Takstar PH130 เป็นไมค์ร้องเพลงร่วมกับแอปฯ คาราโอเกะ ใช้งานทั้งบนมือถือระบบ iOS, Android และคอมพิวเตอร์ PC
มีเอฟเฟ็กต์รีเวิร์บในตัว ต่อตรงกับหูฟังได้ พร้อมแบตเตอรี่ในตัว ใช้นานถึง 5 ชม.
PH130 ใช้ Live สด มาพร้อมเอฟเฟ็กต์คอมเพรสเซอร์และ EQ ทำงานอัตโนมัติ พร้อมแคปซุลรับเสียงขนาดเล็ก น้ำหนักเบา พกพาสะดวก
RT60
Takstar PH130 เป็นไมโครโฟนสำหรับสมาร์ทโฟน ซึ่งเป็นไมค์ที่ใช้กับโทรศัพท์มือถือที่มีระบบ iOS และ Android ออกแบบมาเพื่อใช้กับการร้องคาราโอเกะ หรือทำ Live Broadcast สัมภาษณ์ผู้คนเพื่อบันทึกเสียง งานพูดสดได้เอนกประสงค์ ไมค์ตัวนี้มีภาคขยายในตัว แต่ไม่ใช้ภาคขยายกำลังสูง คือสามารถเชื่อมต่อกับหูฟัง เมื่อพูดจะได้ยินเสียงของตนผ่านหูฟังทันที ทั้งยังมีเอฟเฟ็กต์รีเวิร์บในตัวอีกด้วย
เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน
ภาพรวม
Takstar เป็นสินค้าจากจีน มีโรงงานเป็นของตัวเอง บนพื้นที่กว่า 2 แสนตารางเมตร มีความเชี่ยวชาญด้านอะคูสติก รวมถึงเทคโนโลยีไร้สาย และยังรับ OEM/ODM สินค้าให้แบรนด์อื่นๆ ตามสเป็คอีกด้วย
ไมค์รุ่น PH130 ตัวแคปซูลเป็นแบบ Gold plate ไดอะแฟรม แพทเทิร์นรับเสียงเป็นแบบคาร์ดิออยด์ คล้ายกับไมค์ร้องระดับอาชีพที่มีอยู่ในท้องตลาด การตอบสนองความถี่ 20Hz-20kHz มี Sensitivity -38dB ถือว่ามีความไวในระดับหนึ่ง Peak SPL มากกว่า 120dB ถือว่าทนต่อเสียงที่ป้อนเข้าไปได้พอสมควร นำไปจ่อเครื่องดนตรีได้
โครงสร้างของไมค์ Takstar PH130
วงจรภายในมี DSP ประมวล ควบคุมการทำงานด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ มีระบบ EQ ดิจิตอล พร้อมโหมดเอฟเฟ็กต์รีเวิร์บให้เลือกหลายแบบ ขนาดเล็กเบาพกพาใส่กระเป๋าเดินทางสะดวกสบาย มีน้ำหนัก 137 กรัม
ตัวไมค์มีแบตเตอรี่ในตัวชนิดลิเทียม ความจุแบต 700mAh สามารถชาร์จด้วยไฟ USB 5V (มีสายให้) ใช้งานได้ต่อเนื่องกว่า 5 ชั่วโมง ถือว่าเป็นจุดแข็งของไมค์รุ่นนี้ เพราะสามารถพกพาไปใช้ที่ไหนก็ได้ ไม่ต้องกังวลกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อ เพียงแค่มีมือถือก็พอแล้ว
ในส่วนของกราฟทางเทคนิค พบว่าไม่ได้ตอบสนองในย่านความถี่ต่ำมากนัก แต่ย่านเสียงพูดนั้นตอบสนองได้ดีทีเดียว และให้โทนเสียงแหลมปนมา
ฟีเจอร์โดดเด่น
>> ใช้สำหรับร้องคาราโอเกะร่วมกับแอปฯมือถือ และทำ Live สดผ่านสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต ที่รันบนระบบ iOS หรือ Android
