Shure GLX-D® Advanced : ไมค์ลอยย่าน 2.4 GHz

shure glxd

“เป็นไมค์ลอยย่านความถี่ 2.4GHz รับส่งสัญญาณแบบดิจิตอล เหนือชั้นด้วยระบบจัดการความถี่”

สำหรับไมโครโฟน Shure GLX-D เป็นไมค์ลอยประกอบด้วยเครื่องรับที่ออกแบบเป็นแชนเนลใช้งานได้เลย หัวไมค์รองรับ SM58, BETA 58 และ BETA 87 ในรุ่นนี้จะถอดเปลี่ยนหัวไมค์ไม่ได้ ฉะนั้นก่อนสั่งซื้อต้องระบุชื่อรุ่นที่ต้องการ และระบบรองรับเครื่องส่งแบบบอดี้แพ็ค ใช้กับไมค์หลากหลายประเภททั้งเหน็บปก คาดศีรษะ ทาบแก้ม หรือกระทั่งกีตาร์และเบสไร้สาย มีสายแจ็คแถมให้

ภาพรวมไมค์ลอย Shure GLX-D

Shure GLX-D Advanced ใช้แบตเตอรี่แบบ Lithium-ion SB902 โดยไมค์ลอยรุ่นใหม่จะเปลี่ยนแบตเตอรี่เป็นแบบลิเทียม หากถอดปลอกไมค์ (ด้าม) ออกมาจะเห็นแบตเตอรี่ ซึ่งสามารถถอดแบตเตอรี่นี้ชาร์จที่หน้าเครื่องทิ้งไว้เลย หรือส่วนด้ามจับสามารถชาร์จผ่าน USB และตัวบอดี้แพ็คก็เช่นกัน ซึ่งไมค์ชุดนี้จะแถมสาย USB ให้ด้วย

glxd-six-ch

ใครที่เป็นศิลปินเดินสายบ่อยๆ ก็จะเหมาะมาก แม้แต่เพาเวอร์แบ็งค์ก็ชาร์จได้ อุปกรณ์ที่มาพร้อมกับไมค์ชุดนี้ หนึ่งในนั้นมีอุปกรณ์สมองกลทำหน้าที่จัดสรรความถี่เครื่อง นั่นคือ UA846Z2 Frequency Manager

ในส่วนของใบพัด PA805Z2-RSMA มาช่วยเสริมความแข็งแกร่งของสัญญาณมากขึ้น ใบพัดไม่ได้ช่วยระยะไกลขึ้นแต่มาช่วยเรื่อง Gain ของสัญญาณ เพื่อให้การรับส่งมีความแม่นยำมากขึ้น และยังมีตัว Splitter UA221 สามารถแยกสายอากาศออกไปได้

pa805
PA805Z2-RSMA – เสาอากาศลักษณะคล้ายใบพัด และสายเคเบิล RSMA


Shure GLX-D รุ่นเก่า จะใช้ในร้านคาราโอเกะกับอีเว้นต์เล็กๆ เท่านั้น ขณะรุ่นใหม่เมื่อมีการเสริมแพ็คเกจต่างๆ เข้ามา จึงทำให้สามารถนำไปใช้งานในมหาวิทยาลัย ร้านอาหาร อีเว้นต์กลางๆ งานติดตั้งภายในอาคาร ที่มีความยาวความกว้างไม่เกิน 30-40 เมตร ซึ่งพอมีแพ็คเกจกรุ๊ปมันสามารถใช้งานได้มากขึ้น

ua221
UA221-RSMA เป็นอุปกรณ์รวมเสาแบบ Passive Combiner

จุดเด่นของ Shure GLX-D

1. มีลักษณะรับส่งสัญญาณในแบบดิจิตอล ถ่ายทอดเสียงได้อย่างชัดเจน พร้อมทางเลือกใช้งานไมโครโฟนแบบ Handheld, headworn และ lavalier รวมถึงทางเลือกสำหรับใช้งานร่วมกับเครื่องดนตรีในแบบไร้สาย

2. ใช้แบตเตอรี่ชนิด Lithium-ion ชาร์จแบตฯได้ มีความแม่นยำ และรองรับการใช้งานต่อเนื่องถึง 16 ชั่วโมง ช่วยประหยัดแบตเตอรี่แบบ Alkaline ต่อปีมากกว่า 2,500 ก้อน

