Soundcraft Ui12 & Ui16 ดิจิตอลมิกเซอร์ (ตอนจบ)

Ui12-16-950-628px-end

Soundcraft Ui12 – ฟังก์ชันอื่นบน Ui ที่คิดขึ้นมาเพื่อช่วยการจัดบาลานซ์มอนิเตอร์หรือ Master เพื่อให้ใช้งานง่ายขึ้น นั่นคือฟังก์ชัน More Me

ทีมแอปพลิเคชัน มหาจักรฯ

บทความรีวิว Ui12 และ Ui16 มี 2 ตอน ใครพลาดตอนแรกอ่านย้อนหลังได้ที่นี่ Soundcraft Ui12 & Ui16 (ตอนที่ 1)

สำหรับ Effect บน Ui มีทั้งหมด 4 ตัวคือ Reverb, Delay, Chorus และ Room (Ui16) ในแต่ละเอฟเฟ็กต์ยังสามารถปรับแต่งค่าพารามิเตอร์เพิ่มเติมได้ ในส่วนของ Reverb นั้น ด้านล่างขวามือจะแท็บไว้ปรับค่าอื่นเพิ่มเติม เมื่อเราดับเบิลคลิกที่แท็บดังกล่าวจะมีพารามิเตอร์ต่างๆ โชว์ เช่นค่า Time, Low pass และค่าอื่นๆ ของเอฟเฟ็กต์ได้ทั้ง 4 ตัว

หน้า METERS แสดงระดับสัญญาณของแต่ละแชนแนล


ถัดจากนั้นเป็นปุ่ม Play เมื่อเราเสียบแฟลชไดร์ฟเข้าไปที่ตัวมิกเซอร์ หากระบบเจอไฟล์เพลงหรืออะไรก็ตามที่ระบบเล่นได้ มันก็จะขึ้นรายชื่อไฟล์เพื่อให้เรากดเล่น ซึ่งเราสามารถเช็ครายชื่อเพลงเหล่านั้นได้ ให้เลือกเพลงที่ต้องการ เมื่อกด Play เสียงจะไปออกช่อง Master ทันที

ส่วนภาค Recording ก็ไปที่ตำแหน่ง Record ส่วนการ Play จะเสียบที่ช่อง USB ด้านข้างก็ได้เช่นกัน ในส่วนของ Record จะมีปุ่มแดงๆ โผล่อยู่ด้านบน แค่กดปุ่มสีแดงนั้น ก็จะเริ่มบันทึกเสียงทันที

หน้า MIX/GAIN แสดงเฟดเดอร์ของแต่ละแชนแนล


ระบบจะอัดเสียงไปจนกว่าแฟลชไดร์จะเต็ม การอัดจะเก็บเป็นไฟล์ *.wav ยาวต่อเนื่องไปจนกว่าเราจะสั่งให้หยุดหรือแฟลชไดร์ฟเต็ม เมื่อกดปุ่ม Stop ระบบจะสร้างโฟลเดอร์ขึ้นมา ชื่อ Recording เราสามารถเรียกไฟล์ที่ถูกอัดไว้ แล้วนำมาเล่นภายหลังได้

การเซตค่า Network

ในหน้า Setting จะมีประมาณ 4-5 คำสั่ง ในหน้า Network นั้นถือว่าเป็นส่วนสำคัญ เพราะระบบไวร์เลสนั้นมีโอกาสหลุดได้ เนื่องจากมันวิ่งในอากาศ ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงที่จะหลุดการเชื่อมต่อได้ เช่นในกรณีที่สัญญาณวิ่งชนกันกับอุปกรณ์อื่นๆ

เรายังสามารถกำหนดเพื่อไม่ให้คนอื่นเข้ามาจัดการระบบของเราผ่านหน้าคำสั่งนี้เลย ซึ่งในหน้า Network จะมีด้วยกัน 3 โหมดคือ Hotspot คือการต่อตรง โหมด Wi-Fi โดยเกาะกับสัญญาณไวร์เลส อีกโหมดคือการใช้สาย LAN

