Ui24R : เวิร์กช็อปการต่อพ่วงมิกเซอร์ 2 เครื่อง (01)

ui24r-banner1200-628px_ok
“ข้อดีของการต่อพ่วง Ui24R แบบ Cascade จะช่วยเพิ่มจำนวนอินพุตและเอาต์พุตมากขึ้น”

แม้ดิจิตอลมิกเซอร์ Soundcraft Ui24R จะเปิดตัวมาได้สักพักแล้ว แต่ปัจจุบันยังได้รับความนิยมอย่างสูง ในช่วงที่ผ่านมา Soundcraft ได้เปิดให้อัพเดตเฟิร์มแวร์มาโดยตลอด ล่าสุดทำให้ Ui24R สามารถต่อพ่วงเข้าหากันได้

เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัทมหาจักรฯ ได้จัดงาน Workshop หัวข้อ “การต่อ Soundcraft Ui24R พ่วง 2 เครื่อง” โดยแนะนำวิธีเชื่อมต่อ Ui24R แบบ Cascade ซึ่งระบบจะเห็นจำนวน Input/Output มากขึ้น บรรยายโดยทีมแอปพลิเคชันเอ็นจิเนียร์ ณ. Experience Center สำนักงานใหญ่

ซึ่งรายละเอียดและขั้นตอนต่างๆ จะอธิบายผ่านบทความนี้ โดยมีเนื้อหาสำคัญ 3 เรื่อง คือ

การ Patching หัวข้อแรกที่ควรทำความเข้าใจ ซึ่งอาจจะไม่เกี่ยวกับการต่อเครื่องเลยซะทีเดียว เพราะหากผู้ใช้ Patching ไม่ถูกต้อง จะทำให้การบริหารจัดการตัวเครื่องยุ่งยากขึ้น ซึ่งเวลาเชื่อมต่อเครื่องแบบ Cascade จะทำให้สับสนได้

ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำเป็นเลยคือการ Patching ที่สำคัญหากผู้ใช้ไม่เข้าใจเรื่อง Patching เขาจะไม่เข้าใจเรื่องการ Cascade เลย ผู้ใช้จะไม่รู้เลยว่ามิกเซอร์ตัวนี้ทำอะไรได้บ้าง เนื่องจากมันสามารถช่วยให้ผู้ใช้สามารถปรับปรุงระบบให้รองรับการใช้งานได้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการที่ผู้ใช้จะได้จำนวนแชนเนลสูงสุด และนำแชนเนลเหล่านี้มาใช้งานเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

patching
ลักษณะหน้าต่าง Patching ของ Ui24R


การเชื่อมต่อ ซึ่งเป็นการอธิบายเกี่ยวกับวิธีการและขั้นตอนว่าเราจะต้องทำอย่างไร ใช้สายอะไร ใช้เราท์เตอร์หรือไม่ ต่อแล้วเครื่องไหนเป็นจะทำหน้าที่เป็นเครื่องหลักหรือเครื่องรอง

การใช้งานจริง ผู้ใช้จะได้เรียนรู้ว่า มีสถานการณ์ใดบ้างที่จะได้ใช้งานจริง ซึ่งประเด็นสุดท้ายจะเป็นเรื่องของการเซต Cascade ว่าต้องทำอย่างไรบ้าง

ทำไมต้องเชื่อมต่อแบบ Cascade

Cascade คืออะไร ความหมายของคำนี้คือการเรียงลำดับลงมาเป็นขั้นๆ เหมือนบันได หรือน้ำตกซึ่งจะมีน้ำไหลจากบนลงล่าง โดยกระบวนการทำงานในลักษณะจากบนลงล่างแบบต่อเนื่องจะเรียกว่า Cascade ซึ่งในการต่อพ่วง Ui24R จำนวน 2 เครื่องเข้าด้วยกัน ถือเป็นการต่อแบบ Cascade