3. มีระบบจัดการความถี่แบบใหม่สามารถกระจายสายอากาศ และจัดการความถี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อติดตั้งอุปกรณ์ในตู้แร็ค และตัว GLX-D รองรับการใช้งานได้ 9 ชุด ภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีความถี่หนาแน่น และ 11 ชุดในสภาพแวดล้อมปกติ

4. มีระบบจัดการความถี่ ซึ่งเป็นทั้งตัวกระจายสัญญาณ และคอยจัดสรรค์ความถี่ที่ดีที่สุดให้กับเครื่องรับ รวมถึงการตรวจสอบสัญญาณรบกวนโดยรอบ เพื่อให้เครื่องรับทำงานได้อย่างต่อเนื่อง

5. ภายในชุดแถม Rack Mount และเสาอากาศ เพื่อรองรับการเชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์หลายๆ ชุดได้สะดวก ซึ่งออกแบบให้ติดตั้งง่าย

6. อุปกรณ์เสริมประสิทธิภาพ ประกอบด้วย ระบบจัดการความถี่ เสาอากาศชนิด Directional อุปกรณ์กระจายสายอากาศ เพื่อเสริมประสิทธิภาพการใช้งานได้ในทุกสภาพแวดล้อมที่มีความหลากหลาย

glxd set

สำรวจเครื่อง Shure GLX-D

ไมค์ลอยรุ่นนี้ใช้งานย่านความถี่ 2.4GHz ไม่ใช่ย่าน VHF หรือ UHF ซึ่งย่าน 2.4GHz นั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย หากพิจารณาถึงข้อดีความถี่ย่านนี้สามารถใช้ไมค์ในบริเวณเดียวกันได้มากขึ้น ไมค์จะไม่ไปรบกวนระบบอื่น แต่สิ่งที่ต้องระวังคือเรื่องของเราท์เตอร์และแอคเซสพ้อยต์ รวมถึงเรื่องของระยะการใช้งาน

สำหรับระยะการใช้งานที่หวังผลได้ หลายคนสังสัยเช่นกัน จะอยู่ที่ประมาณ 30-40 เมตร มีการทดสอบใช้งานจริง ไมค์รุ่นนี้ใช้งานได้ดีในระยะ 30 เมตร

หน้าเครื่องชาร์จแบตเตอรี่ได้ มีระบบโชว์พลังงานแบตเตอรี่เป็นรายชั่วโมง/นาที ฉะนั้น ทำให้ผู้ใช้เช็คพลังแบตเตอรี่ได้แม่นยำมากขึ้น ด้านหลังเครื่องมีเอาต์พุต 2 แบบ คือ XLR และแจ็คโฟน สามารถปรับเลือกเป็น Mic/Line ได้ และยังมีพอร์ตสำหรับอัพเดทเฟิร์มแวร์ตัวใหม่ๆ ที่ทาง Shure ปล่อยออกมา ด้านหลังยังมีช่องสำหรับเสียบเสาอากาศทั้ง A และ B

glxd-front

สิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยง

เราทราบกันดีว่าคลื่น 2.4GHz มีข้อจำกัดบางอย่าง เวลานำไปใช้งานอย่าให้มีสิ่งกีดขวางทางกายภาพในเส้นทางของการรับส่งสัญญาณไร้สาย เพราะคลื่น 2.4GHz มีความอ่อนไหวต่อสิ่งกีดขวาง โดยสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

  • สิ่งกีดขวางทางกายภาพต่ำ เช่น ไม้ แก้ว และวัสดุสังเคราะห์จำนวนมาก สิ่งกีดขวางกลุ่มนี้คลื่น 2.4GHz ยังพอจะทะลุได้
  • สิ่งกีดขวางทางกายภาพปานกลาง เช่น น้ำ อิฐ หินอ่อน และกลุ่มคนจำนวนมาก สิ่งกีดขวางนี้จะเริ่มมาลดทอนคลื่น 2.4GHz เล็กน้อย
  • สิ่งกีดขวางทางกายภาพสูง เช่น ปูน คอนกรีต และกระจกกันกระสุน
  • สิ่งกีดขวางทางกายภาพสูงมาก เช่น โลหะต่างๆ
glxd-real-back

คลื่น 2.4GHz จะมีปัญหากับสิ่งกีดขวางพวกปูน คอนกรีต กระจกหนาๆ และโลหะอย่างยิ่ง เช่น หากติดตั้งเราท์เตอร์ไว้บนบ้าน แล้วใช้งานอยู่ข้างล่าง สังเกตว่าความแรงของสัญญาณจะเหลือ 1-2 ขีดโดยประมาณ

