Takstar TAK Series ไมค์คอนเด็นเซอร์

takstar 950x628px

TAK Series ตอบสนองความถี่ 20Hz-20kHz เหมาะกับงานบันทึกเสียง บรอดคาสต์ งาน Post-Production และงานแสดงสด

RT60

Takstar ไมโครโฟนคุณภาพอีกตัวที่นำเข้าโดยบริษัทนัฐพงษ์ฯ ปัจจุบันเริ่มได้รับความสนใจจากผู้ใช้งานทั่วไป แบรนด์นี้ผลิตสินค้าหลายรายการ โดยเฉพาะไมโครโฟน ซึ่งมีให้เลือกใช้งานหลายประเภท ทั้งไมค์คอนเดนเซอร์ธรรมดา ไมค์สำหรับงาน Podcast ไมค์ร้องคาราโอเกะ ตลอดจนหูฟัง

Tak_Art_01

สำหรับบทความนี้เราจะมารีวิว Takstar TAK Series ซึ่งประกอบด้วยรุ่น TAK35, TAK45 และ TAK55 ทั้ง 3 รุ่นนี้เป็นไมโครโฟนที่ออกแบบมาเพื่อใช้กับงานบันทึกเสียง (Recording) จากรูปทรงที่ออกแบบมานั้น รวมถึงการนำไปใช้งานสามารถตอบโจทย์หรือรองรับงานบันทึกเสียงเกือบทุกแบบ เพราะทั้ง 3 รุ่นมีสเป็คที่ถือว่าครอบคลุมประเภทงานได้กว้างพอสมควร

Tak_Art_03

TAK35

เป็นไมค์ตัวหนึ่งที่ให้การตอบสนองย่านความถี่ค่อนข้างกว้าง มีไดนามิกเร้นจ์ที่ดี ให้คุณภาพเสียงเหมือนกับเสียงต้นทาง คือไม่เติมแต่งเสียงให้ผิดเพี้ยนไปจากเดิม อาจกล่าวได้ว่าให้คุณภาพเสียงเหมือนกับต้นฉบับหรือแหล่งสัญญาณเสียงมากที่สุด สามารถรับสัญญาณเสียงได้หลากหลายประเภท ไม่ได้จำกัดเพียงแค่งานพูดอย่างเดียว หรืองานบรอดคาสต์อย่างเดียว

ไมค์ตัวนี้จึงสามารถนำไปใช้กับเครื่องดนตรี เช่น การนำไปใช้จ่อกับเครื่องดนตรี อุปกรณ์ที่ให้ย่านเสียงต่ำๆ ไม่ว่าจะเป็นกลองกระเดื่อง รวมถึงพวกเปียโน TAK35 ยังออกแบบฟิลเตอร์ด้วยชิ้นส่วนด้วยวัสดุโลหะ ช่วยลดย่านเสียงต่ำ หรือช่วยลดการสั่นสะเทือนที่จะเข้าสู่ไมค์ ทำให้ได้เสียงค่อนข้างเคลียร์

TAK35 มีแคปซุลแบบคอนเด็นเซอร์ ขนาด 16 mm. มีแพทเทิร์นการรับเสียงแบบ Unidirectional หรือ Cardioid สามารถตอบสนองย่านความถี่ตั้งแต่ 30Hz-20kHz มีความไวในการรับเสียงที่ -36dB เสียงรบกวนที่ออกจากไมค์ก็ค่อนข้างต่ำ สามารถทนความดังได้สูงสุด 130dB SPL

ส่วนค่าเอาต์พุตอิมพีแดนซ์อยู่ที่ 110 Ohms เนื่องจากไมค์รุ่นนี้เป็นคอนเด็นเซอร์จึงต้องมีไฟเลี้ยงขนาด +48V รูปทรงจะคล้ายแท่งไอติม ตัวเล็ก ใช้งานง่าย

