตัวรีโมทฝั่งซ้าย และ Master Sub R เสียงจากตัวรีโมทฝั่งขวา เราอาจจะกำหนด PAN ซ้ายสุด/ขวาสุดหรือลิงค์เข้าหากันก็ได้
ฉะนั้น 2 แชนแนลที่ส่งเข้ามาคือตัวแทนสัญญาณของทุกแชนแนลที่ส่งจากมิกเซอร์ Remote เรียกว่าเคสของ Sub Mix เป็นเรื่องง่ายมาก สำหรับมิกเซอร์ Remote จะมี 22 แชนแนล บวก Line Input เข้าไปอีก 4 และ Player อีก 2 รวม 28 แชนแนล ซึ่งทั้งหมดจะถูกส่งไปที่มิกเซอร์ตัว Host และบนตัว Host นั้นจะมี 26 แชนแนล โดยเสีย 2 แชนแนลแรกที่รับจาก Remote รวมทั้งสิ้น 54 แชนแนล
การทำ VCA บนตัว Host/Remote
สำหรับการเชื่อมต่อลักษณะนี้จะดีต่อการทำงานกับวงดนตรีที่ใหญ่มาก มีอินพุตจำนวนมาก เมื่อเราออกแบบระบบในลักษณะนี้แล้ว สิ่งที่ตามมาคือ เราขี้เกียจกดกลับไปมา เช่น แชนแนลกีตาร์อยู่บนมิกซ์ตัว Remote หากต้องการปรับเสียงกีตาร์เราจะต้องกดปุ่มสลับ Host/Remote บางคนอาจจะโอเคกับการกดครั้งเดียวมาเจอกีตาร์ก็อาจจะไม่มีปัญหา
ในขณะปรับแต่งเสียงบนหน้าจอของ Host ก้านเฟดเดอร์ฝั่ง Remote จะไม่ขยับ
แต่บางคนอาจจะรู้สึกว่ามันช้าไป เพราะต้องการให้มันอยู่ในหน้าเดียวกัน โดยการใช้ VCA นั่นเพราะ VCA ของมิกซ์ตัว Host/Remote เป็นตัวเดียวกัน เมื่อเราเลื่อนหน้าจอไปทางฝั่งขวามือเราจะพบแชนแนลอินพุตจำนวนมาก
รวมถึงแชนแนล Effect, Player, Sub Group, Aux ทั้ง 10 ตำแหน่งสุดท้ายจะเป็น VCA 1-6 ตัวอย่างเช่น หากต้องการใช้ VCA 1 เริ่มจากแก้ไขชื่อเป็น VCA Guitars ซึ่งภายในเราจะลิงค์เสียงของกีตาร์หลายๆ ตัว ทำให้เราสามารถนำเสียงกีตาร์หลายๆ ตัวไปเข้าที่ VCA นี้ได้เลย
โดยการกดปุ่มซ้ายด้านบน แล้ว Assign VCA แล้วกดเลือกแชนแนลอินพุตที่เป็นเสียงของกีตาร์ จากนั้นแชนแนลทั้ง 3 จะถูกควบคุมด้วย VCA อีกที ตัวแชนแนลนั้นๆ จะขึ้นตัวอักษร V1 นั่นคือ แชนแนลนั้นๆ ถูกควบคุมด้วย VCA 1 อีกที
ด้วยวิธีนี้ทำให้เราสามารถปรับ VCA ของแชนแนลใดที่ไหนก็ได้ นี่คือความเจ๋งของมัน ข้อดีของหน้าจอควบคุมหากเลือกโหมดจอใหญ่มันจะโชว์คีย์คำสั่งในการเข้าถึงได้ทั้งหมด เวลาเราต้องการลดเสียงกีตาร์ให้ต่ำลง เราปรับ VCA 1 ลง
เมื่อกลับไปดูที่มิกซ์ Host สิ่งที่ห้ามลืมคือต้องทำการซิงค์ VCA เสียก่อน ไม่เช่นนั้นการปรับเฟดเดอร์จะยังไม่สามารถควบคุมเฟดเดอร์แชนแนลของตัว Remote ได้ ให้เช็ค Sync VCA Level ต้องตั้งสถานะเป็น ON จากนั้นระบบจะกลายเป็น VCA เดียวกัน สิ่งที่ต้องจำคือ ในการปรับ VCA บน Remote จะทำไม่ได้ จะต้องปรับผ่าน Host เท่านั้น ทำให้เราเข้าถึงแชนแนลกีตาร์ได้ง่าย โดยการปรับแต่งเสียงผ่านหน้ามิกซ์ของตัว Host
