มือใหม่หัดใช้ Topp Pro DM24.8 ดิจิตอลมิกเซอร์ EP.02

Topp pro DM24.8

Topp Pro DM24.8 บทความชุดมือใหม่หัดใช้มิกเซอร์ ใน EP.02 เนื้อหาประกอบด้วยเรื่องของฟังก์ชัน Link, System, Routing และ Copy

>>อ่านเนื้อหา EP.01 ย้อนหลัง<<

ในโซนฝั่งซ้ายมือของตัวมิกเซอร์ยังมีปุ่ม Digital In/Out ซึ่งจะใช้งานได้เมื่อมีการติดตั้งการ์ดออปชันเสริม เช่นการ์ดบันทึกเสียงมัลติแทร็ก หรือการ์ด Dante และการ์ด Automixer เราจะข้ามเนื้อหาส่วนนี้ไปก่อน

บนตัว Topp Pro DM24.8 เราจะพบลูกบิด Pan ทำหน้าที่อย่างเดียวเลยคือการ Pan สัญญาณซ้ายและขวาของแชนแนลต่างๆ

Topp Pro DM24.8

ระบบฟังก์ชันการ Link

มีปุ่มหนึ่งที่สำคัญมากคือปุ่ม Link หน้าที่ของมันจะใช้ Link แชนแนล เลขคี่กับเลขคู่ให้ทำงานไปด้วยกัน โดยสามารถ Link แชนแนลเลขคี่ไปหาคู่ หรือจะเลือก Link จากคู่กลับมาคี่ก็ได้

ตัวอย่างการ Link จะทำงานในลักษณะการ Link เป็นแบบสเตริโอ เช่น แชนแนล 1 และ 2 ผู้ใช้งานต้องการทำเป็นสเตริโอ กรณีเราต้องการ Link แชนแนล 1 และ 2 เข้าด้วยกัน สภาวะการบาลานซ์เสียงบนมิกเซอร์จะไปด้วยกัน ผู้ใช้อาจนำสัญญาณจากเครื่องเล่นภายนอกส่งเข้ามาเป็นสเตริโอ สัญญาณแชนแนล 1 จะถูกกำหนดให้คุมสัญญาณซีกซ้าย ส่วนแชนแนล 2 เป็นสัญญาณซีกขวา

ตำแหน่งปุ่ม Link บนตัวมิกเซอร์ อยู่คอลัมน์แรกฝั่งซ้ายมือ

เมื่อทั้ง 2 แชนแนล Link เข้าด้วยกัน ผู้ใช้สามารถปรับความดัง หรือปรับ Pan แชนแนลเดียว แชนแนลทั้ง 2 จะทำงานไปพร้อมกันได้ โดยไม่ต้องคอยปรับแต่งเสียงทีละแชนแนล

อย่างไรก็ดี ระดับ Gain ต้องปรับแยกกัน อย่าลืมว่ามันเป็น Gain แบบอะนาล็อก ดังนั้นต้องปรับทั้งสองข้าง หากปรับฝั่งเดียวสัญญาณจะอินพุตที่เข้ามาจะดังไม่เท่ากัน

ยกตัวอย่าง Gain ฝั่งซ้ายมือตั้งไว้ที่ 9 โมง ส่วนขวาไม่มีการปรับ เสียงที่เข้ามาจะมีเฉพาะฝั่งซ้ายเท่านั้น ส่วนฝั่งขวาไม่มีเสียง เพราะเราไม่ได้ปรับ Gain อินพุต แม้ว่าจะมีการ Link แชนแนลเข้าด้วยกัน แม้จะดันสไลด์เฟดเดอร์ขึ้นแล้วก็ตาม

นอกจากนี้ ค่าพารามิเตอร์ต่างๆ หากผู้ใช้ปรับแต่งในแชนแนล 1 หากแชนแนลที่ 2 ถูก Link ไว้แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องไปปรับแต่งแชนแนลที่ 2 เช่น ค่าเอฟเฟ็กต์ ค่า Pan ค่าเฟดเดอร์ต่างๆ