ในกล่อง TAK35 มีอะไรบ้าง

ภายในกล่องจะมี Shock Mount ให้ มีโลหะครอบพร้อมสกรีนสีดำ มีตัวล็อคเข้ากับตัวไมค์ให้เรียบร้อย สามารถใช้กับขาไมค์ในสตูดิโอได้ ตำแหน่งด้านหน้าไมค์ สังเกตฝั่งที่ใช้รับเสียงจะมีรูปสัญลักษณ์ Cardioid โลโก้คล้ายรูปหัวใจ ส่วนฝั่งที่มีโลโก้ยี่ห้อไมค์ถือเป็นด้านหลังของตัวไมค์

อย่างไรก็ดี ไมค์ตัวนี้ไม่สามารถสลับหรือเลือกแพทเทิร์นอื่นได้ เท่ากับว่ามีให้เพียงแพทเทิร์นเดียว เรียกว่าถูกออกแบบเจาะจงมาเพื่อการร้องเพลง หรืองานบันทึกเสียงพูดโดยตรง

ลักษณะการใช้งานนั้นจะใช้สายไมโครโฟนที่ขั้วต่อเป็นแบบ XLR Female ขาที่ใช้เชื่อมต่อเป็นมาตรฐานทั่วไป Pin1 = กราวน์ Pin2= สัญญาณ Hot และ Pin 3= สัญญาณ Cold สามารถต่อกับตัวมิกเซอร์ได้โดยตรง แต่มิกเซอร์ตัวนั้นจะต้องมี Phantom +48V หรืออาจเชื่อมต่อกับ Audio Interface โดยตรงก็ได้ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะมี +48V ให้ หรือต่อกับไมค์ปรีที่เป็นแร็คก็ได้ แล้วต่อสัญญาณ Line ไปยังอุปกรณ์ปลายทาง เช่น มิกเซอร์ หรือ Audio Interface ก็ได้

TAK35 สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย ทั้งงานร้องเพลง งานสตรีมมิ่งออนไลน์ รีวิวสินค้า ไลฟ์สดขายของ หรือนำไปจ่อเครื่องดนตรีต่างๆ กีตาร์อะคูสติก จ่อเป็นไมค์ Overhead หรืองานทั่วไป

กล่องของ TAK35 แพ็คเกจที่ให้มาจะเป็นกล่องกระดาษ ออกแบบล็อคจัดเก็บไมค์แข็งแรง รองรับการกระแทกระหว่างขนย้ายได้ดี ภายในกล่องมีอุปกรณ์พื้นฐานให้ครบ ทั้งตัวฟิลเตอร์ ฐาน Shock Mount คู่มือภาษาจีน-อังกฤษ และตัวไมค์ TAK35

Tak35_05

TAK45

เป็นไมค์อีกรุ่นมีสเป็คเหนือกว่า TAK35 แม้การทำงานในภาพรวมจะใกล้เคียงกัน แต่ยังมีความแตกต่างหลายส่วนเหมือนกัน ลองมาพิจารณาในส่วนแรกกันก่อน ตัว TAK45 จัดเป็นคอนเด็นเซอร์ไมค์ ใช้ไดอะแฟรมแบบ Gold Plate ขนาดใหญ่ หรือแบบ Large Diaphragm ขนาด 34mm.

คุณสมบัติของไดอะแฟรมแบบ Gold Plate จะรับเสียงได้ค่อนข้างดี รักษาเสียงต้นทางให้คงเดิม สามารถตอบสนองความถี่ได้กว้าง รองรับการใช้งานได้หลากหลายประเภท และยังให้ความทนทานสูงอีกด้วย ฉะนั้นจึงสามารถรับความดังของเสียงที่ปล่อยจากภายนอกได้ดี

Tak45_01

TAK45 นอกจากจะให้คุณภาพเสียงที่ดีแล้ว การกันเสียงรบกวนจากสภาพแวดล้อมยังทำได้ดี คือจะกันเสียงที่ไม่ต้องการออกไปให้เหลือน้อยลง จึงทำให้ได้เสียงที่อยู่ใกล้ๆ ไมค์มีความคมชัด