หน้า EDIT สำหรับปรับแต่งแก้ไขสัญญาณแต่ละแชนแนล


เมื่อกดที่ปุ่ม Config จะพบช่องให้กรอก User/Password โดยค่า User และ Password จากโรงงานคือ admin เราสามารถเปลี่ยนพาสเวิร์ดภายหลังได้ ถามว่าจะเลือกใช้โหมดไหนก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์หน้างาน

กรณีนำ Ui ไปใช้ในห้างสรรพสินค้าหรือในพื้นที่ที่มีการใช้ Wi-Fi ค่อนข้างเยอะ แนะนำให้เช็คว่าในพื้นที่เหล่านั้นใช้ Wi-Fi แชนแนลไหนอยู่ ปกติแชนแนลของ Wi-Fi มีทั้งหมด 11-13 แชนแนล ในการใช้งานเบื้องต้น เมื่อเข้าไปที่ Hotspot ระบบจะใช้เราใส่ชื่อ SSID เป็นชื่อ Wi-Fi ที่จะแสดงก่อนเชื่อมต่อผ่าน iPad

Wireless Domain

ส่วน Wireless Domain มันจะหาเร้นจ์ให้เราเอง เลือกเป็น Thailand ในส่วน Channel จะมีทั้งหมด 13 แชนแนล หากต้องการเช็คว่าในบริเวณนั้นมีการใช้แชนแนลใดบ้าง เราอาจต้องมีซอฟต์แวร์เช็คสัญญาณแยกต่างหาก ซึ่งใน App Store, Google Play มีแอปฯประเภทนี้ขาย เช่น Wi-Fi Analyzer ทำให้เรารู้ว่าในพื้นที่นั้นๆ มีการใช้แชนแนลไหน ใช้จำนวนกี่คน

หน้า AUX-SENDS


เราอาจพบว่ามีการใช้งานแชนแนล 1-3 เยอะ เราอาจเลี่ยงไปใช้แชนแนลอื่น เช่นแชนแนล 8-13 ตรงนี้จะช่วยเลี่ยงการหลุดของสัญญาณได้ ด้านล่างสุดจะพบ Security เบื้องต้นจะถูกเซตเป็น none นั่นหมายความว่าใครๆ ก็สามารถเข้าไปเซตค่ามิกเซอร์ตัวนี้ได้ ซึ่งมันเป็นการบุกแบบง่ายๆ เพราะไม่ต้องใช้แอปฯ

ค่าความปลอดภัยต้องเป็น WPA2+

แค่มีเว็บเบราเซอร์ก็เข้ามาเล่นมิกเซอร์ของเราได้ ดังนั้นแนะนำให้เปลี่ยนเป็น WPA2+ ซึ่งเป็นการตั้งค่าความปลอดภัย เมื่อมีการเชื่อมต่อระบบจะให้ป้อนรหัสผ่านเสมอ ป้องกันไม่ให้มือมืดเข้ามาใช้งานโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจได้

ส่วน Wi-Fi จะทำหน้าที่เป็นเหมือนตัวกลางในการเชื่อมต่อระหว่างตัวควบคุมกับมิกเซอร์ ซึ่งต้องใส่ชื่อ Wi-Fi ของเรา และพิมพ์ชื่อให้ตรงกันกับชื่อ Wi-Fi เราท์เตอร์ รวมถึงพาสเวิร์ดที่ใช้กับ Wi-Fi ตัวนั้นด้วย

จากนั้นระบบจะเข้าไปจัดการเชื่อมต่อภายในของมันเอง เราจะใช้โหมด DHCP ก็ได้ ซึ่งเป็นวิธีสั่งให้ตัว Wi-Fi แจกไอพีแอดเดรสให้ Ui อัตโนมัติ หรือหากต้องการกำหนดเองให้เลือกเป็น Manual