โดยต่อเครื่องบนลงเครื่องล่าง แล้วทั้งสองเครื่องสื่อสารกัน เพราะทั้ง 2 เครื่องมีการเชื่อมต่อกันผ่านสายลิงค์ทำให้ส่งข้อมูลถึงกันได้ คำถามแรก ทำไมต้องต่อ Ui24R เข้าด้วยกัน เพราะเราจะได้จำนวนแชนเนลมากขึ้น เดิมทีหากผู้ใช้ต้องการจำนวนแชนเนลมากๆ จำเป็นต้องซื้อมิกเซอร์ที่มีแชนเนลเยอะๆ ตั้งแต่แรก

สมมติ ผู้ใช้รู้ว่าต้องการใช้งานจริงเพียง 12-15 แชนเนล ผู้ใช้จะเลือกมิกเซอร์ขนาด 16 แชนเนล และกรณีผู้ใช้รู้ว่าปริมาณการใช้จริงราว 20 แชนเนล ก็จะซื้อมิกเซอร์ขนาด 24 แชนเนล หรือต้องการใช้ 50 แชนเนล อาจซื้อมิกเซอร์ขนาด 64 แชนเนล

แต่จุดเด่น Ui24R คือสามารถเชื่อมต่อเข้าด้วย เพื่อเพิ่มจำนวนแชนเนล เดิมทีผู้ใช้อาจต้องการแค่ 16 แชนเนล ภายหลังต้องการใช้จริง 30-35 แชนเนล เรียกว่าต้องการจำนวนแชนเนลมากขึ้น ผู้ใช้สามารถซื้ออีกเครื่องมาเพิ่มได้ ประเด็นที่ 2 ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องการเพิ่มจำนวนแชนเนลก็ได้

input
Ui24R Patching Hardware Inputs 1-22 และ Combo จำนวน 10 ช่อง


บางท่านอาจมีคำถามว่า ถ้าใช้เพียงแค่ 20 แชนเนล จำเป็นต้องต่อ Cascade ด้วยเหรอ คำตอบคือ ในบางกรณีผู้ใช้อาจไม่ต้องการจำนวนแชนเนลเพิ่มขึ้น แต่เชื่อมต่อเพื่อให้เครื่องทำงานในลักษณะมี Splitter หมายความว่าเราใช้จำนวนแชนเนลเท่าเดิม เช่น มีวงดนตรีที่ต้องการใช้ 16 แชนเนล

แต่ผู้ใช้ต้องการใช้เป็นบอร์ดมอนิเตอร์ร่วมด้วย และบอร์ดมิกเซอร์ที่ใช้คุม Main PA ด้วย ฉะนั้น เทคนิคการต่อแบบ Cascade สามารถตอบโจทย์จุดนี้ได้เช่นกัน สรุปว่า จุดเด่นของการต่อ Cascade มี 2 ข้อคือ

  1. เพิ่มจำนวนอินพุต/เอาต์พุต
  2. สามารถแตกแชนเนลเดียวเป็นบอร์ดมอนิเตอร์และบอร์ดหลักได้

การทำ Patching บน Ui24R

การทำ Patching เป็นเรื่องที่ผู้ใช้ควรต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ สำหรับ Ui24R เมื่อจะทำการ Patching ผู้ใช้จะต้องเข้าไปที่หน้า Setting ของระบบ

สังเกตง่ายๆ คือจะเป็นไอคอนรูปฟันเฟือง จากนั้นไปที่ Patching หน้าที่ของ Patching จะเป็นตัวกำหนดให้ผู้ใช้นำเสียงอะไรไปลงแชนเนลไหน กรณีเราเห็นแชนเนล 1-3 หากเปรียบเทียบกับมิกเซอร์อะนาล็อก แชนเนลที่ 1 สังเกตง่ายๆ คือจะเป็นไอคอนรูปฟันเฟือง จากนั้นไปที่ Patching หน้าที่ของ Patching จะเป็นตัวกำหนดให้ผู้ใช้นำเสียงอะไรไปลงแชนเนลไหน กรณีเราเห็นแชนเนล 1-3 หากเปรียบเทียบกับมิกเซอร์อะนาล็อก แชนเนลที่ 1