สำหรับไมค์คอนเด็นเซอร์ สิ่งที่ผู้ใช้ต้องพึงระวังคือการจัดเก็บรักษา เพราะคอนเด็นเซอร์ไมค์จะอ่อนไหวต่อแรงกระแทก เช่น หากไมค์หล่นลงพื้นมักจะเสียหายอย่างหนัก ฉะนั้น ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ

สำรวจภายในกล่อง TAK45

ตัวกล่อง TAK45 จัดเก็บไมค์นั้น ทำด้วยวัสดุอลูมิเนียมแข็งแรง ราคาจะสูงกว่า TAK35 สำหรับคุณสมบัติเฉพาะของไมค์รุ่นนี้ ขนาดแคปซุลแบบ Gold Pate จะเท่ากับ 34mm. แพทเทิร์นการรับเสียงเป็นแบบ Unidirectional ในรุ่นนี้จะเกือบเป็น Super Cardioid กล่าวคือมันสามารถรับสัญญาณด้านหลังได้เล็กน้อย คือให้รับสัญญาณข้างเคียงได้บ้าง เช่นรีเวิร์บของห้อง

TAK45 สามารถตอบสนองความถี่ได้ตั้งแต่ 20Hz-20kHz ซึ่งรับเสียงได้กว้างกว่าตัว TAK35 เล็กน้อย รวมถึงค่าความไวในการรับเสียงนั้นทำได้ดีกว่ารุ่น TAK35 คืออยู่ที่ -30dB (ติดลบน้อย ความไวสูง) ซึ่งต่างกันถึง 6dB

ฉะนั้น สามารถทนรับความดังจากภายนอกที่ 135dB SPL ส่วนเอาต์พุตอิมพีแดนซ์ 110 Ohms ในการเชื่อมต่อใช้งานทั้ง TAK35, TAK45 และ TAK55 มีแอปพลิเคชันการใช้งานเหมือนกัน และไม่มี Audio Interface ในตัว

หากต้องการบันทึกเสียง จำเป็นต้องมี Audio Interface ภายนอกมาเสริม  ไมค์ตัวนี้ต้องการแรงดันไฟ Phantom +48V เมื่อพิจารณากราฟการตอบสนองความถี่แล้ว พบว่าทั้ง 2 รุ่นนี้ตอบสนองความถี่สูงได้ดี ส่วนย่านความถี่อื่นๆ จะค่อนข้าง flat และอาจมีบางย่านที่เพิ่มขึ้นมาบ้าง เช่นย่าน 3kHz-4kHz และย่าน 16kHz ซึ่งเป็นย่านของปลายเสียงแหลม

ทำให้เวลาใช้งานจริงไม่จำเป็นต้องเพิ่ม EQ ย่านเสียงแหลมมากนัก เทียบกับไมค์บางตัวที่ไม่มีย่านนี้ ขณะใช้งานจำเป็นต้องบูสต์ย่านนี้ขึ้นไป ซึ่งการบูสต์เยอะๆ ก็ไปสร้างภาระให้ระบบได้โดยไม่จำเป็น เมื่อไมค์ตัวนี้ไม่จำเป็นต้องบูสต์ นั่นหมายถึงการทำงานก็ง่ายขึ้น ภาระที่จะเกิดกับระบบก็น้อยลง

TAK45 การติดตั้งใช้งานเหมาะกับงานในสตูดิโอ มีฟิลเตอร์เป็นโลหะ หากต้องการใช้งานจะต้องนำไปติดกับ Shock Mount ช่วยลดทอนความถี่ต่ำๆ ได้ดี สามารถใช้กับมิกเซอร์ที่มี Phantom Power +48V และ Audio Interface ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ได้ หรือจะต่อตรงเข้ากับซาวด์การ์ดคอมพิวเตอร์ก็ได้ แต่ต้องมี Phantom Box ที่จ่ายไฟเลี้ยง +48V ให้ตัวไมค์เสียก่อน เพื่อที่จะใช้งานร่วมกับซอฟต์แวร์บันทึกเสียงต่างๆ อาทิ Cubase, Logic หรือ Pro Tools

