Topp Pro T-FBK4 อุปกรณ์ป้องกันการหอน

Topp pro T-FBK4

T-FBK4 ขนาด 1U มาพร้อม Notch Filter ที่ช่วยป้องกันการหอนของไมค์ ด้วยความละเอียด 24-bit/48kHz ทำงานทั้งโหมดฟิกซ์และรีลไทม์

Topp Pro T-FBK4 เป็นอุปกรณ์ป้องกันเสียงฟีดแบ็กหรือไมค์หวีดหอนแบบอัตโนมัติ โดยมีชื่อเรียกเต็มๆ ว่า Automatic Feedback Killer ภาพรวมถือเป็นอุปกรณ์ตัวหนึ่งที่ออกแบบฟังก์ชันมาให้ใช้งานได้สะดวก การเซตอัพไม่ซับซ้อนยุ่งยาก

FBK4_01

สำหรับ T-FBK4 พัฒนาต่อยอดมาจากรุ่น T-FBK2 ในรุ่นก่อนหน้าจะมีโวลุ่ม 2 ตัว ที่ใช้ในการเลือกค่า Octave มี 2 ปุ่มสำหรับเซตอัพ แต่ในรุ่นล่าสุด จะมีปุ่มใช้งานต่างๆ มากขึ้น ซึ่งประกอบด้วยปุ่ม Bypass, Clear, Setup และปุ่ม Mode ยังไงจะมาเจาะรายละเอียดทีละปุ่ม

องค์ประกอบโดยรวมของอุปกรณ์ T-FBK4 จะมี 2 อินพุต/ 2 เอาต์พุต มีช่องเชื่อมต่อสัญญาณได้ทั้ง 2 แบบ คือ XLR และ TRS นอกจากนี้ สามารถล็อคปุ่มด้านหน้า ใช้ป้องกันกรณีไม่ต้องการให้ผู้อื่นมาปรับแต่งค่าต่างๆ ของเรา

สำรวจด้านหน้า T-FBK4

ด้านหน้าอุปกรณ์จะมี LED Input ทำหน้าที่เป็นมิเตอร์แสดงผลของสัญญาณ ฝั่งอินพุตจะมีจำนวน LED ทั้งหมด 5 เม็ด ใช้แสดงผลระดับความแรงของสัญญาณขาเข้า โดยเริ่มจากระดับ -10dBu ถึง +15dBu ถัดจากนั้นจะพบ LED ที่ใช้แสดงผลสัญญาณ Clip กรณีสัญญาณมีการพีคสูงสุด ใช้บอกเราในขณะนั้นว่าสัญญาณมีการคลิป จะเห็นเป็นสีแดง

ในส่วนของฟิลเตอร์ ประกอบด้วย Notch Filter ที่เป็นไฟ LED สีแดง จะมีจำนวนทั้งหมด 24 ฟิลเตอร์ เรียงเป็น 2 แถวคือ A และ B สามารถต่อใช้งานในลักษณะแชนแนล A/B

ปุ่ม Bypass ทำหน้าที่บายพาสฟิลเตอร์ หลังจากมีการเซตอัพระบบไว้ หากต้องการบายพาสสามารถทำได้ โดยการกดปุ่มนี้ เพื่อตรวจสอบหรือทดสอบสัญญาณ บางกรณีสัญญาณที่เข้ามานั้น เราอาจไม่ต้องการให้อุปกรณ์นี้ทำงาน ก็สามารถบายพาสสัญญาณออกไปก็ได้ ทำให้เราปลดล็อคอุปกรณ์ได้โดยไม่จำเป็นต้องถอดสายสัญญาณออก