ปุ่ม Link ในหน้า C Strip ฝั่งซ้ายมือ อยู่ด้านล่างปุ่ม Delay

เมื่อมีการปลด Link ออก แชนแนลที่เคยถูก Link ไว้ด้วยกันก็จะคืนค่ากลับไปอยู่ในโหมดก่อนที่จะถูก Link และทำงานอิสระเหมือนเดิม เช่นในแชนแนล 1 ทำ EQ ปรับค่า Low cut ไว้ เมื่อทำการ Link แชนแนล 2 เข้ามา ตัวแชนแนลที่ 2 จะปรับค่า EQ ตามแชนแนล 1 ทุกประการ

ในกรณีปลด Link แชนแนล 2 จะคืนสภาพกลับไปเป็นค่าเดิม ซึ่งค่า Low cut ที่เคย Link กับแชนแนล 1 จะหายไปด้วย เพราะแชนแนลดังกล่าวไม่ถูก Link แล้วนั่นเอง

กล่าวโดยสรุป เราจะต้องกำหนดแชนแนลต้นแบบ หรือแชนแนล Master ไว้ก่อน แล้วนำมาแชนแนลอื่นมา Link ซึ่งแชนแนลที่ถูก Link นั้น จะกลายเป็น Slave ไปโดยปริยาย

แผงควบคุมเอฟเฟ็กต์

ฝั่งควบคุมหรือ Control ของ Topp Pro DM24.8 (ฝั่งขวามือของมิกเซอร์) จะพบปุ่มแรกเลยคือ Effect Edit (FX Edit) มีหน้าที่ใช้แก้ไขเอฟเฟ็กต์ เมื่อกดปุ่มนี้ จะเข้าสู่หน้าต่างแก้ไขค่าพามิเตอร์ของเอฟเฟ็กต์ทันที ในกรณีผู้ใช้งานอยู่หน้าต่างอื่นๆ หากต้องการแก้ไขเอฟเฟ็กต์ พอกดปุ่มนี้มันจะพลิกไปอีกหน้าทันที ซึ่งเป็น Layer ของ Buss FX เนื่องจากเอฟเฟ็กต์จะอยู่ในส่วนของเลเยอร์ Aux และ Bus มันจะไม่ได้อยู่ในส่วนของแชนแนล

Routing

หน้า Routing จะพบแชนแนลต่างๆ รวมถึง Aux และ FX1, FX2

การใช้งานเราท์ติ้งนั้น ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ ว่าจะเลือกอะไรในหน้า Routing เช่นค่า Pre/Post โดยหน้าที่หลักจะใช้โยนสัญญาณไปยังปลายทาง ผู้ใช้ต้องการโยนสัญญาณไปที่ไหนก็ให้เราท์ติ้งสัญญาณไปที่นั่น เช่นโยนแชนแนลใดๆ ไปออก Aux, FX

ยกตัวอย่าง สมมติผู้ใช้งานอยู่ที่แชนแนลใดๆ ซึ่งเราจะต้องเลือกว่าจะเราท์ติ้งเป็น Pre หรือ Post ของ Aux 5 เราสามารถจัดการแชนแนลที่ 1 ไปออก Aux 1 ได้ โดยการแตะที่ Aux 1 จากนั้นแตะ Enter ส่วน Aux นี้เรากำหนดได้ว่าจะเลือกเป็น Pre/Post แตะครั้งแรกเป็น Post

การใช้ Routing จำเป็นกรณี เมื่อนักดนตรีต้องการสัญญาณมอนิเตอร์บนเวที นักดนตรี นักร้องบางคนอาจจะต้องการเฉพาะเสียงเครื่องดนตรีบางชนิด หรือไม่ต้องการเสียงของตัวเองออกมอนิเตอร์ การใช้ฟังก์ชันนี้จะช่วยให้จัดการสัญญาณไปยัง Aux ได้สะดวกนั่นเอง

