Shure Enhanced Digital Network Solution | รายงานพิเศษ

cover shure n network

Shure Enhanced Digital Network Solution เป็นงานที่จัดเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2562 โดยบริษัท มหาจักรดีเวลอปเมนท์ จำกัด ณ สำนักงานใหญ่

งานนี้เป็นกิจกรรมสัมมนาอัพเดทสินค้าเกี่ยวกับไมโครโฟน Shure รุ่น QLX-D, ULX-D (New in VHF band), Shure Twinplex รวมถึงการเวิร์คช็อป Shure MXA910 & Shure IMX Voice Lift ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดของ Shure สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นอย่างยิ่ง

ครั้งนี้มีตัวแทนจำหน่ายเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก ภายใต้บรรยากาศที่เป็นกันเอง โดยมีวิทยากรรับเชิญจาก Shure (สิงคโปร์) คุณเจมี่ คัวร์และทีมแอปพลิเคชัน เอ็นจิเนียร์ ของมหาจักรฯ เป็นผู้บรรยาย

02 small

“ย่าน VHF มีความสามารถในการข้ามสิ่งกีดขวางมากเป็นพิเศษ คลื่นมันสามารถทะลุผนังไม้ ผนังกระจก ได้ดีกว่าย่าน UHF อย่างมาก”

สำหรับบทความชิ้นนี้ จะพาผู้อ่านทุกท่านมาทำความรู้จัก Shure Wireless Digital ซึ่งเนื้อหาทั้งหมดจะอธิบายเกี่ยวกับย่านความถี่ VHF โดยมีหลายหัวข้อที่น่าสนใจ เราลองทำความเข้าใจเรื่องราวเกี่ยวกับคลื่นวิทยุ VHF, UHF ว่าคืออะไร บางท่านอาจจะรู้อยู่แล้ว บางท่านอาจจะเคยได้ยินมาบ้าง ทางมหาจักรฯ ได้นำเข้าอุปกรณ์รุ่นล่าสุดคือไมโครโฟนไร้สายที่รองรับย่าน VHF

โดย Shure ได้พัฒนาไมโครโฟนย่าน VHF ขึ้นมา คำถามแรก เมื่อนำไมโครโฟนรุ่นนี้มาใช้งานแล้ว จะมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง และในหัวข้อสุดท้าย เราจะอธิบายเกี่ยวกับอุปกรณ์แอคเซสซอรี่ของ Shure ที่สามารถนำมาใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ไมโครโฟนไร้สายย่าน VHF

ความถี่วิทยุ

เราได้ยินชื่อความถี่ UHF, VHF มานานแล้ว VHF คือ Very-High Frequency ส่วน UHF คือ Ultra-High Frequency แปลว่าอะไร อย่างแรกที่สองความถี่นี้แตกต่างกันคือช่วงของความถี่ ย่าน VHF จะเริ่มจาก 30MHz – 300MHz หากสูงกว่านี้จะเป็นย่าน UHF สำหรับ UHF จะเริ่มจาก 470MHz – 806MHz เนื่องจากความถี่ UHF ที่เราใช้งานแต่เดิมนั้น ความยาวคลื่นยาวประมาณ 30-60 เซ็นติเมตร

แต่ในย่านความถี่ VHF มีความยาวประมาณ 1-6 เมตรเลยทีเดียว ความถี่ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานในประเทศไทยคือช่วงความถี่ 174-210MHz ความยาวคลื่นประมาณ 2 เมตร นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมเสาอากาศมีขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตามเราจะเห็นเสาของย่าน UHF ที่เรียกว่าเสา half wave แต่ว่าด้วยความที่ความยาวคลื่นมันใหญ่ เสาอากาศที่ย่าน VHF จะรับได้คือ Quarter wave

DSC 0071 small

Noise floor

ปัจจัยหนึ่งที่เรากังวลมาตลอดคือเรื่องของ Noise floor โดยทั่วไปหากเราวัดเทียบกันด้วยซอฟต์แวร์หรืออุปกรณ์อะไรก็ตามจะพบว่า Noise floor ของย่าน VHF จะสูงกว่า UHF โดยเฉลี่ยประมาณ 5dB ในส่วนกำลังส่งสูงสุดจะได้ประมาณ 50 มิลลิวัตต์ ในขณะย่าน UHF จะได้สูงสุดประมาณ 250 มิลลิวัตต์ แต่ในประเทศไทยเพดานสูงสุดคือ 50 มิลลิวัตต์ อันนี้เป็นเรื่องของกฎหมาย แต่ในบางประเทศอนุญาตให้ใช้ถึง 250 มิลลิวัตต์