>> ภายในประกอบด้วยแคปซุลไดอะแฟรมแบบ Small Gold plate ตอบสนองเสียงได้กว้างและมีไดนามิกเร้นจ์ที่ดี ทนเสียงดังได้สูงโดยไม่ผิดเพี้ยน
>> ต่อหูฟังได้แบบรีลไทม์ ใช้เป็นระบบมอนิเตอร์ สัญญาณ Delay ต่ำ สามารถร้องให้ตรงกับจังหวะเพลง
>> มาพร้อมชิป DSP สามารถเลือกเอฟเฟ็กต์ได้ถึง 9 แบบ ใช้งานง่าย
>> มีฟังก์ชันคอมเพรสเซอร์ในตัว เมื่อเสียงร้องดังมากๆ จะบีบอัดสัญญาณเสียงให้อัตโนมัติ เพื่อป้องกันการเกิดเสียงแตก
>> สามารถบันทึกเสียงได้ทั้งแบบ Wet/Dry ตามที่ต้องการ จากฟังก์ชันบนไมค์ สำหรับงาน Post-Production
>> มีช่อง Accompaniment input ใช้สำหรับเชื่อมต่อกับแหล่งเสียงภายนอก เพื่อนำมาเป็นเสียงพื้นหลัง หรือซีนของดนตรีประกอบที่ต้องการใช้ในระหว่าง Live สด
>> มีแบตเตอรี่ลิเทียมในตัว ใช้งานสะดวก พร้อมช่องต่อชาร์จแบตเตอรี่ USB 5V
รูปลักษณ์ภายนอก
เมื่อเปิดกล่องอุปกรณ์จะพบตัวไมค์ PH130 หนึ่งตัว สายเคเบิล TRRS สำหรับเชื่อมต่อสัญญาณเสียงจำนวน 2 เส้น มีสาย Micro USB สำหรับชาร์จแบตเตอรี่อีก 1 เส้น มีฟองน้ำกันลม 1 ตัว และคู่มืออีก 1 เล่ม
ไมค์ PH130 มีรูปทรงกระบอกคล้ายบ้องข้าวหลาม หัว/ทายกลม ด้านบนใช้รับสัญญาณเสียง ด้านข้างของไมค์จะมีสวิตซ์ควบคุมการทำงานของไมค์หลายรายการ เริ่มจากล่างขึ้นบน ปุ่มแรกคือ Power button ใช้เปิดปิดการทำงานของไมค์ เมื่อกดค้างไว้ประมาณ 2 วินาที จะเป็นการเปิด/ปิดไมค์
ส่วนประกอบภายนอกของ PH130
ถัดขึ้นไปเป็นปุ่ม M (Effect) กดปุ่มเดิม 1 ครั้งเพื่อเปลี่ยนเอฟเฟ็กต์ไปเรื่อยๆ ซึ่งสามารถเปลี่ยนได้ 9 แบบ ในระหว่างการเปลี่ยนเอฟเฟ็กต์จะมีเสียงผู้หญิงพูดภาษาอังกฤษแจ้งเตือนว่า เอฟเฟ็กต์ที่กำลังจะใช้คืออะไร เช่น original sound, minor reverb, medium reverb, strong reveran voice และยังมีเอฟเฟ็กต์เปลี่ยนโทนเสียงชายให้เป็นหญิง และเปลี่ยนโทนเสียงผู้หญิงเป็นชายอีกด้วย
ถัดขึ้นไปเป็นปุ่มเพิ่ม/ลดระดับความดังของไมค์ สามารถปรับได้ถึง 8 ระดับ กด (+) เพิ่มทีละ 1 ระดับ หรือกด (-) ลดทีละ 1 ระดับ ระดับต่ำสุดคือ 1 ถัดขึ้นไปเป็น LED แสดงสถานะการทำงานของไมค์ว่าอยู่ในโหมด Wet listening & dry recording หรือไม่
ในที่นี้หมายถึง กรณีเป็น Wet ไฟจะไม่สว่าง แต่กรณีเป็น Dry ไฟจะสว่างเป็นสีน้ำเงิน สามารถเปลี่ยนสถานะไฟ LED นี้ผ่านการกดปุ่ม Power ค้างไว้ ซึ่ง Wet Sound หมายถึงขณะนั้นๆ เสียงมีการประมวลด้วยเอฟเฟ็กต์คอมเพรสเซอร์ รีเวิร์บ EQ และอื่นๆ และ Dry Sound เสียงไม่มีการประมวลผลด้วยเอฟเฟ็กต์ใดๆ