เงื่อนไขในการโยนสัญญาณนั้นจะทำได้ใน Aux, Bus และ FX เช่น ในบางกรณีเราต้องการให้ FX1 หรือ FX2 ไปออก Aux 1 ก็ทำได้ ถ้าพูดให้เข้าใจง่ายๆ คือการ Send สัญญาณเอฟเฟ็กต์ไปออก Aux ใดๆ ที่เราต้องการ เพราะบางครั้งปลายทางอาจต้องการเอฟเฟ็กต์ ผู้ใช้งานจะต้องป้อนให้เขา ขณะเดียวกันสามารถเลือกเป็น Post/Pre ทั้งคู่ หรือแยกอิสระก็ได้ แต่ส่วนใหญ่จะใช้ค่า Post

System ของ Topp Pro DM24.8

หน้า System ภายในประกอบด้วยคำสั่งย่อยๆ เช่น ปุ่ม Default setting

เมื่อผู้ใช้เข้าไปในฟังก์ชัน System ตัวระบบจะแสดงฟังก์ชันทั้งหมดที่อยู่บนมิกเซอร์ตัวนี้ โดยจะระบุให้เห็นว่า บนมิกเซอร์ประกอบด้วยฟังก์ชันอะไรบ้าง อาทิ Assign, Channel Strip, Gate/Comp, EQ, PEQ, FX1, FX2, Routing, System, DCA, Full Mix, Meter, Mixer, Blank Right/Left, Channel Select และชื่อของเอฟเฟ็กต์

ในส่วนพรีเซตเอฟเฟ็กต์ค่าที่มาจากโรงงานจะชื่อ Default นอกจากนี้จะพบปุ่ม Load, Save, Copy ใน Default Page / Full Mix สามารถตั้งค่า Default โรงงานได้ ปกติคำสั่งนี้จะใช้ล้างค่าต่างๆ ในเครื่องทั้งหมด เพื่อกลับไปสู่ค่าเดิมของโรงงาน

ในกรณีเราปรับแต่ง EQ, FX ต่างๆ ไว้แล้ว หากต้องการคืนค่าโรงงานให้เครื่อง ให้เข้าไปที่ System แล้วเลือก Default Setting จากนั้นแตะ Yes เพื่อยืนยัน ค่าทุกอย่างจะถูกล้างทันที

อย่างไรก็ดี ค่าที่ถูกล้างจะเป็นของวันนั้น หากมีการเซฟซีนไว้ในเครื่อง ซีนยังอยู่เหมือนเดิม ในการใช้งานต้องระวัง ถ้ายังไม่มีการเซฟซีน แนะนำว่าอย่าล้าง

ด้านล่างของจอ System จะพบ 2 ปุ่ม มี Password ใช้ตั้งรหัสผ่าน ซึ่งใช้ป้องกันการเข้าถึงฟังก์ชันตัวเครื่อง ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องจะไม่สามารถเข้าไปใช้งานหน้าจอได้ อย่างไรก็ดี หากลืมพาสเวิร์ดให้รีเซตเครื่อง ผู้ใช้สามารถรีเซตเองได้ ไม่ต้องยกเครื่องเข้าศูนย์

นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชัน Lock ใช้ล็อคปุ่มต่างๆ ไม่ให้ใครปรับแต่ง ยกเว้นค่าของ Gain อะนาล็อกเท่านั้น ในจอจะแสดงเฟิร์มแวร์เวอร์ชันล่าสุดที่ติดตั้งในเครื่อง ซึ่งจะแยกเป็น 2 ส่วนคือ MCU และ DSP (หากใช้แอปฯ บนแท็ปเล็ตด้วยโหมด Demo จะไม่เห็นบางฟังก์ชัน)

ด้านล่างยังมีปุ่มลัดเข้าถึงฟังก์ชันอื่นๆ เช่น RTA, EQ แต่ส่วนใหญ่เวลาใช้งานจริงไม่ค่อยได้เข้ามาหน้าต่างนี้บ่อยนัก หากจะมาที่ System มักจะเป็นกรณีทำการรีเซตฟังก์ชัน เช่น ยิ่งปรับยิ่งเละ หรือปรับแล้วงง ก็ให้มาล้างค่าต่างๆ ผ่านฟังก์ชัน System

