Shure Audio Ecosystem – เป็นระบบชุดประชุมที่ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ระบบ A/V Conference สมัยใหม่
มหาจักรฯ เปิดตัวสินค้าใหม่จาก SHURE ในงาน “EXCLUSIVE LAUNCH OF AUDIO ECOSYSTEM FOR CONFERENCING” โดยครั้งนี้ได้จัดงานเปิดตัวสินค้าใหม่จากแบรนด์ SHURE ในวันที่ 15 ตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา สถานที่จัดงาน ณ อาคารมหาจักร (สำนักงานใหญ่) สุขุมวิท 3 นานาเหนือ ซึ่งภายในงานได้เชิญแขกผู้มีเกียรติและสื่อมวลชน เข้าร่วมรับชมการแนะนำทฤษฎีและการใช้งานสินค้า โดยทางทีม Application Engineer เป็นผู้บรรยาย มีสาระสำคัญ 4 ประเด็น คือ
Shure IntelliMix® Room Audio-Processing Software เป็นซอฟต์แวร์ใช้ประมวลสัญญาณได้เสมือนฮาร์ดแวร์ สำหรับระบบ A/V Conference ที่ช่วยให้ใช้งานระบบการประชุมได้ง่ายดายขึ้น
Shure MXA710 Line Array Microphone ชุดไมโครโฟนแบบ Line Array
มีคุณสมบัติเด่นให้เสียงคมชัด ตอบโจทย์การใช้งานทั้งการติดตั้งบนฝ้าเพดาน ติดบนโต๊ะ หรือติดผนังทั้งแบบแนวตั้งและแนวนอน มี 2 ขนาด ทั้ง 2 ฟุต และ 4 ฟุต
Shure MMX5W-C Networked Ceiling Loudspeaker ชุดลำโพงที่รองรับการเชื่อมต่อด้วยระบบเน็ตเวิร์กแบบติดเพดาน รุ่นแรกจาก Shure เพื่อรองรับงานระบบ A/V Conference
Shure MXA Network Mute Button ปุ่มคำสั่ง เปิด/ปิดไมค์ขณะประชุม ผ่านระบบเน็ตเวิร์ก ด้วยการสัมผัสได้ในปุ่มเดียว
เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน
รู้จัก Shure Audio Ecosystem
สำหรับ Shure Audio Ecosystem เป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับรระบบเสียงในห้องประชุม ถามว่าระบบนี้ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์การใช้งานลักษณะไหน คำตอบคือเรามองว่า Shure Audio Ecosystem มันเหมาะกับการทำ A/V Conference เป็นหลัก
ในอดีตเวลาเราประชุม เราจะใช้พวก Speakerphone กดแล้วฟังเสียง นั่งล้อมวงกัน ถ้าโต๊ะใหญ่หน่อยก็จะลากไปมาเพื่อให้แต่ละคนได้สื่อสาร ไอเดียก็คล้ายๆ การใช้ Small Talk คุยกัน
พอมาถึงยุคนี้ เราเปลี่ยนมาใช้ระบบ Conference ในยุคเริ่มแรกนั้น จะใช้ลำโพงวางบนโต๊ะ ซึ่งจะมีอุปกรณ์แปลงสัญญาณเสียงเข้าสู่ระบบการ Conference
แบรนด์ Shure เป็นเจ้าหนึ่งที่เข้าสู่ตลาดนี้เมื่อประมาณ 4-5 ปีก่อน โดยเริ่มเปิดตลาดไมโครโฟน ที่นำเอาเทคโนโลยีดิจิตอลมาใช้ เช่น MXA910 เป็นไมโครโฟนที่ติดบนเพดาน คือเวลาใช้งานไม่ต้องใช้ไมโครโฟนมาวางไว้บนโต๊ะ