ก่อนการใช้งานอุปกรณ์ป้องกันฟีดแบ็ก เราจำเป็นต้องทำระบบให้ดีก่อน แล้วค่อยพิจารณาใช้อุปกรณ์ป้องกันเท่าที่จำเป็น ข้อดีของอุปกรณ์ตัวนี้จะช่วยป้องกันปัญหาหวีดหอนเฉพาะหน้าได้ดี เพราะตัวป้องกันจะจำความถี่ที่เป็นปัญหา หากความถี่นั้นเกิดขึ้นอีกครั้งระบบก็จะป้องกันการหวีดหอนให้เราโดยปริยาย โดยที่งานเราไม่เสีย

อาจมีการหวีดหอนเล็ดลอดออกมาบ้าง แต่ไม่รุนแรงเหมือนกับตอนไม่ใส่อุปกรณ์ป้องกันใดๆ เพราะอุปกรณ์ตัวนี้มันจะคอยจับหรือล็อคเฉพาะความถี่ที่เป็นปัญหาเท่านั้น

เรียกได้ว่าอุปกรณ์ตัวนี้จะทำหน้าที่ป้องกันสัญญาณปลายทาง ไม่ให้เกิดฟีดแบ็กหรือหวีดหอนซ้ำๆ ได้ในระดับหนึ่ง บางท่านสงสัยว่า กรณีที่มีการฟีดแบ็กเยอะๆ มากกว่าคุณสมบัติของอุปกรณ์จะรับได้ ตรงนี้เราต้องไปตรวจสอบอุปกรณ์ หรือระบบเสียงของเราว่ามีปัญหาบกพร่องตรงไหน

ต้องไม่ลืมว่า เมื่อความถี่ใดๆ ถูกลดทอนไป ค่าความดังโดยรวมจะลดไปด้วย สมมติเจอไป 16 ฟิลเตอร์ ก็เท่ากับว่าโดนไป 16 ความถี่ คุณภาพเสียงโดยรวมอาจจะไม่ดีอย่างที่ต้องการก็ได้ หากติดตั้งระบบเสียงดี ทุกอย่างโอเค ปัญหาฟีดแบ็กจะเกิดน้อยกว่า นั่นหมายถึงการสิ้นเปลืองของฟิลเตอร์ก็จะน้อยตามไปด้วย

สำหรับปุ่ม Clear และ Setup ในส่วนของปุ่ม Clear จะทำหน้าที่เคลียร์ฟิลเตอร์ต่างๆ ที่มีการดักจับย่านความถี่ใดๆ เอาไว้ในหน่วยความจำ กรณีเราต้องการเคลียร์ฟิลเตอร์ความถี่นั้นออกจากหน่วยความจำเครื่อง ให้กดปุ่มดังกล่าว ซึ่งจำเป็นต่อการเซตอัพระบบใหม่ เพื่อกับใช้งานถัดไป หรือกรณีมีการเซตอัพระบบเสียงใหม่ แล้วต้องการให้ระบบจำค่าฟิลเตอร์ความถี่ใหม่ ก็สามารถเคลียร์ค่าเหล่านั้นได้

รู้จัก Live Mode (Real time)

กรณีผู้ใช้งานเป็นธุรกิจเครื่องเช่า เช่นตอนเช้าติดตั้งเครื่อง ตอนเย็นเก็บ ไม่ได้ใช้งานแบบข้ามคืน กรณีนี้เรียกว่า Live Mode หน้าที่ของโหมดนี้ จะใช้การเชื่อมต่อสัญญาณผ่านออกไปแบบธรรมดา เมื่อเครื่องพบความถี่ที่ทำให้เกิดปัญหาฟีดแบ็ก มันจะดักจับความถี่นั้นไว้ หรือทำ Notch Filter ไว้ เพื่อไม่ให้ความถี่นั้นก่อปัญหาซ้ำ