หน้า FX-SENDS


โดยผู้เชี่ยวชาญจะแนะนำให้ใช้เป็น Manual สมมติ กรณีตั้งเป็น DHCP ครั้งแรกทำการเชื่อมต่อกับมิกเซอร์ ตัว Wi-Fi เราท์เตอร์จะแจกเลขไอพีแอดเดรสมาชุดนึง ซึ่งเราไม่มีทางรู้ว่ามันจะแจกเป็นเลขอะไร เพราะเป็นการสุ่มแจกแบบอัตโนมัติ เช่นเลข 99 ว่างก็แจก 99 มา ซึ่งหากจะใช้งานคราวหน้าก็จะลำบาก

ดังนั้นควรตั้งเป็น Manual จะดีกว่า เพราะสามารถกำหนดเลขคงที่ไว้เลย เช่นกำหนดเป็น 192.168.1.102 ทุกครั้งที่เชื่อมต่อกับมิกเซอร์ ใช้ตัวเลขนี้ป้อนผ่านเว็บเบราเซอร์ก็จะเห็นมิกเซอร์ทันที ในกรณีที่จำไม่ได้หรือลืมก็แล้วแต่ สามารถ Reset เครื่องได้ ซึ่งปุ่มนี้จะอยู่ด้านหลังเครื่อง โดยกดค้างไว้แล้วเปิดสวิตซ์ประมาณ 10 วินาที มันจะคืนค่าการตั้งค่าของการเชื่อมต่อของโรงงานทันที

หน้า MORE ME


โดยไอพีแอดเดรสของโรงงานคือ 10.10.1.1 โหมดสุดท้ายคือโหมด LAN วิธีการใช้งานให้นำสาย LAN มาเสียบที่ช่อง Ethernet ด้านหลังเครื่อง จะเสียบเข้าที่เครื่องหรือ Wi-Fi เน็ตเวิร์กก็ได้ ซึ่งวิธีการจะเหมือนกับการเซตระบบไอพีแอดเดรสของคอมพิวเตอร์ เราจะนำไปเชื่อมต่อกับสวิตซ์กี่ตัวก็ได้ เพราะมันวิ่งบน Ethernet นี่คือแนวทางการเซตอัพค่าของ Network

Ui รองรับการควบคุมหลายอุปกรณ์

การ Access ในกรณีที่เราใช้งานหลายๆ คน ปกติระบบสามารถรองรับการใช้งานได้ 10 เครื่องพร้อมกัน หากไม่กำหนดการเข้าถึง อาจมีการแย่งกันปรับมั่วได้ ดังนั้นก็ควรตั้ง Access Limit ไว้เป็น ON ซึ่งจะทำให้ iPad เครื่องนั้นปรับค่ามิกเซอร์ไม่ได้

หน้า MEDIA แสดงรายการแทร็กต่างๆ


รวมทั้งการเลือกรายการที่อยากให้เครื่องนั้นปรับแต่งได้ ฟังก์ชันไหนถูกไฮไลท์ไว้จะสามารถปรับได้ เช่น เขาสามารถปรับค่า Aux 1-3 รวมถึง Master หากยกเลิก Master ออกไป แม้ภายหลังจะพยายามปรับเฟดเดอร์ Master ก็จะทำไม่ได้ ดังนั้นจำเป็นต้องนำ iPad ของทุกๆ คนที่เกี่ยวข้องมาตั้งค่า Access Limit นี้ไว้

หน้า SETTINGS หัวใจของการเซตอัพระบบ


สำหรับการ Settings ค่าอื่นๆ นั้น เราสามารถกำหนดได้หลากหลายรูปแบบ เช่นปุ่มคีย์ลัด Cue list สามารถ Safeไว้ได้ ทำได้กระทั่งว่าแชนแนลไหนให้เป็น Channel Safe (isolate) โดยเข้าไปที่ SHOWS เป็นต้นว่าแชนแนลไหนไม่ต้องการให้ Recall ก็สามารถทำได้ หรือแชนแนลไหนที่ต้องการให้อยู่นิ่งๆ ไม่มีการกระโดดไปมาตามพรีเซตที่เราเลือก