usb-a
ช่อง USB Flash Drive / Slot 1-22


ยังไงจะต้องรับสัญญาณจากไมค์ตัวที่หนึ่งแน่นอน และแชนเนล 2 จะต้องรับสัญญาณจากไมค์ตัวที่ 2 นั่นคือรูปแบบการทำงานของมิกเซอร์อะนาล็อก แต่มิกเซอร์ดิจิตอลไม่ได้เป็นแบบนั้น เพราะผู้ใช้สามารถกำหนดกระทั่งให้แชนเนล 10 รับสัญญาณจากช่องที่ 1 ได้ รูปแบบการทำงานของมิกเซอร์อะนาล็อก แต่มิกเซอร์ดิจิตอลไม่ได้เป็นแบบนั้น เพราะผู้ใช้สามารถกำหนดกระทั่งให้แชนเนล 10 รับสัญญาณจากช่องที่ 1 ได้

หรือแชนเนล 10 รับเสียงจากช่อง 15 หรือแชนเนล 1 รับสัญญาณจาก USB หรือแชนเนล 1 รับสัญญาณจากมิกเซอร์อีกตัว หรือแชนเนล 1 รับสัญญาณจาก Master L ก็ได้ นี่คือจุดเด่นของมิกเซอร์ดิจิตอล มันมีคุณสมบัติให้ผู้ใช้กำหนดสัญญาณได้อย่างอิสระ

ในการทำ Patching อีกวิธีคือสามารถดับเบิลคลิกที่แชนเนลแรก แล้วไปที่ Patching ของแชนเนลแรกก็ได้ มันมีให้เราเลือกได้หลากหลาย เราจะเลือกเป็น Local, USB, Computer, Cascade หรือ Master ก็ได้ จะเห็นว่าผู้ใช้สามารถเลือกสัญญาณใดๆ มาลงที่แชนเนลนั้นได้เลย

ซึ่งหน้า Patching จะมี 2 ส่วนคือหน้าแยกแต่ละแชนเนลและหน้ารวม เวลาที่ทำงานจริง ผู้ใช้อาจไปที่หน้ารวมซึ่งช่วยทำงานได้เร็วขึ้น ด้านบนจะมีแท็ป Source จะเป็นส่วนระบุที่มาของแหล่งสัญญาณเสียง และยังมีแถบด้านข้างซึ่งอยู่ในแนวตั้งเป็นตัวกำหนดปลายทางของเสียงที่จะส่งออกไป

สิ่งที่ผู้ใช้ต้องพิจารณาคือ จะนำแหล่งสัญญาณใดส่งไปที่ไหน ซึ่งผู้ใช้อาจจะเห็นทั้ง Source และช่องสัญญาณปลายทางจำนวนมาก

ถ้าไล่เรียงทีละส่วน เริ่มจาก Source ฝั่งด้านบน ตัวแรกจะเขียนไว้ HWINS ย่อมาจาก Hardware Inputs ซึ่งมีจำนวน 22 ช่อง เรียงจากช่องที่ 1-22 เวลาที่ผู้ใช้เสียบเครื่องดนตรีเข้าไปที่หน้าเครื่อง ผู้ใช้จะต้องเลือกรับสัญญาณจากฮาร์ดแวร์กลุ่มนี้

ในจำนวนอินพุต ได้แบ่งเป็นคอมโบแจ็ค 10 ช่อง สามารถเชื่อมต่อกับแจ็คโฟนหรือ XLR ได้ ส่วนด้านล่างนั้นเป็น XLR ธรรมมีจำนวน 10 ช่อง

usb-daw
ช่อง USB Interface (DAW) 1-16 และ 17-32


สุดท้ายช่อง RCA 2 ช่อง เมื่อนำมารวมกันจึงได้ 22 ช่อง สำหรับฮาร์ดแวร์อินพุตจะเป็นช่องจริงๆ ที่ใช้เชื่อมต่อสัญญาณเข้าไปที่มิกเซอร์