หลังจากจบงานแล้ว เราเก็บเครื่องกลับบ้าน หากปิดสวิตซ์เครื่อง ฟิลเตอร์ความถี่ทุกอย่างที่ใช้งานระหว่างวันจะถูกล้างออกไปจากเครื่องโดยปริยาย กล่าวคือฟิลเตอร์จะไม่ถูกโปรแกรมค้างไว้ในหน่วยความจำเครื่อง หากเปิดสวิตซ์เพื่อใช้งานอุปกรณ์ครั้งใหม่ ทุกอย่างจะถูกรีเซตใหม่ทั้งหมด ฟิลเตอร์ที่เคยดักจับความถี่ของงานก่อนหน้านั้นจะไม่อยู่ในเครื่อง จุดเด่นของโหมดนี้คือ จะดักจับความถี่ที่ทำให้เกิดการหวีดหอนแบบรีลไทม์ หรือขณะที่ทำการแสดง

รู้จัก Fix Mode (Setup)

ปุ่ม Clear และ Setup หากกดทั้ง 2 ปุ่มพร้อมกัน ค้างไว้ประมาณ 3 วินาที จากนั้นไฟ LED ทั้ง 24 เม็ดจะเกิดการกระพริบขึ้น ให้เราทำการ Sound Check โดยจำลองสถานการณ์ใช้งานไมค์จริง เพื่อให้เกิดการหวีดหอนมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เมื่อเม็ด LED ใดหยุดกระพริบแสดงว่ามีการใช้ฟิลเตอร์ไปแล้ว นั่นหมายถึงอุปกรณ์มีการดักจับความถี่ที่เป็นปัญหาไว้แล้ว อุปกรณ์จะไล่ดักจับความถี่ไปเรื่อยๆ

จากนั้นให้เรากดปุ่ม Clear/ Setup อีกหนึ่งครั้ง เพื่อให้มันจำค่าความถี่ที่เป็นปัญหาไว้ หลังจากนั้นเมื่อมีการใช้งานเสร็จ หากเราปิดเครื่อง และเปิดใช้งานอีกครั้ง ค่าฟิลเตอร์ที่โปรแกรมไว้จะยังอยู่ในเครื่อง โดยจะถูกเรียกกลับมาเพื่อใช้งาน จนกว่าจะมีการเคลียร์ฟิลเตอร์ต่างๆ ออกจากหน่วยความจำ จุดเด่นของโหมดนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการหวีดหอนระหว่างทำการแสดง

ลักษณะ Mode การทำงาน

สำหรับปุ่ม Mode จะทำหน้าที่ 2 ลักษณะ คือโหมด Speech กับ Music หรือใช้งานพูดกับงานดนตรีนั่นเอง ในส่วนโหมด Music จะทำงานลักษณะ Notch Filter โดยค่า Octave จะแคบกว่า กรณีเป็น Speech จะมีค่า Octave ที่กว้างกว่า ซึ่งจะช่วยดักจับความถี่ได้กว้างขึ้น อย่างโหมด Music ถ้ามีการฟีดแบ็กสามารถกดความถี่แบบเจาะจงได้

ในบางครั้งเราอาจจะไม่รู้ว่าความถี่ที่เป็นปัญหาคือความถี่ใด หูบางคนอาจฟังไม่ออก แต่หากเลือกเป็นโหมด Speech อาจช่วยขยายฐานของความถี่ช่วยได้ในระดับหนึ่ง อาจจะไปช่วยกดความถี่ใดๆ ที่อยู่ใกล้ๆ ได้อย่างรวดเร็ว

การใช้งาน Mode

กรณีใช้งาน Live Mode จะต้องกดปุ่มให้มันสว่าง บางครั้งเรียกว่าโหมดสแตนด์บาย แต่หากต้องการใช้ Speech Mode ต้องกดให้ไฟดับ

องค์ประกอบอื่นๆ

มาพิจารณาด้านหลังของตัวเครื่องกัน ตามที่อธิบายไปตอนต้นว่า อุปกรณ์จะรับสัญญาณอินพุตจากภายนอก และส่งเอาต์พุตออกไป อินพุตจะเป็นแบบ XLR ตัวเมียและ TRS ในการเชื่อมต่อสัญญาณแนะนำว่าควรเชื่อมต่อเป็นแบบบาลานซ์ และควรตั้งระบบให้ล็อคหน้าเครื่องด้วย เพื่อไม่ให้ใครมาปรับแต่งค่าตัวอุปกรณ์ หรือเราอาจจะพลาดพลั้งเอง