Shure Audio Ecosystem ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ Shure อาทิ ไมโครโฟน, ซอฟต์แวร์ DSP, ฮาร์ดแวร์ DSP และลำโพง
ต่อจากนั้น ผู้ใช้ต้องการระบบที่ยืดหยุ่น สามารถรองรับการใช้งานที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ตัว Shure Audio Ecosystem จึงถูกออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ตรงนี้นั่นเอง
ส่วนห้องประชุม สมัยก่อนอาจจะมีจำนวนโต๊ะเพียง 5-10 ที่นั่งขึ้นไป แต่ปัจจุบันมีห้องที่เล็กกว่า คือประมาณไม่เกิน 5 คน มีการติดไมโครโฟนบนเพดาน หรือวางตรงกลางโต๊ะ ซึ่งเรียกว่า Huddle room ส่วนห้องขนาดใหญ่จัดเป็น Broad room
ในระยะหลัง Huddle room มีการเติบโต และได้รับความนิยมมากขึ้น ทาง Shure จึงออกแบบสินค้าเพื่อให้รองรับห้องขนาดเล็กไปจนถึงห้องขนาดใหญ่ ส่วนรูปแบบระบบการเดินสายสัญญาณก็เปลี่ยนไปเช่นกัน จากเดิมใช้สายอะนาล็อกธรรมดา มีการเปลี่ยนมาใช้สาย LAN เพียงเส้นเดียว
เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินระบบออดิโอเน็ตเวิร์กที่ชื่อว่า Dante ซึ่งทาง Shure ได้นำโพรโตคอลนี้มาใช้ในระบบชุดประชุมทั้งหมด
ภาพรวมของ Shure Audio Ecosystem
ในระบบ Shure Audio Ecosystem จะประกอบด้วยไมโครโฟน Line Array และลำโพงแบบ Ceiling Array ยอมรับว่า Shure ไม่เคยผลิตลำโพงที่เกี่ยวข้องกับชุดประชุมมาก่อน แต่ปัจจุบัน Shure ได้ผลิตลำโพงสำหรับงาน A/V Conference ออกมา
นอกจากนั้น Shure ยังมีอุปกรณ์ที่เป็น DSP (Digital Signal Processing) เดิมทีเวลาออกแบบระบบเสียงในห้องประชุม เราจะเริ่มจากส่งสัญญาณจากไมค์ไปที่ตัว DSP แล้วสัญญาณจากอุปกรณ์ดังกล่าวจะถูกจ่ายไปยังเครื่องขยายเสียง สู่ปลายทางคือตัวลำโพง
Shure มี IntelliMix® Room ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ การเชื่อมต่อไม่จำเป็นต้องใช้ DSP ที่เป็นฮาร์ดแวร์ก็ได้ วิธีการคือ เราแค่ลิงค์สัญญาณมาจากไมค์ เข้าสู่คอมพิวเตอร์เครื่องเล็กๆ เช่น mini PC หรือจะเป็น Desktop PC หรือโน้ตบุ๊คก็ตาม จากนั้นต่อสาย LAN เข้าสวิตซ์ไปหาลำโพง สามารถจบระบบงานด้วยอุปกรณ์เพียง 3 ชิ้น
จุดเด่นของระบบนี้คือ ข้อแรกช่วยลดอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ DSP ข้อสองช่วยลดเครื่องขยายเสียง เพียงเท่านี้ก็ช่วยลดค่าใช้จ่ายในงานติดตั้งลงไปได้เยอะพอสมควร
จากเดิมระบบอะนาล็อกจะใช้สายสัญญาณต่อกันรกรุงรัง สิ่งที่เพิ่มมาคือสวิตซ์ที่ใช้กับสาย LAN
เปิดตัวอุปกรณ์ใหม่