ช่องถัดไปคือ USB A ทำหน้าที่เล่นไฟล์เสียงจากแฟลชไดร์ฟ รองรับได้สูงถึง 22 สล็อต การใช้งาน หากนำแฟลชไดร์ฟที่มีไฟล์เสียงมาเสียบช่องนี้ ก็จะเล่นไฟล์เสียงนั้นได้ทันที

จากจำนวนสล็อต 1 ใน 22 ช่องนั้น เราสามารถ นำสล็อต 1 มาลงแชนเนลที่ 1 หรือนำสล็อต 2 มาลงแชนเนล 2 หากต้องการนำสล็อต 20 มาลงแชนแนล 1 ก็ทำได้

เราจะเห็นว่าผู้ใช้สามารถกำหนดได้อย่างอิสระ ซึ่งทั้งหมดเป็นคุณสมบัติของ USB A (แฟลชไดร์ฟ) ช่อง USB-DAW เป็น USB ทำหน้าที่เป็นเหมือนออดิโออินเทอร์เฟซ มีช่องเชื่อมต่อเป็น USB แบบสี่เหลี่ยม

ถามว่าสียงมาจากไหน มาจากคอมพิวเตอร์ บนคอมพิวเตอร์จะมีซอฟต์แวร์ทำเพลง เช่น Logic, Cubase หรืออื่นๆ ผู้ใช้สามารถส่งสัญญาณเสียงกลับมาที่มิกเซอร์รุ่นนี้ได้ทั้งหมด 32 แชนเนล หรือเรียกอีกอย่างว่าสล็อต หากสังเกตจะพบว่าช่อง USB-DAW แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

  • USB-DAW 1-16
  • USB-DAW 17-32

เหตุผลที่แบ่งลักษณะนี้ เวลาใช้งานจริงจะทำงานได้รวดเร็ว

กรณี HWINS มีแค่ 22 สล็อต ผู้ใช้สามารถจัดการผ่านหน้าเดียวได้ แต่ USB-DAW มีจำนวนช่องมากจึงถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ทำให้ง่ายต่อการใช้งาน หากทุกอย่างอยู่หน้าเดียวจะทำให้ต้องเลื่อนจอ

Cascade เป็นช่องที่ได้จากเฟิร์มแวร์เวอร์ชันล่าสุด Ethernet 2 หากผู้ใช้สังเกตด้านข้างของเครื่อง Ui24R จะมีช่อง Ethernet จำนวน 2 ช่อง ปกติช่องอีเธอร์เน็ตมีไว้ต่อกับเราท์เตอร์ แต่กรณีของ Ui24R จะไม่ต่อลักษณะนั้น

สำหรับช่อง Ethernet 2 ถือเป็นไฮไลท์ของบทความนี้ เสียงที่ส่งผ่านเข้ามาช่องนี้ จะต้องเป็น Ui24R เท่านั้นที่จะสามารถทำ Cascade ผู้ใช้ไม่สามารถนำมิกเซอร์รุ่นอื่นๆ รวมถึงคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อใช้ร่วมกันในแบบนี้ได้ เพราะระบบสื่อสารได้เฉพาะ Ui24R เท่านั้น ซึ่งเท่ากับว่าผู้ใช้สามารถส่งสัญญาณเสียงจากมิกเซอร์อีกเครื่องหนึ่งมาหาอีกเครื่องหนึ่งได้ 32 แชนเนลเลยทีเดียว

cadcade
ลักษณะการเชื่อมต่อ Ui24R แบบ Cascade

การ Patching Master บน Ui24R

มิกเซอร์ตัวนี้ฉลาดมาก ส่วนของ Master นั้น ผู้ใช้สามารถนำสัญญาณเสียงที่มาจากเอาต์พุต ส่งไปลงที่อินพุตได้ ซึ่งจะประกอบด้วยแชนเนลเอาต์พุต Aux 1-10