การประยุกต์ใช้

การเชื่อมต่อใช้งาน T-FBK4 สามารถต่อพ่วงกันได้หลายตัว ทั้งในแบบพ่วงกันไปเรื่อยๆ หรือแบบ Insert Channel / Insert Group ก็ได้ 

ข้อมูลเฉพาะทางเทคนิค

  • อุปกรณ์ตัวนี้ทำงานในลักษณะดิจิตอล
  • ตัวเครื่องมีหน้ากว้างขนาด 19 นิ้ว ความสูง 1U หรือ 44 มิลลิเมตร กว้าง 483 มิลลิเมตร ลึก 195 มิลลิเมตร
  • น้ำหนักประมาณ 3 กิโลกรัม
  • อินพุตจะเป็นแบบอะนาล็อกแบบบาลานซ์และอันบาลานซ์
  • ค่าความต้านทานของอินพุตมีค่า 3.6 กิโลโอห์ม
  • ค่าอินพุตสูงสุด +15dBu
  • มีช่องเชื่อมต่อแบบ XLR/TRS เอาต์พุตเป็นขั้ว XLR ตัวผู้ และ TRS
  • เอาต์พุตอิมพีแดนซ์ 120 โอห์ม
  • ค่าเอาต์พุตสูงสุด +15dBu
  • ระบบเครื่องมีวงจรแปลงสัญญาณอะนาล็อกเป็นดิจิตอล ไดนามิกเร้นจ์ 114dB (A-Weight)
  • ความละเอียด AD/DA 24-bit/48kHz ไดนามิกเร้นจ์ DA 106dB
  • ตอบสนองความถี่ 20Hz-20kHz
  • ค่า Crosstalk ของอินพุต/เอาต์พุต 86dB
  • ใช้กับไฟ 220V อัตราสิ้นเปลืองกำลังไฟฟ้า 15W

สรุป

ถ้าท่านกำลังมองหาอุปกรณ์ช่วยป้องกันสัญญาณฟีดแบ็ก/หวีดหอนของระบบเสียง ตัว Topp Pro T-FBK4 ถือเป็นตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะจุดเด่นของรุ่นนี้คือใช้งานง่าย ใช้ได้ผลจริง ใช้งานได้ 2 โหมดคือ Live Mode และ Fix Mode รองรับทั้งงานประเภทดนตรีและงานที่เน้นการใช้เสียงพูด เสียงร้อง สินค้าคุณภาพดี ในราคาที่ทุกคนเป็นเจ้าของได้

สามารถสอบถาม ติดตามข่าวสาร และข้อมูลได้ที่ :

✅สนใจสั่งซื้อสินค้าผ่านเว็ปไซต์ www.mynpe.com
✅ Line@ : http://bit.ly/LineMyNPEThailand
✅ Facebook : http://m.me/mynpethailand
✅ Twitter : twitter.com/mynpethailand
✅ Instagram : instagram.com/mynpethailand
✅ Youtube : www.youtube.com/user/mynpe

☎️ Tel : 02 225 0094 (Banmoh Branch)
Map : www.mynpe.com/mynpe-banmoh
☎️ Tel : 02 992 7379 (Zeer Rangsit Branch)
Map : www.mynpe.com/mynpe-zeer
☎️ Tel : 02 889 5498 (Salaya Branch)
Map : www.mynpe.com/mynpe-salaya

Read Previous

เปิดตัวครั้งแรกในไทย!! หูฟัง SHURE AONIC Series

Read Next

Takstar TS-450M หูฟังเพื่องานมัลติมีเดีย