รวมถึงใช้ตรวจสอบค่า Default ของ Topp Pro DM24.8 สมมติว่า เราไปเจอมิกซ์ตัวนี้ อยากรู้ว่าเขาทำอะไรไว้บ้าง เมื่อตรวจสอบแล้วจึงค่อยเล่นฟังก์ชันเหล่านั้นตามที่มิกซ์ตัวนั้นถูกเซตไว้

Copy

ปุ่ม Copy อยู่ด้านล่างปุ่ม FX Edit ฝั่งซ้ายมือของแผงควบคุม

ฟังก์ชัน Copy ไม่ได้เป็นฟังก์ชันของอินพุตหรือเอาต์พุต แต่ใช้สำหรับคัดลอกค่าพารามิเตอร์ต่างๆ จากต้นทางไปยังปลายทาง เช่น ก๊อปปี้ค่าพารามิเตอร์จากแชนแนล 1 ไปยังแชนแนลที่ผู้ใช้ต้องการ

กรณีเราปรับแต่งค่าต่างๆ ของแชนแนล 1 เสร็จเรียบร้อยแล้ว ในแชนแนล 2-6 ค่าพารามิเตอร์ต่างๆ เราต้องการเซตให้เหมือนกับแชนแนล 1 ทุกอย่าง ให้กด Copy แล้วสั่ง From To.. ไปยังแชนแนลปลายทาง คือแชนแนล 2-6 จากนั้นค่าต่างๆ ของแชนแนลที่ 1 จะเหมือนกับแชนแนล 2-6 ทุกประการ ยกเว้นค่า Gain อะนาล็อก

เมื่อกดปุ่ม Copy จะพบหน้านี้ ซึ่งแสดง Channel, FX, Aux, Main และด้านล่างจะมีออปชันต่างๆ ให้เลือก

อย่างไรก็ดี ในการ Copy ค่าพารามิเตอร์ต่างๆ เหล่านั้น ยังสามารถเลือกได้ว่าจะคัดลอกอะไรบ้าง เช่นค่า Polarity, Delay, Gate/Comp, EQ, Assign, Send, Gain Output (Volume)

ค่า Send ผู้ใช้เซตให้ส่งไป Aux 1, 2-6 ถ้าก๊อปปี้ค่า Send ที่ตั้งไว้ มันจะถูกโคลนนิ่งตามค่าแชนแนลต้นทาง ข้อดีคือช่วยให้ผู้ใช้ประหยัดเวลาในการตั้งค่าต่างๆ ของแชนแนลอื่นๆ ที่เราต้องการเซตค่าให้เหมือนแชนแนลต้นทางนั่นเอง

ข้อดีของฟังก์ชัน Copy ยังช่วยให้ไม่ต้องทำงานซ้ำซ้อน หรือโคลนนิ่งไปแล้ว ค่อยมาแก้ไขภายหลังได้ว่าพารามิเตอร์ของแชนแนลเหล่านั้น มีค่าใดบ้างที่จะไม่ใช้งาน ให้สังเกตว่าด้านล่างจะมีเครื่องหมายถูก ตรงนี้คือใช้กำหนดว่าจะก๊อปปี้ค่าพารามิเตอร์เหล่านั้นหรือไม่

Up-Left-Right-Down

ฝั่งขวามือของมิกเซอร์จะพบปุ่ม Up, Left, Right, Down จะมีผลกับบางฟังก์ชัน เช่นฟังก์ชัน Load/Save เพื่อใช้เลื่อนขึ้นลง หรือเลื่อนเคอร์เซอร์ แถบสีไปยังพรีเซตที่เราต้องการจัดการ เช่น ค่าที่ 1-8 หากกดปุ่ม Down มันจะโชว์ ค่าลำดับที่ 9-16

คำสั่งนี้จะมีผลกับเฉพาะหน้านั้นๆ และคำสั่ง Left, Right ไม่ได้มีไว้เพื่อเลื่อนเคอร์เซอร์ซ้าย-ขวาอย่างเดียว สามารถแปลงสภาพเป็นการเลื่อนขึ้น-ลง ได้ด้วย ถ้าหน้านั้นไปสุดค่าลำดับ 8 อาจจะสั่งไม่ไป แต่ถ้ากด Left มันจะเลื่อนขึ้น