สำหรับ Master L/R ผู้ใช้สามารถส่งสัญญาณไปที่อื่นได้เช่น ในการใช้งานจริงคุณสมบัตินี้จะช่วยได้มาก โดยเฉพาะการทำมอนิเตอร์ รวมถึงช่องหูฟังก็ถือเป็นช่อง Master เช่นกัน นี่คือฝั่ง Source ทั้งหมด ที่ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ รวมแล้วมี Source 5 แบบ

ลองมาพิจารณาฝั่งต้นทางว่าเสียงที่นำเข้ามาแล้วสามารถส่งไปลงที่ไหนได้บ้าง แน่นอนว่าเมื่อนำสัญญาณเข้ามาแล้ว ต้องนำมาลงที่แชนเนลมิกเซอร์ โดยเป็นแชนเนลอินพุต ซึ่งแชนเนลของ Ui24R จะมีทั้งหมด 24 แชนเนล และเพิ่มอีก 2 ช่องคือ Line In/Line In R+L

ในช่อง Line In ซ้ายกับขวา ปกติมันจะเป็นของช่อง RCA อันที่จริงผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับเสียงจาก RCA ก็ได้ คือผู้ใช้จะกำหนดให้รับเสียงจากไมค์ช่องที่ 3 หรือช่อง 1 หรือจะนำเสียงอื่นๆ มาลงก็ได้

เพราะระบบของมิกเซอร์รุ่นนี้ไม่ได้ฟิกซ์ตายตัวว่าจะต้องเป็น Line In L/R เท่านั้น ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนสถานะของ Line In ให้รับเสียงจากแหล่งอื่นก็ได้ หากนับรวมกันก็จะได้ 26 ช่อง (24+2)

Hardware Output

HWOUT (Hardware Output) ทำหน้าที่ปล่อยเสียงจริงออกไปภายนอก ผู้ใช้ต้องจำแนกสถานะแชนเนลภายในเครื่องและช่องสัญญาณจริงที่อยู่บนมิกเซอร์ เพราะเป็นคนละส่วนกัน ตัวอย่างเช่น Aux 1-10 ถือเป็นแชนเนลที่อยู่ภายในมิกเซอร์

ส่วนฮาร์ดแวร์เอาต์จะเป็นของจริง จำนวนของฮาร์ดแวร์เอาต์พุตจะมีจำนวนน้อยกว่า เช่น Master L/R, Aux 1-8 ส่วนช่องหูฟัง แม้จะมี 2 ช่อง แต่ภายในเป็นสเตอริโอ

แต่เมื่อนับจะมี 4 ช่อง คือ Headphone 1 ฝั่งซ้าย/ขวา ส่วน Headphone 2 ด้านล่างมีช่องสัญญาณซ้าย/ขวา เมื่อนับรวมกันก็จะได้ 4 ช่อง ผู้ใช้สามารถแตกสายจากสเตริโอไปเป็นโมโน 2 ช่องก็ได้ เพื่อนำไปต่อกับมอนิเตอร์

ช่อง Aux จะมีทั้งหมด 8 ช่อง แต่เมื่อสำรวจบนมิกเซอร์รุ่นนี้จะมีจำนวน 10 Aux โดยช่อง Aux 9-10 เป็นช่องที่เพิ่มเข้ามา

สัญญาณทั้งสองช่องจะไปออกช่องไหน ก็ขึ้นอยู่กับผู้ใช้กำหนด ซึ่งบางท่านคิดว่า Aux 1 จะต้องส่งไปออกช่อง 1 หรือ Aux 2 ส่งสัญญาณไปออกช่อง 2 นั่นไม่เสมอไป