อุปกรณ์ที่ให้มาในกล่องนอกจากตัวไมค์แล้ว มี Shock Mount 1 ชิ้น มีฟิลเตอร์ให้ 1 ชิ้น ตัวกล่องเป็นอลูมิเนียม ภายในมีช่องเก็บไมค์ พร้อมฟองน้ำกันกระแทกแบบอ่อนและแข็ง พร้อมคู่มือภาษาอังกฤษ-จีน

Tak45_03

TAK55

เป็นคอนเด็นเซอร์ไมค์รุ่นใหญ่สุดของ Series นี้ โดยภาพรวมอาจจะคล้ายกันกับรุ่น TAK35 และ TAK45 แต่สิ่งที่แตกต่างคือ สามารถเลือกใช้แพทเทิร์นรับเสียงได้ มีแอปพลิเคชันการใช้งานได้กว้างขึ้น ไม่ว่าจะเป็นงานในสตูดิโอ งานบรอดคาสต์ บนเวทีคอนเสิร์ต VDO, Post-Production และงาน Live สด สามารถบันทึกเสียงเครื่องดนตรีได้ บันทึกเสียงร้อง เสียงพูดได้

องค์ประกอบพื้นฐานของไมค์รุ่นนี้เป็น Gold Plate แบบเดียวกับ TAK35 และ TAK45 แต่มี 2 Plate ขนาดไดอะแฟรม 34mm. การรับสัญญาณเสียงทำได้ดีกว่า สามารถปรับแพทเทิร์นรับเสียงได้ถึง 3 รูปแบบ คือ Uni-directional, Bi-directional หรือ figure of 8 และ Omni-directional หากพิจารณาการตอบสนองความถี่ทั้ง 3 แพทเทิร์น จะพบว่ามีการตอบสนองใกล้เคียงกันกับ 2 รุ่นที่กล่าวมา

Tak55_02

TAK55 สามารถตอบสนองความถี่ได้ตั้งแต่ 20Hz-20kHz ความไวแพทเทิร์น Uni-directional จะอยู่ที่ -39dB นอกจากนั้นยังสามารถลดความแรงของสัญญาณที่เข้ามาได้ถึง -10dB เพื่อป้องกันเสียงแตกพร่า หรือเสียงผิดเพี้ยน และยังสามารถลดทอนความถี่ต่ำ 150Hz ด้วย Slope -6dB/Octave สามารถทนความดังจากภายนอกได้ 130dB SPL มีอิมพีแดนซ์ 150 Ohms ใช้แรงดัน Phantom Power +48V

TAK55 มีความแตกต่างจาก TAK45 และ TAK35 โดยสิ่งที่ชัดเจนที่สุดคือสามารถเลือกแพทเทิร์นรับเสียงได้ ขณะ 2 รุ่นนั้นทำไม่ได้ ซึ่งทำให้การใช้งาน TAK55 ทำได้กว้างกว่า มีความเอนกประสงค์มากกว่า เช่น เลือกแพทเทิร์น Uni-directional ก็เหมาะกับงานร้อง งานพูด จ่อกับเครื่องดนตรีเพื่อบันทึกเสียง

กรณีเลือกแพทเทิร์นเป็น Bi-directional หรือ figure of 8 ซึ่งก็จะเหมาะกับการบันทึกเสียงคอรัสเป็นหมู่คณะ จ่อรับเสียงภาพรวมของวงจากตรงกลางสเตจ หากเลือกแพทเทิร์น Omni-directional ก็จะรับสัญญาณได้รอบทิศทาง เช่นไมค์ตัวเดียวรับเสียงพร้อมกันจากหลายๆ ทิศทาง เช่นโต๊ะประชุม ในห้องจัดรายการบรอดคาสต์ นั่งหรือยืนล้อมวง แล้วนำไมค์ดังกล่าวไปวางตรงกลาง