ถัดขึ้นไปบนจุดสูงสุดของแผงควบคุมที่ตัวไมค์ Power LED เป็นหลอดไฟบอกสถานะการทำงานของไมค์ขณะนั้นๆ ถ้าไมค์ทำงานจะเป็นสีเขียว ถ้าเป็นสีแดงหมายถึงแบตเตอรี่อ่อน หรือขณะชาร์จไฟ LED จะเป็นสีแดง หลังจากชาร์จแบตเต็มแล้วจะโชว์เป็นสีเขียว
หากพิจารณาตัวไมค์ พบว่าตำแหน่งท้ายตัวไมค์จะมีจุดเชื่อมต่อหลายช่องสัญญาณ สังเกตว่าด้านล่างจะมีช่องเสียบหูฟัง ช่องต่อสัญญาณดนตรีจากภายนอก และมีช่องรับสัญญาณเสียงจากโทรศัพท์มือถือ เพื่อใช้เป็นมอนิเตอร์ Live สดหรือร้องเพลงในขณะนั้นๆ และสุดท้ายมีช่องต่อกับสายชาร์จแบบ USB นอกจากนี้ยังสามารถใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์และแท็บเล็ตได้อีกด้วย
หากต้องการใช้งานที่หลากหลาย ผู้ใช้ควรติดตั้งซอฟต์แวร์ที่ใช้สตรีมสัญญาณภาพและเสียง รวมไปถึงซอฟต์แวร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเสียง บางครั้งเราทำ Live สด คุณภาพเสียงจากไมค์ของมือถืออาจจะไม่คมชัด หากเรานำ PH130 ไปเชื่อมต่อก็จะได้เสียงที่ดีกว่า ที่สำคัญไมค์ตัวนี้มีเอฟเฟ็กต์รีเวิร์บในตัว ไม่ต้องปรับแต่งผ่านซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ภายนอก
กราฟ Frequency response
ลักษณะการเชื่อมต่อ
PH130 สามารถเชื่อมต่อใช้งานได้ 4 แบบ ดังนี้
ร้องคาราโอเกะบนมือถือ
เริ่มจากเชื่อมต่อหูฟังเข้าไปที่ตัวไมค์ ด้วยแจ็คขนาด 1/8 นิ้ว ชนิด TRRS แล้วนำสัญญาณเสียงจากตัวไมค์ไปเข้าที่ช่องรับสัญญาณเสียงบนมือถือ แจ็คชนิดนี้จะมีสัญญาณแบบบาลานซ์ให้เสียงสเตริโอ พร้อมกันนี้ยังมีเสียงของไมค์เพิ่มเข้ามาอีกด้วย
การเชื่อมต่อไมค์เพื่อร้องคาราโอเกะบนมือถือ
สรุปคือสายสัญญาณชนิดนี้เป็นได้ทั้งไมค์และหูฟังในเส้นเดียวนั่นเอง กรณีไม่มีช่องสัญญาณแบบ Line 3.5mm ให้ใช้หัวแปลงอะแด็ปเตอร์ประเภท OTG จากนั้นเปิดแอปฯที่ใช้ร้องคาราโอเกะหรือซอฟต์แวร์คาราโอเกะ ในระหว่างการใช้งานแนะนำให้ปิดฟังก์ชัน Monitoring ของซอฟต์แวร์คาราโอเกะ (ถ้ามี) เพื่อป้องกันเสียง Delay ที่จะเกิดขึ้นในขณะร้องเพลง
ทำ Live broadcast
เป็นการทำ Live สดผ่านโซเชียลมีเดีย บางครั้งเราต้องการเสียงที่คมชัด แต่ไมค์บนตัวมือถือไม่ตอบสนองก็จำเป็นต้องใช้ PH130 วิธีนี้อาจใช้มือถือถึง 2 เครื่อง เครื่องแรกทำหน้าที่สตรีมมิ่งสัญญาณออกไปบนอินเตอร์เน็ต และอีกเครื่องทำหน้าที่ปล่อยสัญญาณเสียงพวกดนตรีเข้ามาเป็นแบ็กกราวน์ วิธีการเชื่อมต่อให้ต่อหูฟังเข้าที่ไมค์ จากนั้นต่อสัญญาณเสียงจากมือถือเครื่องแรกมาที่ไมค์ด้วยแจ็ค 3.5mm แบบ TRRS และต่อสัญญาณเสียงจากมือถือตัวที่สองมาเข้าที่ไมค์ผ่านช่อง Accompaniment