บางกรณี Up/Down มันไม่สามารถสั่งให้เคอร์เซอร์ขึ้นหรือลงได้ อาจใช้เพื่อเลื่อนแชนแนลก็ได้ เช่นสั่งให้กระโดดไปหน้าที่แสดงแชนแนล 9-16 จากนั้นกดปุ่ม Left, Right เลือกแชนแนลที่เราต้องการโหลด

คำสั่ง Up/Down จะคล้ายๆ คำสั่งสลับ Layer คือสั่งให้แสดงชุดละ 8 แชนแนล จนถึงหน้าที่แสดงแชนแนลที่ 24 คือคำสั่งมันสามารถทำงานได้หลายสถานะ อย่างไรก็ดี ควรลองเล่นจะช่วยให้เข้าใจคำสั่งเหล่านี้ยิ่งขึ้น

Load/Save

ปุ่มคำสั่ง Load/Copy/Save จะพบได้ในหลายๆ แห่ง คำสั่งเหล่านี้จะมีผลเฉพาะกับฟังก์ชันของหน้าต่างนั้นๆ

ปุ่มนี้จะทำงาน 2 สถานะ คือ Load และ Save ภายหลังจากเปิดเครื่องแล้ว หากกดปุ่ม Load มันจะเด้งมาที่หน้า Load ทันที ซึ่งช่วยให้การโหลดซีน/เซฟซีนต่างๆ ได้เร็วขึ้น หากกดซ้ำอีกครั้งสถานะคำสั่งของปุ่มนี้จะกลายเป็น Save

หน้า Preset จัดเก็บประเภทพรีเซตต่างๆ หากเลือก Device จะเป็นการเก็บไว้ในหน่วยความจำมิกเซอร์ หากเลือก iPad จะเก็บพรีเซตไว้ในแท็บเล็ต ซึ่งจะเก็บพรีเซตได้จำนวนมากกว่า

ในหน้า Load/Save มันจะมีผลกับ DSP Channel, GEQ, DFX, Scene ซึ่ง DSP พรีเซตทั้งหมดจะจัดเก็บไว้บนหน่วยความจำของ Topp Pro DM24.8 ได้ทั้งหมด 104 Slot ส่วน GEQ จะทำได้ในส่วนของเอาต์พุต ประกอบด้วย Aux, Main จัดเก็บได้ทั้งสิ้น 48 Slot ส่วน DFX มี DFX1 และ 2 จัดเก็บได้ทั้งสิ้น 48 Slot ส่วน Scene จับเก็บได้ 24 Slot

Topp Pro DM24.8

บทความที่เกี่ยวข้อง :

มือใหม่หัดใช้ Topp Pro DM-24.8 ดิจิตอลมิกเซอร์ (EP.01)
Topp Pro DM-24.8 ดิจิตอลมิกเซอร์ – Review

สามารถสอบถาม ติดตามข่าวสาร และข้อมูลได้ที่ :

✅สนใจสั่งซื้อสินค้า ผ่านเว็ปไซต์ www.mynpe.com
✅ Line@ : http://bit.ly/LineMyNPEThailand
✅ Facebook : http://m.me/mynpethailand
✅ Twitter : twitter.com/mynpethailand
✅ Instagram : instagram.com/mynpethailand
✅ Youtube : www.youtube.com/user/mynpe

☎️ Tel : 02 225 0094 (Banmoh Branch)
Map : www.mynpe.com/mynpe-banmoh
☎️ Tel : 02 992 7379 (Zeer Rangsit Branch)
Map : www.mynpe.com/mynpe-zeer
☎️ Tel : 02 889 5498 (Salaya Branch)
Map : www.mynpe.com/mynpe-salaya

Read Previous

Eminence PSD2002-16 คอมเพรสชันไดรเวอร์

Read Next

NPE Clearance Sales 2020 มหกรรมเซลส์ส่งท้ายปี