Shure ได้เปิดตัวสินค้าใหม่ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ฝังบนโต๊ะ เพื่อใช้ปิด/เปิดไมค์ที่อยู่บนซอฟต์แวร์ได้เลย จุดเด่นคือมันรองรับซอฟต์แวร์ Zoom และ Microsoft Teams อีกด้วย
รู้จักซอฟต์แวร์ Shure
ซอฟต์แวร์ IntelliMix® Room
สำหรับซอฟต์แวร์ตัวนี้ จะทำหน้าที่ดึงสัญญาณทั้งหมดที่อยู่ใน Dante เน็ตเวิร์ก มาประมวลผล เดิมทีสัญญาณจากไมค์จะถูกโยนมาให้ DSP แล้วโยนสัญญาณผ่าน LAN กลับไปใช้งาน แต่ไอเดียใหม่ของ Shure คือ ในเมื่อคอมพิวเตอร์รองรับ Dante ได้อยู่แล้ว ก็ใช้ซอฟต์แวร์มาทำหน้าที่เป็น DSP แทนอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ฝังอยู่ในคอมพิวเตอร์ตัวเดียวกันเลย แล้วสัญญาณที่ผ่านการประมวลผลแล้วก็ส่งออกไปภายนอกด้วย LAN ไม่ต้องผ่านอุปกรณ์ใดๆ
รวมถึงซอฟต์แวร์ Dante เช่น Dante DVS, Dante Via ไม่ต้องใช้ นี่คือหลักการของซอฟต์แวร์ IntelliMix® Room เมื่อระบบเดินด้วยสาย LAN สายสัญญาณต่างๆ ก็จะใช้น้อยลง พวกสายสัญญาณเสียงต่างๆ หรือสาย USB รวมถึงสายลำโพงก็ไม่ต้องใช้ ใช้อย่างเดียวคือ LAN และสวิตซ์
ภาพห้องประชุมสมัยก่อนเวลาออกแบบ ก็จะมีภาพของไมค์ อุปกรณ์ต่างๆ พ่วงกันมากมาย แต่ห้องประชุมสมัยใหม่จะเน้นความสวยงามเป็นหลัก ส่วนเรื่องเสียงให้ความสำคัญทีหลัง
ด้วยระบบ Shure Audio Ecosystem มันทำให้ผู้ออกแบบสามารถนำอุปกรณ์ไปติดตั้งกับห้องประชุม หรือตัวอาคารได้ง่ายขึ้น
สรุปว่า ด้วยระบบนี้จะทำให้ผู้ออกแบบไม่ต้องใช้อุปกรณ์มากมาย เพียงมีอุปกรณ์ 3 ชิ้นจบงานได้เลย ทาง Shure แนะนำว่าควรติดตั้งซอฟต์แวร์ IntelliMix® Room ลงบน mini PC เพราะมีขนาดเล็ก ติดตั้งไว้จุดไหนก็ได้ ส่วนซอฟต์แวร์ Conference ก็มีหลายตัวที่รองรับ ไม่ว่าจะเป็น Google Meet, Zoom, Microsoft Teams และ ฯลฯ
อย่างไรก็ดี สเป็คคอมพิวเตอร์ควรจะแรงนิดหนึ่ง ตัว CPU ควรเป็น i5 ขึ้นไป RAM 8GB ที่สำคัญฮาร์ดดิสก์ต้องเป็น SSD เพราะฮาร์ดดิสก์แบบจานหมุนจะติดตั้งซอฟต์แวร์ไม่ได้
สำหรับตัวซอฟต์แวร์จะขายเป็น License 3 ปีและ 5 ปี ซึ่งแต่ละ License นั้นจะมีออปชันให้เลือกจำนวนอินพุตขนาด 8 หรือ 16 อินพุต ดังนั้น เราจะต้องพิจารณาก่อนว่าไมค์จะใช้ Dante อินพุตเท่าไหร่ หากเป็นห้องขนาดใหญ่อาจใช้จำนวน 16 อินพุต ห้องเล็กลงมาก็เป็น 8 อินพุต
บางท่านสงสัยว่า ถ้าไม่ซื้อ License จะเกิดอะไรขึ้น คำตอบคือ แม้จะติดตั้งซอฟต์แวร์ได้ แต่สัญญาณเสียงจะไม่ทำงาน สรุปคือติดตั้งได้แต่ใช้งานไม่ได้นั่นเอง
ประเด็นนี้จะต่างกับฮาร์ดแวร์ DSP เราซื้อแล้วจบ แต่สำหรับซอฟต์แวร์ต้องคอยต่ออายุใช้งานทุกๆ 3 หรือ 5 ปี