สำหรับมิกเซอร์รุ่นนี้ไม่ได้เป็นแบบนั้น เพราะ Aux ใดๆ จะกำหนดให้ออกช่องใดก็ได้ Aux 1 จะกำหนดให้ไปช่อง 3 หรือช่อง Aux 8 ก็ได้ ทั้งหมดขึ้นอยู่กับขั้นตอนการ Patching

ผู้ใช้สามารถกำหนดให้ Aux 1 ส่งไปยัง Master L/R ก็ได้ หรือจะส่งไปช่องหูฟังก็ได้ ตัวอย่างเช่น กรณีนักดนตรีต้องการเสียงจาก Aux ผู้ใช้สามารถกำหนดช่องหูฟังให้รับสัญญาณจาก Aux ใดๆ ก็ได้ จะเห็นว่าการ Patching นั้น สามารถเปลี่ยนเส้นทางของสัญญาณได้อย่างอิสระ

Cascade Out

Cascade Out เป็นช่องสำหรับเสียงที่จะส่งออกจากช่อง Ethernet 2 ไปยังมิกซ์ Ui24R ตัวอื่น สำหรับช่อง Cascade นั้น สามารถส่งออกไปได้ 32 ช่องเสียง เท่ากับว่าในสาย LAN เพียงหนึ่งเส้น ผู้ใช้สามารถส่งสัญญาณออกและรับได้พร้อมกัน 32 แชนเนลเสียง

อย่างไรก็ดี ผู้ใช้ต้องกำหนดการส่งหรือรับสัญญาณจากแชนเนลใดบ้างไปหามิกเซอร์อีกตัว สิ่งที่ต้องจำไว้คือ Cascade Out เป็นช่องสำหรับส่งเสียงผ่าน Ethernet 2 ส่วน Cascade In จะทำหน้าที่รับสัญญาณจากภายนอกเข้ามา

Soundcraft UI24R
ช่อง Ethernet 2 เป็นช่องสำหรับส่งสัญญาณเสียง Cascade Out ออกไปยังมิกเซอร์ตัวอื่น


สุดท้ายเป็นช่อง Soundcheck อันที่จริงมันจะคล้ายๆ การเลือกแชนเนลอินพุต แต่จุดนี้จะเป็นอีกชุด ส่วนรายละเอียดในบทความนี้จะยังไม่กล่าวถึง สำหรับ Soundcheck เป็นการเลือกอินพุตอีกชุดหนึ่งไว้ได้ เช่น กรณีนักดนตรียังไม่มาหน้างาน ผู้ใช้เลือกรับเสียงจาก USB ที่เคยบันทึกไว้ แล้วทำการซาวด์เช็คให้เรียบร้อย

เมื่อนักดนตรีมาถึงก็ปลดปุ่ม Soundcheck ออก เพื่อที่จะรับอินพุตจริงจากนักดนตรี ดังนั้นผู้ใช้จึงสามารถเซตอินพุตไว้ 2 ชุดนั่นเอง มันสามารถรับเสียงได้ทั้งหมด 26 แชนเนล

เชื่อมต่อ Ui24R แบบ Cascade

กรณีผู้ใช้มี Ui24R จำนวน 2 เครื่อง หากถามว่าจะเชื่อมต่อยังไง ในขั้นตอนแรกท่านจะต้องตั้งชื่ออุปกรณ์ทั้ง 2 ให้ต่างกันเสียก่อน ปกติแล้วหากเปิดพร้อมกัน ชื่อของเครื่องที่มาจากโรงงานจะเป็นชื่อเดียวกัน

ขั้นตอนการตั้งชื่อจะต้องทำผ่าน Hotspot เมื่อเข้าผ่านหน้า Hotspot จะสามารถเปลี่ยน SSID ได้ ซึ่งมันจะโชว์ตอนผู้ใช้เลือก Wi-Fi ของ Hotspot เครื่อง