ในส่วน Settings จะใช้กำหนดให้มิกเซอร์ทำอะไรได้บ้าง เช่นการ Solo ต้องการให้เป็น AFL/PFL ตอนบันทึกเสียงต้องการให้บันทึกความละเอียดเท่าไหร่ สามารถเลือกผ่าน Bit Rate เป็นค่า 16bit/24bit/32bit

หน้า Sub Group Master


ในหน้านี้สามารถปรับแต่งค่าได้ค่อนข้างหลากหลาย พวกปุ่มลัดต่างๆ ก็จัดการผ่านหน้านี้ ปกติเวลาเราเรียกซีนมาใช้งาน เราต้องไปหน้า Settings > SHOWS แล้วเลือกซีนที่ต้องการโหลดผ่าน SNAPSHOTS แต่เราสามารถเข้าถึงซีนด้วยวิธีอื่น คือการใช้คีย์ลัดที่อยู่ด้านข้างไอคอน UI ด้านบน ฝั่งขวามือ

ตัว Slide Out View ถือเป็นคีย์ลัดเล็กๆ น้อยๆ ที่ช่วยให้ใช้งานได้ง่าย หากกด Input มันก็จะโชว์เฉพาะแชนแนล Input หากกด FX Returns มันจะโชว์เฉพาะ Effect Returns หากกด Sub Group มันจะโชว์เฉพาะ sub group

หน้าเอฟเฟ็กต์กีตาร์ (แชนแนล 1)


ส่วน View Group เราสามารถเรียกดู Group ต่างๆ ของไมค์ได้ เช่น Group ของไมค์กลอง หรือการ Mute Group กดทีเดียวสามารถ Mute หลายๆ แชนแนลได้พร้อมกัน หรือ Tap Tempo เอาไว้ใช้กับเอฟเฟ็กต์ Delay หรือการ Mute All เป็นการ Mute ทุกๆ แชนแนล

ฟังก์ชันเด็ดของ Ui

สำหรับฟังก์ชันอื่นบน Ui ที่คิดขึ้นมาเพื่อช่วยการจัดบาลานซ์มอนิเตอร์หรือ Master เพื่อให้ใช้งานง่ายขึ้น นั่นคือฟังก์ชัน More Me ดูผิวเผินเหมือนจะใช้งานยากแต่จริงๆ ใช้งานง่ายมาก ในหน้านี้จะแบ่งออกเป็น 3 ช่อง ช่องกลาง (Tilt) ใช้งานโดยการใช้นิ้วไปเลื่อนปรับขึ้นลงเพื่อปรับบาลานซ์

หน้า PEQ (พาราเมทริก EQ)


ฝั่งซ้ายมือจะเป็น ME แปลตรงตัวคือฝั่งของฉัน ไอเดียคือใช้เพิ่มลดสิ่งที่เราต้องการ ฝั่งขวามือจะเป็น Band หมายถึงแชนแนลทั้งหมดที่เราไม่สนใจ ในการใช้งานเบื้องต้นต้องเข้าไปเซตก่อนว่า แชนแนลใดต้องการเซตให้เป็นฝั่ง ME

วิธีการคือให้ไปหน้ามิกซ์ปกติ แล้วกดแท็บด้านล่างของแชนแนลเหล่านั้นค้างไว้ เช่น แชนแนล Shure58 นอกจากจะ Assign เป็น ME ได้แล้ว ยังสามารถเซตเป็น Link Stereo ได้ด้วย หรือจะ Assign เข้าไปใน Sub Group หรือต้องการเปลี่ยนชื่อ

หน้า GEQ (กราฟิก EQ)


อย่างไรก็ดี หากต้องการให้แชนแนลเหล่านั้นไปอยู่ฝั่ง ME ให้กด Assign เป็น More ME จากนั้นด้านล่างของแชนแนลนั้นจะเปลี่ยนสีไปจากเดิม หรือหากต้องการแชนแนลอื่นๆ ไปอยู่ใน ME ก็ให้ Assign เพิ่มเข้าไป More ME นั้น สามารถกำหนดได้มากกว่า 1 แชนแนลนั่นเอง