ฟีเจอร์ของซอฟต์แวร์
Feature Set | ANIUSB-MATRIX | IntelliMix® P300 | IntelliMix® Room | |
Connectivity | Dante:4 In/ 2 Out Analog: 1 In/ 1 Out USB: 1 In/ 1 Out | Dante: 10 In/ 8 Out Analog: 2 In/ 2 Out USB: 1 In/ 1 Out Mobile: 1 In/ 1 Out | Dante:4 In/ 2 Out PC I/O: 1 In/ 1 Out Virtual Audio: 1 In/ 1 Out | |
IntelliMix® DSP | No-Requires Mic With IntelliMix® | Yes- 8 Dante In | Yes-8 or 16 Dante In | |
AEC Reference | N/A | Single | Per Channel | |
Mic Optimization | N/A | Single | Per Channel | |
Automixer | N/A | Yes | Advanced (Post Gate Gain/Mute/Solo) | |
Direct Outputs | N/A | Yes-8 | Yes-8 or 16 | |
Mute Sync with CODEC | Yes | Yes | No | |
Internet Connection | Not Needed | Not Needed | Yes |
ตารางเปรียบเทียบฟีเจอร์ผลิตภัณฑ์ของ Shure
สำหรับ I/O การเชื่อมต่อนั้นจะรับ Dante ทั้งหมด 16-24 In/8 Out, PC I/O ได้ 1 In/1 Out และ Virtual Audio ได้ 1 In/1 Out เช่นกัน ส่วนอินพุต Dante ผ่านซอฟต์แวร์ DSP จะได้ I/O 8 หรือ 16 อินพุต/เอาต์พุต
ตัว PC I/O นั้น เนื่องจากระบบนี้ไม่มีอะนาล็อก แต่ว่าบนตัว PC จะมีช่องหูฟังและ Line In เราสามารถเราท์ติ้งสัญญาณ I/O ตรงนี้ออกมาได้
สำหรับแชนแนล DSP สัญญาณจะมีฟังก์ชัน AEC, Auto Gain, Noise Reduction ซึ่งไม่ว่าจะเป็น I/O 8 หรือ 16 จะมีฟังก์ชันเหล่านี้ให้ครบถ้วน แต่ส่วนที่เกินแชนแนลที่ 16 จะไม่มี DSP
ฮาร์ดแวร์ DSP vs. ซอฟต์แวร์ DSP
Shure IntelliMix® P300
Shure มีฮาร์ดแวร์ DSP รุ่น P300 ในการออกแบบระบบชุดประชุมนั้น อาจจะต้องพิจารณาโปรเจคของเราว่าจะใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง งานบางโปรเจคระบบฮาร์ดแวร์ DSP ยังจำเป็นต้องใช้
สำหรับระบบ DSP ของ Shure มี 3 ตัวให้เลือก คือ ANIUSB-MATRIX, IntelliMix® P300 และซอฟต์แวร์ IntelliMix® Room จะเลือกตัวไหนต้องพิจารณาความเหมาะสมของโปรเจคเหล่านั้น
Shure USB-MATRIX
USB-MATRIX – ตัวนี้จะง่ายหน่อยเพราะมีแค่ In และ Out ระบบที่รองรับการเชื่อมต่อ Dante จะต่อได้ 4 In/2 Out, Analog 1 In/1 Out และ USB 1 In/ 1 Out แต่ข้อด้อยคือฟังก์ชันสำคัญที่เกี่ยวข้องกับระบบ Conference ไม่มี
IntelliMix® P300 – อุปกรณ์ตัวนี้จะมีฟังก์ชันระบบ Conference ให้ครบ ปัจจุบันในงานระบบห้องประชุมนิยมใช้งานกันเยอะ ใช้ตัวเดียวจบ ต่อกับไมค์และลำโพงได้เลย