สำหรับความถี่ 2.4GHz พวกเหล็กจะมีผลในการลดทอนความแรงของสัญญาณประมาณ -63dB คอนกรีตก็จะลดลงประมาณ -53dB รองลงมาคือพวกอิฐ พวกท่อนไม้ก็จะลดทอนประมาณ -13dB ส่วนกระจกมีผลต่อสัญญาณได้มากพอสมควร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความหนาของกระจก ส่วนผนังไม้อัดคลื่น 2.4GHz สามารถทะลุได้ดี สรุปว่าสิ่งที่สำคัญมากที่สุดคือโลหะ หรือพวกเหล็กนั่นเอง

การติดตั้ง Shure GLX-D

ในการติดตั้งไมค์ลอย Shure GLX-D รุ่นนี้ แบ่งเป็น 2 ส่วน อย่างแรกคือลักษณะการต่อแบบไม่พ่วงกับอะไรเลย และลักษณะที่ต่อกับอุปกรณ์ Frequency manager ในการต่อแบบเครื่องเดี่ยวๆ นั้น การใช้งานไมค์ลอย 2.4GHz มีเรื่องที่ต้องระวัง

เนื่องจากปัจจุบันมีการใช้ความถี่นี้ค่อนข้างเยอะ ไม่ว่าจะเป็นแอคเซสพ้อยต์ Wi-Fi ในการเซตอัพทำอย่างไรก็ดี ให้เครื่องรับไมค์ลอยห่างจากเราท์เตอร์ Wi-Fi ไม่น้อยกว่า 3 เมตร แต่บางกรณีอาจจะน้อยกว่า 3 เมตรได้ เช่น กรณีใช้ไมค์ลอยไม่กี่ตัว แบบนี้ไม่น่ากังวลเท่าไหร่

ua846
UA846-Z2 – เป็นอุปกรณ์ Frequency Management กระจายแรงดันไฟ DC พร้อมช่องกระจายเสาอากาศให้กับเครื่องรับสูงสุด 6 เครื่อง และช่องเสียบเสาอากาศภายนอกอีกด้วย


สิ่งที่ต้องระวังอีกอย่างคือในบริเวณโดยรอบที่มีแอคเซสพ้อยต์จำนวนมากๆ การแก้ปัญหาคือให้ใช้ซอฟต์แวร์ analysis มาสแกนเพื่อเช็คคลื่น Wi-Fi เสียก่อนว่ามีการใช้ Wi-Fi เราท์เตอร์อะไรอยู่บ้าง สิ่งที่ต้องกังวลคือความแรงของสัญญาณในบริเวณนั้น หากความแรงวัดได้ประมาณ -40dB, -50dB ถือว่ามีโอกาสจะรบกวนระบบไมค์ลอยค่อนข้างมาก

สิ่งที่ต้องระวังอีกอย่างคือเครื่องรับไม่ควรวางบนพื้น เพราะคนเดินไปเดินมา มีโอกาสสูงที่จะทำให้สัญญาณหลุด เพราะในตัวคนเราประกอบไปด้วยน้ำ เมื่อคนเรามารวมตัวกันมากๆ ก็มีโอกาสจะลดทอนสัญญาณ 2.4GHz ได้มากเช่นกัน ดังนั้นการติดตั้งเครื่องรับไมค์ลอย จะต้องติดตั้งให้สูงไว้ก่อน หรืออีกกรณีคือการติดตั้งแบบใช้ใบพัดก็สามารถช่วยได้

ความถี่ของ Shure GLX-D

กรณีเป็นเครื่องเดี่ยวๆ ไมค์ลอย Shure GLX-D Advanced จะมีความถี่มาให้ 4 ชุด หรือ 4 กรุ๊ป (Group) แบ่งเป็นกรุ๊ป 1-2-3-4 และระบบจะมีความถี่สำรองที่ระบบหาไว้ให้ กล่าวคือใน 1 กรุ๊ปจะมีความถี่สำรอง 3 ความถี่ กรณีมีการใช้งาน กรุ๊ป 1 จำนวน 3 ความถี่

หากมีโดนเบียดจะมีการ Hopping ไปความถี่ที่ 2 หลังจากโดนเบียดอีกจะ Hopping ไปกรุ๊ป 3 หากโดนเบียดอีกมันจะกระโดดไปที่ความถี่สำรองทันที ข้อดีคือมันจะช่วยให้ระบบบริหารจัดการความถี่ในจุดที่มีความหนาแน่นของคลื่น 2.4GHz ได้ดียิ่งขึ้น สิ่งที่ได้รับคือระบบจะหลุดยากขึ้น

hopping
Frequency Hopping – เมื่อความถี่โดนเบียดระบบจะกระโดดไปยังความถี่สำรอง ช่วยให้สัญญาณหลุดยากขึ้น