ส่วนฟังก์ชันลดทอนความถี่ที่ไม่ต้องการ โดยเฉพาะย่านความถี่ต่ำ ซึ่งมักจะเป็นปัญหาของไมค์ทุกตัว ที่มักจะมีเสียงต่ำที่ไม่ต้องการแทรกเข้ามา เช่นเสียงพูด เสียงร้อง ทำให้เสียงหลักไม่ชัด ปกติไมค์จะมาแบบ flat กรณีที่ผู้ใช้ต้องการคัตเสียงย่าน Low ออก เพราะเสียงที่เข้าไมค์อาจมีความถี่ต่ำเยอะ ก็ปรับที่ตัวไมค์ได้เลย ทำให้ลดทอนได้ตั้งแต่ต้นทาง ไม่ต้องไปคัตที่กลางทางหรือปลายทาง ซึ่งจะคัตความถี่ต่ำกว่า 150Hz ออกไป ที่ความชัน -6dB/Octave ในย่านสูงกว่า 150Hz เป็นต้นไปจะตอบสนองปกติ

นอกจากนี้ ยังสามารถปรับความไวของไมค์ได้อีกด้วย เช่น เสียงปกติใช้ 0dB เราสามารถลดลงไปที่ -10dB ได้ ส่วนการติดตั้งทั้ง 3 รุ่นเหมือนกัน โดยอาศัยตัว Shock Mount และฟิลเตอร์กรองเสียง (ถ้าต้องการ) แล้วขันเข้ากับขาตั้งไมค์ที่มีอยู่ แล้วเชื่อมต่อสัญญาณไปเข้ามิกเซอร์ที่มี Phantom Power +48V หรือ Audio Interface ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ หรือไมค์ปรีก็ได้ สิ่งที่ต้องระวังคือ อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อนั้นจะต้องมีไฟเลี้ยง +48V ไมค์จึงจะทำงาน ไม่เช่นนั้นไมค์จะทำงานไม่ได้

Tak55_06

สรุป

Takstar TAK Series ทั้ง 3 รุ่นเป็นไมค์คอนเด็นเซอร์ที่สามารถตอบโจทย์งานบันทึกเสียงได้แทบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นงานร้องเพลง งานพูด Podcast ไลฟ์สด บรอดคาสต์ ใช้จ่อเครื่องดนตรี และ ฯลฯ สำหรับ TAK35 และ TAK45 จะมีสเป็คใกล้เคียงกัน แต่ TAK55 จะมีลูกเล่นมากกว่านั่นคือการปรับแพทเทิร์นรับเสียงได้มากกว่า แน่นอนว่าทั้ง 3 รุ่นมีราคาที่แตกต่างกัน

หากท่านกำลังมองหาไมค์คอนเด็นเซอร์คุณภาพดี คุ้มค่ากับราคา Takstar TAK Series ถือเป็นตัวเลือกที่น่าลอง ส่วนจะเป็นรุ่นใดนั้นก็อยู่ที่งบประมาณของแต่ละท่าน ถ้าเอาความหลากหลายจ่ายทีเดียวแล้วจบ แนะนำ TAK55 แต่หากต้องการแค่พอใช้งาน TAK35 และ TAK45 ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกเช่นกัน

Tak_Art_02

บทความที่เกี่ยวข้อง :

รีวิว Takstar GX6 ไมโครโฟน USB
รีวิว Takstar PH130 ไมค์คาราโอเกะ

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
บริษัท นัฐพงษ์ เซลส์แอนด์เซอร์วิส จำกัด

สำนักงานใหญ่บ้านหม้อ โทร 0-2225-0094
สาขาเซียร์รังสิต โทร 0-2992-7379
สาขาศาลายา โทร 0-2889-5496

หากสนใจสั่งซื้อ Takstar TAK Series สามารถแวะเยี่ยมชมได้ทางเว็ปไซต์ www.mynpe.com และผ่านทาง Fanpage ของบริษัทได้ที่ www.facebook.com/mynpethailand หรือจะเข้ามา Follow twitter, Instagram, Line@ ของบริษัทก็ได้เช่นกันที่ @myNPEThailand ตามช่องทางที่สะดวก

Read Previous

Workshop | ห่างกันไกล ไม่เป็นปัญหา! ด้วยอุปกรณ์ Extender

Read Next

Topp Pro KS Series ลำโพงซับวูฟเฟอร์