IntelliMix® Room – ซอฟต์แวร์ตัวนี้เป็นทางเลือกใหม่ รองรับงานได้กว้างขึ้น แม้ว่าระบบจะเป็นดิจิตอล แต่สามารถกำหนด I/O ซาวด์การ์ดของคอมพิวเตอร์มาใช้งานได้
MXA Arrays ไมโครโฟน
ไมโครโฟน MXA710 Arrays และลักษณะการติดตั้ง
ก่อนหน้านี้ ไมโครโฟน MXA Series ได้เปิดตัวไปแล้ว ไมค์รุ่นนี้จะมีจุดรับสัญญาณเสียงทั้งหมด 8 Lobe ตัวอย่างห้องประชุมบางแห่ง สามารถใช้ไมค์รุ่นนี้เพียงตัวเดียวได้ รองรับผู้เข้าร่วมประชุมได้มาก เช่นได้มากถึง 30 คน หรือมากกว่า
ไมโครโฟน MXA910 และ MXA310
หากเป็นห้องขนาดใหญ่แนะนำ MXA910 ปัจจุบันเริ่มได้รับความนิยมอย่างมาก หากเป็นห้องขนาดกลางลงมาให้เลือกเป็น MXA710 กรณีห้องเล็กระดับ Huddle Room ให้เลือกเป็นไมค์วงกลม รูปร่างคล้ายซาลาเปา นั่นคือ MXA310
เนื่องจาก MXA910 เหมาะกับห้องขนาดใหญ่ หากนำไปติดตั้งในห้องขนาดกลางลงมาเล็ก อาจจะไม่เหมาะ ทาง Shure จึงเปิดตัว MXA710 และชุด Ecosystem มาให้เลือก
ตัว MXA710 จะมี 2 ขนาด คือขนาด 2 ฟุตและ 4 ฟุต มีสีให้เลือก 3 สี (ขาว-ดำ-เงิน) สามารถเลือกสีให้เข้ากับสภาพห้องประชุมที่จะนำไปติดตั้งได้
ไมโครโฟน Shure MXA310
หลักการ Linear Array
Linear Array ทิศทางการจับเสียงจะแปรผันกับตำแหน่งการติดตั้งไมค์ ฟีเจอร์นี้สามารถกำหนดโหมดในการรับเสียง เพื่อเกลี่ยโฟกัสในการรับเสียงได้ ในรุ่นขนาด 2 ฟุต มีจำนวน 4 โฟกัส (Lobe) และรุ่นขนาด 4 ฟุต มีจำนวน 8 โฟกัส ซึ่งการทำงานของไมค์สามารถใช้ซอฟต์แวร์เฉพาะทางมาควบคุมการเกลี่ยพื้นที่รับเสียงได้ เช่น หากติดตั้งไมค์ไว้ที่ผนังห้อง หรือติดไว้บนฝ้าเพดาน ลักษณะการเลือกโหมดควบคุมจะไม่เหมือนกัน
ตัวอย่างการติดตั้งแบบ Wall Vertical (ไมโครโฟนขนาด 2 ฟุต) เซตอัพให้ทำงานเพียง 1 Lobe โดยเปิดรับเสียงจากด้านข้างในมุมแนวตั้ง
ไมค์ของ Shure ทุกตัวจะมี DSP ในตัว มีช่องสำหรับเชื่อมต่อกับสาย LAN จำนวน 1 ช่อง ซึ่งสัญญาณเสียงและไฟเลี้ยงตัวไมค์จะวิ่งผ่านสาย LAN ควรเลือกสวิตซ์ที่ดีหน่อย แนะนำเป็น Cisco ความเร็ว 1Gbps ขึ้นไป
ฟีเจอร์เด่นที่มาพร้อมกับไมค์คือฟังก์ชัน Auto Mixer, AEC ใช้ตัดเสียงเอคโค่ และ Noise Reduction ตัดเสียงรบกวนในห้อง และ AGC (Automatic gain control) ในซอฟต์แวร์ IntelliMix® ก็มีฟังก์ชันเหล่านี้เช่นกัน
การติดตั้งแบบ Wall Horizontal (ไมโครโฟนขนาด 4 ฟุต) ทำงาน 3 lobes
อีกหนึ่งฟีเจอร์ที่น่าสนใจคือ Shure Encryption ซึ่งใช้เข้ารหัสเพื่อความปลอดภัยขององค์กร ทำให้ความเสี่ยงในการถูกดักฟังเสียงยากขึ้น เพราะเสียงจะถูกเข้ารหัสไว้ ดังนั้น จึงไม่ต้องกังวลว่าเสียงที่ประชุมจะหลุดออกไป