ในกรุ๊ป 2 จะมีแชนเนลให้เลือกมากขึ้น เป็น 5 แชนเนล สำรองความถี่ไว้ 3 ความถี่ ส่วนกรุ๊ป 3 จะไม่มีการสำรองความถี่ เหมาะกับการใช้ไมค์ลอยในบริเวณงานพร้อมกันหลายๆ ตัว เช่นใช้ 8 ตัวพร้อมกัน ก็จะมี Hopping แค่ 2-3 ส่วนกรุ๊ป 4 เป็นอีกหนึ่งทางเลือก

ในกรณีผู้ใช้ต้องการความแข็งแกร่งของสัญญาณสูงๆ รวมถึงสามารถหนีการเบียดได้เยอะๆ ให้เลือกเป็นกรุ๊ป 4 เพราะกรุ๊ปนี้สำรองความถี่ให้มากถึง 27 ความถี่ ดังนั้น เมื่อโดนเบียดมันจะวิ่งไปได้ถึง 27 ความถี่ แต่ข้อจำกัดคือใช้ได้เพียงเครื่องเดียว ส่วนกรุ๊ป 3 ใช้ได้ 8 ความถี่ แต่ความเสี่ยงที่จะโดนเบียดและหนีได้น้อยกว่า แต่สามารถใช้จำนวนเครื่องได้เยอะ

ระบบการซิงค์ไมค์ลอย Shure GLX-D รุ่นนี้จะไม่ใช้อินฟราเรด แต่จะใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า Link Frequency เมื่อเป็นความถี่ 2.4GHz แบนด์วิธจะมีให้ใช้งานเยอะ ฉะนั้นมันจะส่งคำสั่งถึงกันได้ ในขั้นตอนการ Link บนเครื่องรับจะมีปุ่ม Link อยู่ ให้กด Link ที่เครื่องรับ ตามด้วยกด Link ที่ตัวไมค์ มันจะทำการซิงค์กันทันที

glxd-table
ตารางความถี่ 2.4GHz – GLX-D Advance รองรับการใช้งานมากถึง 8 ชุด หากต่อร่วมกับ Frequency Manager รองรับการใช้งานได้ 9 และมากสุด 11 ชุด


ข้อดีอีกอย่าง หลังจากเปลี่ยนความถี่ ไม่จำเป็นต้องลิงค์เพิ่ม ระบบจะส่งคำสั่งหากันภายใน ไมค์ลอย GLX-D รองรับการใช้งานได้พร้อมกัน 8 ชุด หากต่อร่วมกับ Frequency Manager รองรับการใช้งานได้ 9 และมากสุด 11 ชุด ตามจำนวนของกรุ๊ปเลย

สรุป

Shure GLX-D Advanced เป็นไมค์ลอยรุ่นใหม่ ที่ออกแบบระบบรับส่งสัญญาณในแบบดิจิตอล ใช้งานบนคลื่นความถี่ 2.4GHz มาพร้อมกับแบตเตอรี่แบบ Lithium-ion ชาร์จแบตฯได้ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อถ่าน Alkaline ได้จำนวนมาก รวมถึงมีระบบจัดการความถี่แบบใหม่ สามารถใช้งานได้พร้อมกันหลายชุด มีระบบจัดการความถี่ที่ดี สามารถหนีความถี่ที่ถูกเบียดไปยังกรุ๊ปอื่น รวมถึงมีความถี่สำรองให้ใช้งานอีกด้วย สามารถใช้งานได้ดีในระยะไม่เกิน 30 เมตร รองรับงานอีเว้นต์ขนาดกลาง ร้านอาหาร งานประกาศ และอีกมากมาย

glxd-end


บทความที่เกี่ยวข้อง : Review | ไมโครโฟน Shure QLX-D & ULX-D

สนใจสินค้าสามารถสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าได้ที่:
บริษัท มหาจักรดีเวลอปเมนท์ จำกัด
โทร. 02-2560020
Website: www.mahajak.com
Youtube : Mahajak Channel
Line : @MahajakPro

Read Previous

Ui24R : เวิร์กช็อปการต่อพ่วงมิกเซอร์ 2 เครื่อง (01)

Read Next

SOHO V8 Plus + S15 ลำโพงคอลัมน์จาก Topp Pro