ในกรณีหน้าจอ Host ถูกสลับเปลี่ยนเป็น Remote เฟดเดอร์หน้าจอฝั่งเครื่อง Remote จะขยับตามเสมอ
ในกรณีที่ต้องการปรับระบบให้ง่ายกว่านี้ก็ทำได้ โดยการตั้ง View Groups เป็นวิธีเซตให้แชนแนลไหนมาต่อกับแชนแนลไหนนั่นเอง เมื่อตั้งเสร็จจะทำให้ View 1 หรืออื่นๆ เป็นชุดแชนแนลคุมเสียงกีตาร์ หากต้องการปรับเฉพาะเสียงกีตาร์ของมิกซ์ Remote แค่กดปุ่มเดียวหน้าของแชนแนล VCA จะโชว์ทันที
นอกจากนั้นสิ่งที่ Sync กันยังมี Mute เช่นเราต้องการ Mute Group แชนแนลใดๆ บนมิกเซอร์ Remote ก็สามารถทำได้ เพียงแค่เรากด Mute 1 มันจะไป Mute มิกซ์อีกตัวด้วย รวมถึง Snapshots ในกรณีเรา Save Scene บนตัว Host มันจะจดจำค่าของมิกซ์ตัว Remote ไปด้วย
การต่อแบบ Cascade นั้นจะต่างกับการใช้งานอุปกรณ์ที่เป็น Stagebox กรณีใช้มิกเซอร์ร่วมกับ Stagebox จะวาง Stagebox ไว้เวทีส่วนมิกเซอร์จะวางที่ FOH แต่มิกเซอร์ Ui มันไม่มีเฟดเดอร์ เราไม่จำเป็นต้องวางมิกเซอร์ไว้ที่ FOH ความจำเป็นที่จะนำ Ui มาวาง FOH น้อยมาก เพราะเวลาปรับแต่งเสียง ทั้งหมดเราทำงานผ่าน iPad, iPhone
คำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญให้วางมิกซ์ Host/Remote ทั้งคู่ไว้บนเวทีดีกว่า หรืออาจลากสาย LAN จากเวทีมาเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ FOH เพื่อควบคุมสัญญาณก็ได้ ยกเว้นกรณีเราต้องการเช็คเสียงผ่านหูฟัง
นึกภาพเวลาทำงานบางครั้งเราอาจต้องการฟังเสียงผ่านหูฟัง แน่นอนว่าเมื่อติดตั้งมิกเซอร์ Ui ไว้บนเวที เราไม่สามารถลากสายหูฟังยาวๆ มาที่ FOH จึงต้องวาง Ui ไว้ที่ FOH ลักษณะนี้คือวาง Ui ตัวหนึ่งไว้ที่เวที และอีกตัววางที่ FOH หรือกรณีต้องการส่งสัญญาณอินพุตบางอย่างจาก FOH เช่น เปิดแผ่น CD จาก FOH แต่ปัจจุบันการใช้งาน CD น้อยลง ส่วนใหญ่มักจะใช้แฟลชไดร์ฟ แล้วกด Play ผ่าน iPad
บทความที่เกี่ยวข้อง :
Ui24R : เวิร์กช็อปการต่อพ่วงมิกเซอร์ 2 เครื่อง (01)
Soundcraft Ui24R มิกเซอร์ดิจิตอล
สนใจสินค้าสามารถสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าได้ที่:
บริษัท มหาจักรดีเวลอปเมนท์ จำกัด
โทร. 02-2560020
Website: www.mahajak.com
Youtube : Mahajak Channel
Line : @MahajakPro