Image 1
ก่อนจะเชื่อมต่อ Cascade ต้องกำหนดชื่อ SSID ของมิกเซอร์ใหม่เสียก่อน


ตอนเปิดเครื่องครั้งแรกชื่อจากโรงงานจะเป็น Soundcraft Ui24R เหมือนกัน เราอาจเปลี่ยนเป็น “Soundcraft Ui24 Host” ทำหน้าที่เป็นเครื่อง Master ส่วนแชนเนลของ Hotspot ตั้งเป็นแชนเนล 1 และสิ่งสำคัญที่สุดคือ ผู้ใช้จะต้องตั้งไอพีแอดเดรสไม่ให้ชนกัน

หากไอพีชนกันระบบจะใช้งานไม่ได้ เช่น 192.168.1.101 ส่วน Subnet, Gateway เหมือนเดิม Gateway คือไอพีแอดเดรสของเราท์เตอร์ Wi-Fi ส่วนมิกซ์ชื่อตัวล่างอาจตั้งเป็น “Soundcraft Ui24 Remote” มีสถานะเป็น Slave หรือตัวลูก

ส่วนแชนเนล Wi-Fi ให้เลือกเป็นอีกแชนเนล เช่น แชนเนล 6 หากตั้งเป็นแชนเนลเดียวกัน ระบบจะตีกันเอง ส่วนไอพีแอดเดรสตั้งเป็น 192.168.1.102 ส่วน Subnet, Gateway เหมือนเดิม สรุปคือ

  1. ชื่อของ Hotspot หรือ SSID ต้องเซตให้ต่างกัน
  2. แชนเนลของ Hotspot Wi-Fi ต้องเซตให้ต่างกัน
  3. ไอพีแอดเดรส เช่น ตัวหลัก 192.168.1.101 ตัวรองคือ 192.168.1.102
Image 2
ตัวอย่างขั้นตอนกำหนดตัวเลข IP, Netmark และ Gateway บน Ui24R


จากนั้น ให้เชื่อมต่อสายเข้าด้วยกัน ในกรณีจะต่อ 2 เครื่องเข้าด้วยกัน ผู้ใช้จะต้องมีเราท์เตอร์ Wi-Fi หรือต้องมีสวิตซ์ต่างหาก

อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ใช้เราท์เตอร์ Wi-Fi เพราะผู้ใช้ Ui24R ส่วนใหญ่มีเราท์เตอร์อยู่แล้ว ซึ่งเราท์เตอร์ Wi-Fi ทั่วไปที่ซื้อมาใช้ จะมีพอร์ต LAN ให้เชื่อมต่อเป็นจำนวนมาก ยกเว้นกรณีซื้อแอคเซสพ้อยต์ ซึ่งมักจะมีเพียงช่องเดียว ในขณะเราท์เตอร์จะมีให้ประมาณอย่างต่ำ 4 พอร์ต

วิธีเชื่อมต่อ Ui24R 2 เครื่อง

ขั้นตอนแรกให้เชื่อมต่อสายจากช่อง Ethernet ที่ไม่มีตัวเลขกำกับ ไปเข้าเราท์เตอร์ 1 ช่อง ส่วนเครื่องด้านล่าง ให้ต่อจากช่อง Ethernet ไปเข้าเราท์เตอร์ เพียงแค่นี้ผู้ใช้สามารถควบคุมมิกเซอร์ Ui24R ได้พร้อมกัน 2 ตัวทันที

ในบางกรณีหากผู้ใช้จะต่อพ่วงมิกเซอร์ เพื่อควบคุมมิกเซอร์ทั้ง 2 ตัวด้วย iPad ตัวเดียว สิ่งสำคัญต้องมีเราท์เตอร์ เพื่อใช้เป็นตัวเชื่อมมิกเซอร์ 2 ตัวเข้าด้วยกัน กรณีผู้ใช้มีคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ค iPad

เมื่อเชื่อมต่อเข้าไปที่เราท์เตอร์ก็จะสามารถต่อมิกเซอร์พร้อมกัน 2 ตัวได้ทันที สรุปคือ ในการพ่วงมิกเซอร์นั้นจะต้องเชื่อมต่อช่อง Ethernet ธรรมดามาเข้า Wi-Fi เราท์เตอร์ก่อน