ทำไมต้อง VHF

เราลองมาทำความเข้าใจว่าทำไมเราต้องใช้ย่านความถี่ VHF มันมีความสำคัญอย่างไร ยกตัวอย่างในบางประเทศไม่อนุญาตให้ใช้งานย่าน UHF นั่นคือประเทศไทย ทีนี้ใครที่ใช้ไมโครโฟนไร้สายจะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง สิ่งที่อยากแจ้งให้ทราบตอนนี้คือ ฝั่งผู้ขายไม่สามารถนำเข้าไมโครโฟนไร้สายย่าน 794-806MHz ความถี่เดิม แต่สามารถจำหน่ายได้ไปจนกว่าสต็อคที่มีอยู่จะหมด    

ในฝั่งผู้ใช้ ถามว่าแล้วความถี่ใหม่ที่ได้ไปจะเริ่มใช้ได้เมื่อไหร่ หลายท่านอาจจะไม่ทราบว่า ความถี่ของไมโครโฟนไร้สายจะมี 2 ช่วง คือ UHF ย่านต่ำ และ UHF ย่านสูง จะเริ่มซื้อมาใช้งานได้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2564 ถามว่าไวร์เลสที่เรามีอยู่เราจะทำยังไงดี ตามกฎหมายแล้วภายในวันที่ 31 มีนาคม 2564 จะอนุญาตให้ใช้เฉพาะช่วง 803-806MHz เท่านั้น

ส่วนย่าน VHF ที่มหาจักรฯ นำเข้ามาสามารถใช้งานได้ตลอด จนกว่าจะมีกฎหมายออกมาบังคับว่าความถี่ย่านนี้ห้ามใช้งาน ถามว่าย่าน VHF นั้นนำมาจากไหน มันเป็นความถี่ไวร์เลสที่เราใช้มาตลอด แต่อยู่ในรูปแบบแอนาลอก ซึ่งทาง Shure ได้นำมาปรับปรุงแล้วใส่เทคโนโลยีดิจิตอลเข้าไป เราอาจเคยใช้แล้วเจอปัญหา แต่วันนี้มันถูกทำให้อยู่ในรูปแบบดิจิตอล นี่คือภาพรวมว่าสาเหตุที่เราต้องกลับมาใช้งาน VHF

DSC 0066 small
ลักษณะเสาอากาศของย่าน VHF


5 ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยในระบบไวร์เลส

ทีนี้เราจะใช้งานไวร์เลสให้เกิดประโยชน์สูงสุด มาดูว่า 5 สิ่งที่เราทำกันมาตลอด เป็นความผิดพลาดที่เราสร้างขึ้นมาโดยที่เราอาจไม่รู้ตัวมีอะไรบ้าง ทาง Shure สรุปออกมาทั้งหมด 5 ข้อ

  1. การปิดกั้นสัญญาณ
  2. เลือกสายอากาศผิดประเภทงาน
  3. เราจัดการความถี่หน้างานดีไม่พอ ทำให้สัญญาณนั้นๆ เบียดกันเอง ซึ่ง Shure มีซอฟต์แวร์ตัวหนึ่งให้ใช้งานฟรี คือ Shure Wireless Workbench กับอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อเน็ตเวิร์กได้ เช่น อุปกรณ์แอนาลอกคือ UHF-R ส่วนดิจิตอล ULX-D, QLX-D พวกนี้เชื่อมต่อเข้าไปกับคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่แล้วแล้วใช้อุปกรณ์ ทำการสแกนดูก่อนได้แล้วนำมาวางแผนได้
  4. จัดการแบตเตอรี่ดีไม่พอเรียกว่า คือขี้เกียจเปลี่ยนแบตฯ ตรงนี้ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลงได้
  5. เซต Gain ไม่ถูกต้อง สามารถเกิดได้หลายทาง เช่น เซต Gain ฝั่งอินพุตสูงเกินไป พอร้องใส่ดังๆ แล้วไมค์หลุด ตรงนี้เป็นไปได้เหมือนกัน ถัดมาเซต Gain ที่สายอากาศ เพราะนึกว่าการดัน Gain ของสายสัญญาณให้สูงขึ้นแล้วจะรับสัญญาณได้ดีขึ้น คำตอบคือไม่เกิดผลใดๆ เพราะ Gain ตรงนี้มีไว้ชดเชยการสูญเสียในสายสัญญาณ

อ่านต่อหน้า 2

Read Previous

Meyer Sound – Slim System ลำโพงรุ่นใหม่

Read Next

Shure QLX-D & ULX-D | Review ไมโครโฟน