ลักษณะการติดตั้งไมค์
ไมค์ Series นี้สามารถติดตั้งได้หลายแบบ ทั้งแนวตั้ง ติดข้างจอภาพ เช่น ห้องประชุมเรามี 2 จอ สามารถนำไมค์ไปติดระหว่างจอทั้ง 2 ก็ได้ เพื่อให้อุปกรณ์กลมกลืนไปกับจอภาพ ขณะเดียวกันเราจะได้ตำแหน่งรับเสียงจากตรงกลางโต๊ะพอดี
บางโปรเจคสามารถติดตั้งไมค์ในแนวนอนก็ได้ โดยติดไว้ใต้จอ ซึ่งรูปแบบการรับเสียงจะแตกต่างกันไป หากวางในห้องที่โต๊ะมีลักษณะแบบตัว U ไมค์จะก็รับเสียงได้ครอบคลุมเช่นกัน
ติดตั้งบนเพดาน (ไมโครโฟนขนาด 2 ฟุต ติดตั้งด้วยการฝังฝ้า) ทำงาน 3 lobes บางตำแหน่งเซตให้รับแบบสองทิศทาง
อีกวิธีคือการติดตั้งบนฝ้าเพดาน ซึ่งการติดตั้งสามารถทำได้ 2 ลักษณะ คือฝังให้กลมกลืนไปพร้อมกับแผ่นฝ้าเพดาน เหมาะกับห้องที่มีเพดานไม่สูงนัก อีกแบบคือติดลอยห้อยลงมาซึ่งเหมาะกับห้องที่มีเพดานสูงๆ
ในการติดตั้งบนเพดานนั้นจะต้องเดินสาย LAN ขึ้นไปเชื่อมต่อกับตัวไมค์ 1 เส้น สำหรับแพทเทิร์นการรับเสียงจะเปลี่ยนไปตามรูปแบบการติดตั้ง เช่น การติดแบบเพดาน โหมดการควบคุมก็จะต้องเซตให้ไมค์รับเสียงแบบเพดาน กรณีติดแบบผนังห้อง โหมดควบคุมการรับเสียงจะเป็นอีกแบบ
ติดตั้งบนโต๊ะ (ไมโครโฟนขนาด 2 ฟุต) ทำงาน 3 lobes ในบางตำแหน่งรับเสียงแบบสองทิศทาง
ติดตั้งแบบฝังโต๊ะ
สามารถติดตั้งไมโครโฟนฝังเข้าไปในโต๊ะประชุม แลดูกลมกลืนเข้ากับเฟอร์นิเจอร์
ในห้องประชุมบางแห่ง อาจจะออกแบบไมค์ให้ฝังลงไปที่ตัวโต๊ะ โดยใช้อุปกรณ์เสริมเพื่อปาดให้ไมค์วางเรียบไปกับโต๊ะประชุม จริงๆ มันจะคล้ายกับการติดที่ผนังห้อง แต่วางไมค์หงายขึ้น และมีขาจับ หรือจะนำมาประกอบกับขาตั้งไมค์ แล้วนำไปวางบริเวณห้องประชุมก็ได้ ซึ่งเหมาะกับงานประชุมชั่วคราวแบบเฉพาะกิจ
บทความที่เกี่ยวข้อง :
Workshop ไมโครโฟน Shure MXA910 IntelliMix®
Review ไมโครโฟน Shure MXA910 IntelliMix®
สอบถามเกี่ยวกับสินค้า หรือข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ ตามรายละเอียดด้านล่างนี้
บริษัท มหาจักรดีเวลอปเมนท์ จำกัด
โทร.02-2560020 ต่อ 708
เว็บไซต์: www.mahajak.com
Line: @mahajakpro
Mahajak Development Co., Ltd. (สำนักงานใหญ่) Tel: 02-256-0020 ต่อ 133
Mahajak Development Co., Ltd (ศูนย์บริการใหญ่ รามคำแหง 151) Tel: 0-2378-9900-99
Mahajak Development Co., Ltd. (สาขาเชียงใหม่) Tel: 053-851055-6
Mahajak Development Co., Ltd. (สาขาพัทยา) Tel: 038-488727
Mahajak Development Co., Ltd. (สาขาสมุย) Tel: 077-430383-4
Mahajak Development Co., Ltd. (สาขาภูเก็ต) Tel: 076-304265-6