ถัดไปสาย LAN อีกหนึ่งเส้น ต้องเชื่อมต่อ Ethernet 2 เข้าด้วยกัน แบบตรงๆ เท่านั้น ห้ามเชื่อมต่อผ่านเราท์เตอร์หรือสวิตซ์เด็ดขาด ต้องใช้สายเส้นเดียวต่อหัวถึงท้าย เพราะเครื่องเขียนโพรโตคอลเฉพาะขึ้นมาเอง หากผู้ใช้เชื่อมสายนี้เข้ากับเราท์เตอร์หรือสวิตซ์ก่อน ระบบจะไม่มีการรับส่งข้อมูลใดๆ ทั้งหมดจะใช้สาย LAN 3 เส้น

ui_remote
ตัวอย่างการกำหนด LAN Config IP และค่าต่างๆ บนเครื่อง Remote (Slave)


โดยใช้ 2 เส้นเป็นตัวคอนโทรล ส่วนสาย Cascade ใช้เพื่อส่งสัญญาณเสียง หากผู้ใช้มีอุปกรณ์ที่จะใช้ควบคุมให้นำไปเชื่อมต่อกับตัว Wi-Fi เราท์เตอร์ ก็สามารถใช้งานได้แล้ว

ในกรณีที่ต้องการควบคุมผ่านคอมพิวเตอร์ สามารถใช้สาย LAN ต่อกับเราท์เตอร์ไปเข้าคอมพิวเตอร์ได้เลย ข้อดีคือจะได้สัญญาณที่เสถียรมากกว่า Wi-Fi หรือใช้เป็นตัวสำรองในกรณีที่ Wi-Fi ไปไม่ถึง ผู้ใช้อาจตั้งคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง โดยวางไว้บนเวทีก็ได้

ปัญหาหนึ่งที่ต้องเจอคือ หากมีคนเข้ามาในบริเวณงานจำนวนมากๆ ก็จะส่งผลต่อระบบ Wi-Fi ได้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก การต่อแบบนี้ถือว่าใช้งานได้ครึ่งทางแล้ว ที่เหลือจะต้องเซตค่าบนมิกเซอร์เพียงเล็กหน่อยเท่านั้นเอง

hotspot_remote
ตัวอย่าง ขั้นตอนกำหนดค่าต่างๆ ของ Hotspot Config บนเครื่อง Remote

สรุป

หัวใจของการต่อพ่วง Ui24R จำนวน 2 เครื่อง ในรูปแบบ Cascade มีสาระสำคัญ 3 เรื่องคือ

  • การ Patching เป็นขั้นตอนการบริหารจัดการช่องสัญญาณต่างๆ
  • การเชื่อมต่อ เป็นวิธีการเชื่อมต่อ 2 เครื่องเข้าหากัน
  • การใช้งานจริง จะทำให้รู้ว่าการพ่วง 2 เครื่อง นำไปใช้งานอย่างไร

สำหรับเนื้อหาในตอนที่ 2 จะอธิบายเกี่ยวกับวิธีการเซตอัพค่าต่างๆ เพื่อให้ Ui24R ทั้ง 2 เครื่องสามารถทำงานร่วมกันได้ รวมทั้งเทคนิคอื่นๆ

บทความที่เกี่ยวข้อง : เจาะทุกฟังก์ชันการใช้งาน dbx DriveRack

สนใจสินค้าสามารถสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าได้ที่:
บริษัท มหาจักรดีเวลอปเมนท์ จำกัด
โทร. 02-2560020
Website: www.mahajak.com
Youtube : Mahajak Channel
Line : @MahajakPro

Read Previous

ลดท้าฝน!! ภาค 2 เดือดกว่าเดิม

Read Next

Shure GLX-D® Advanced : ไมค์ลอยย่าน 2.4 GHz