จากนั้นให้เราเลือกแชนแนลที่เราต้องการปรับ เช่นชุดกลอง เราต่อมอนิเตอร์ไว้ที่ Aux 1 และมีการ Assign ไมค์กลองไว้ 2 ตัว คือการ Assign Aux 1 เข้าไป ผ่าน “My Out” จากนั้นแชนแนล Aux 1 ก็จะเปลี่ยนสีจากเดิม เมื่อกลับไปเช็คใน More ME จะเห็นแทบสีขึ้นในช่องซ้ายและขวา ทางซ้ายมืออาจจะเป็นเสียงจากไมค์ 2 ตัวที่เป็นของกลองชุด

หน้า AFS2 (Advanced Feedback Suppression) จาก dbx


โดยเป็น Master เมื่อเราปรับความดังเพิ่ม เมื่อสลับไปหน้า Mix จะพบว่าเฟดเดอร์ขา Send ของไมค์ทั้ง 2 ที่จะส่งไป Aux 1 จะถูกดันขึ้นไปโดยปริยาย ตรงกันข้ามกรณีลด More ME ลง ระดับเฟดเดอร์ของ Aux Send ก็จะลดลงไปด้วย ทำให้ใช้งานคล่องตัวมากขึ้น ไม่จำเป็นต้องเข้าหน้า Aux Send เพื่อไปขยับเฟดเดอร์ทีละก้าน จะเห็นว่า More ME นั้นช่วยให้เราจัดการมอนิเตอร์ได้สะดวกขึ้น

ส่วนแชนแนลอื่นๆ จะถูกกำหนด Band หมายความว่าสัญญาณอื่นๆ ที่อยู่ในมอนิเตอร์ Aux 1 เมื่อดัน Band ในหน้า More คือไมค์ที่เหลือทั้งหมดจะถูกดันเฟดเดอร์เป็นสเกลมากน้อยตามสัดส่วนจากตำแหน่งเริ่มต้น

หน้า Dynamic (DYN)


กล่าวคือระบบมันจะดึงสัดส่วนบาลานซ์เพิ่มขึ้นทั้งแผง กรณีต้องการฟังเฉพาะไมค์ 2 ตัวที่จับกลองอาจจะเป็นเฉพาะสแนร์หรือกระเดื่องผ่านลำโพงมอนิเตอร์ ก็ลด Band ลง ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาไล่ดึงเฟดเดอร์ไมค์กลองทีละก้าน หรืออีกกรณีต้องการลด Band และ ME ลงพร้อมกันก็ทำได้ โดยการดัน Tilt bar ที่อยู่ตรงกัน มันจะปรับบาลานซ์ให้โดยปริยาย

การดัน Tilt bar ขึ้นจะทำให้ฝั่ง ME ดังขึ้นส่วน Band จะถูกดันให้เบาลง ตรงกันข้ามหากลด Tilt bar ลงจะทำให้ฝั่ง ME ลด ส่วนฝั่ง Band จะเพิ่มขึ้น มันจะทำงานราวกับว่าเป็น Group ที่อยู่บน Aux ของ Aux Send ยังไงยังงั้นเลย นี่คือลูกเล่นและการใช้งาน Ui มิกเซอร์เบื้องต้น ที่คิดว่าคงเป็นประโยชน์กับผู้อ่านทุกๆ ท่าน

ui-control_original

บทความที่เกี่ยวข้อง :
Soundcraft Ui12 & Ui16 (ตอนที่ 1)
Soundcraft Ui24R มิกเซอร์ดิจิตอล

สนใจสินค้าสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่:
บริษัท มหาจักรดีเวลอปเมนท์ จำกัด
โทร. 02-2560020
Website: www.mahajak.com
Youtube : Mahajak Channel
Line : @MahajakPro

Read Previous

Workshop | การต่อ Soundcraft Ui24R พ่วง 2 เครื่อง (ตอนที่ 2)

Read Next

“Mahajak Plus 2020” เลือกของแท้จากมหาจักรฯ รับสิทธิพิเศษมากมาย