การเชื่อมต่อไมค์เพื่อ Live สด
คาราโอเกะบน PC
เป็นการใช้ไมค์ร่วมกับคอมพิวเตอร์ PC วิธีการคือให้ต่อหูฟังเข้าที่ตัวไมค์ ตามด้วยต่อช่องสัญญาณเอาต์พุตจากไมค์ไปเข้าที่ Line อินพุตของคอมพิวเตอร์ จากนั้นเปิดซอฟต์แวร์คาราโอเกะขึ้นมาเพื่อเริ่มร้องเพลง
การเชื่อมไมค์คาราโอเกะบนคอมพิวเตอร์ PC
คาราโอเกะในบ้าน
เป็นรูปแบบหนึ่งที่ใช้ไมค์ร่วมกับเครื่องเสียงบ้าน เช่น เครื่องเล่นสเตริโอ หรือลำโพง PA ที่มีช่อง Line Input ให้ต่อสัญญาณเอาต์พุตจากไมค์ไปเข้าระบบเสียงในบ้าน และต่อสัญญาณเสียงอีกฝั่งไปเข้ามือถือ สิ่งที่ต้องพึงระวังคือในระหว่างใช้งาน หากเปิดลำโพงเสียงดังแนะนำอย่านำไมค์ไปอยู่หน้าตู้ลำโพง มิเช่นนั้นจะเกิดการหวีดหอนซึ่งอาจสร้างความเสียหายแก่ระบบเสียงได้ และไม่แนะนำให้บันทึกเสียงระหว่างใช้งานร่วมกับการใช้แอปฯ คาราโอเกะ เพราะไมค์จะรับสัญญาณจากลำโพงวนกลับไปที่มือถือทำให้ได้เสียงเหลื่อมซ้อนกันได้
การเชื่อมต่อไมค์คาราโอเกะในบ้าน
การชาร์จแบตเตอรี่ใช้เวลา 1.5 ชม.
สรุป
หลายคนชื่นชอบร้องเพลงผ่านพวกแอปฯ คาราโอเกะ ไม่ว่าจะเป็น Sing Karaoke by smule, Yokee, The Voice: on stage, Red Karaoke, SingPlay รวมถึงซอฟต์แวร์คาราเกะอื่นๆ ที่รันบนคอมพิวเตอร์พีซี ปัญหาคือไมค์บนตัวมือถือและแท็บแล็ตไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อร้องเพลง
ฉะนั้นคุณภาพเสียงที่ได้จึงไม่ดีเท่าที่ควร Takstar จึงออกแบบไมค์รุ่น PH130 ออกมาเพื่อเป็นทางเลือกแก่ผู้ที่ต้องการคุณภาพเสียงที่ดีกว่า อีกทั้งไมค์รุ่นนี้ต่างจากไมค์ในท้องตลาดคือ ไม่จำเป็นต้องต่อกับมิกเซอร์ หรือไมค์ปรี สามารถใช้ได้เลย แค่มีหูฟังเสียบที่ตัวไมค์ และต่อสัญญาณไมค์ไปที่มือถือ พร้อมกันนี้ยังมีเอฟเฟ็กต์รีเวิร์บคุณภาพดีให้ใช้งานอีกด้วย เท่าที่เราได้ทดสอบมา ราคาระดับนี้ หากเทียบกับไมค์ในท้องตลาดถือว่าคุ้มมาก
บทความที่เกี่ยวข้อง :
Superlux E205U Series ไมค์คอนเด็นเซอร์ USB
สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
บริษัท นัฐพงษ์ เซลส์แอนด์เซอร์วิส จำกัด
สำนักงานใหญ่บ้านหม้อ โทร 0-2225-0094
สาขาเซียร์รังสิต โทร 0-2992-7379
สาขาศาลายา โทร 0-2889-5496
หากสนใจสั่งซื้อ Takstar PH130 สามารถแวะเยี่ยมชมได้ทางเว็ปไซต์ www.mynpe.com และผ่านทาง Fanpage ของบริษัทได้ที่ www.facebook.com/mynpethailand หรือจะเข้ามา Follow twitter, Instagram, Line@ ของบริษัทก็ได้เช่นกันที่ @myNPEThailand ตามช่องทางที่สะดวก