RT-Drive DLM408 ดิจิตอลครอสโอเวอร์ขนาด 4 In/8 Out รองรับการเชื่อมต่อหลากหลายแบบ สามารถคุมผ่านคอมพิวเตอร์ได้
RT-Drive DLM408 เป็นดิจิตอลโพรเซสเซอร์ ออดิโอเมทริกซ์โพรเซสเซอร์ หรือในวงการบ้านเรามักนิยมเรียกว่า ดิจิตอลครอสโอเวอร์ นั่นเอง อุปกรณ์ตัวนี้ทำหน้าที่เป็นทั้งโพรเซสเซอร์และออดิโอเมทริกซ์
DLM408 มีทั้งหมด 4 In/8 Out ตามชื่อรุ่น ตัวเครื่องมีขนาด 1U เมื่อพิจารณารูปลักษณ์ภายนอกแล้ว น่าใช้งานมาก ถือเป็นอุปกรณ์ระดับอาชีพก็ว่าได้ หากติดตั้งลงในตู้แร็คแล้ว สวยงาน แลดูไฮโซแน่นอน
DLM408 เป็นโพรเซสเซอร์และออดิโอเมทริกซ์ คุณสมบัติทั้ง 2 อย่างนี้จะทำงานแตกต่างกัน ดังนั้น อุปกรณ์จึงมีความพิเศษในแง่ที่ว่า มันสามารถทำงานได้กว้างขึ้นนั่นเอง
ปัญหาของโพรเซสเซอร์บางรุ่น ในกรณีการอินพุตหรือเอาต์พุต อาจ Sum สัญญาณรวมกันไม่ได้ มีไม่กี่ยี่ห้อที่สามารถ Sum หรือแยกสัญญาณได้อย่างอิสระ รวมไปถึงสามารถเป็น distributor ได้
ลักษณะการทำงานของโพรเซสเซอร์ จะทำหน้าที่ประมวลผลเชิงสัญญาณ ในลักษณะเป็นดิจิตอลครอสโอเวอร์ แยกอินพุต/เอาต์พุตได้อิสระ สามารถทำงานในรูปของเมทริกซ์ได้ กล่าวคือรูปแบบเมทริกซ์นั้นสามารถรับสัญญาณจากอินพุตได้มากกว่าหนึ่งอินพุตเพื่อส่งไปยังเอาต์พุตใดๆ ที่เราต้องการ รวมทั้งในแต่ละอินพุตนั้นสามารถกระจายไปยังเอาต์พุตอื่นๆ ได้เช่นกัน
เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน
สำรวจฟังก์ชันหลัก DLM408
Topp Pro DLM408 ขึ้นชื่อว่าเป็นอุปกรณ์ดิจิตอล วงจรภายในจึงประมวลผลสัญญาณขาเข้าและขาออกด้วยหลักการของดิจิตอลทั้งระบบ ลองมาสำรวจอุปกรณ์จากหน้าเครื่อง
เริ่มจากฝั่งซ้ายมือจะมีจอแสดงผลของฟังก์ชันต่างๆ ที่ใช้งานในขณะนั้น ด้านข้างจะเป็น Encoder คล้ายลูกบิดโวลุ่มขนาดใหญ่ ตัวนี้จะใช้เลือกเมนูคำสั่งหรือฟังก์ชันการใช้งาน ด้วยวิธีกดเลือกผ่านปุ่มดังกล่าว ถัดไปเราสามารถเลือก Input/Output Signal (สัญญาณขาเข้า/ขาออก) จากด้านหน้าเครื่องซึ่งจะมีปุ่มสวิตซ์เรียงรายเป็นแถว เป็นปุ่มกดเพื่อใช้เลือกอินพุต/เอาต์พุตที่ต้องการ และยังทำงานสถานะ Mute สัญญาณขาเข้า/ขาออกได้ ฝั่งขวามือสุดจะพบไฟ LED แสดงสถานะการทำงานของตัวเครื่อง
ด้านหลังเครื่องทางซ้ายมือสุดจะพบสวิตซ์เปิด/ปิดเครื่อง ถัดมาจะเป็นช่องต่อกับปลั๊ก AC หรือไฟบ้าน ถัดจากนั้นจะพบช่องคล้ายพอร์ต LAN จำนวน 4 ช่องสำหรับต่อกับหัวปลั๊ก RJ-45 ฝั่งซ้ายมือจะพบช่อง RC-Net ด้านบนเป็นช่อง IN และล่างเป็น LINK ทั้งคู่ทำงานบนโพรโตคอล RS-485 มีหน้าที่ส่งสัญญาณควบคุมระบบผ่านระบบเน็ตเวิร์ก
ฝั่งขวามือด้านบนเป็นช่องสำหรับเชื่อมต่อกับ LAN โดยตรงเพื่อควบคุมอุปกรณ์ผ่านอีเธอร์เน็ตสวิตซ์ ซึ่งใช้เป็นตัวกลาง ในการเชื่อมต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อควบคุมการทำงานในระยะไกลด้วยคอมพิวเตอร์นั่นเอง
ช่องขวาด้านล่างใช้ต่อผ่านโพรโตคอล RS-232 ฝั่งขาเข้า หน้าที่ของพอร์ตนี้ จะใช้ควบคุมอุปกรณ์ตัวอื่นๆ เช่นการเลือกเปิดสัญญาณ หรือ Mute ทั้งระบบ โดยการทำงานจะคล้ายกับพอร์ต USB
เราจะพบช่อง Output จำนวน 8 ช่อง และอินพุตจำนวน 4 ช่อง เป็นขั้วต่อแบบ XLR ทั้งหมด ฝั่งอินพุตสามารถเชื่อมต่อกับไมโครโฟนหรือสัญญาณ Line จากมิกเซอร์ ส่วนฝั่งเอาต์พุตนั้นใช้ต่อไปยังเพาเวอร์แอมป์ หรือลำโพงแอคตีฟ
เปิดเครื่องลองใช้
เมื่อเราเปิดเครื่อง จะพบฟังก์ชันต่างๆ แต่ค่าเดิมที่มาจากโรงงานจะโชว์ข้อความว่า “Hello DLM408” แล้วจะพบเครื่องหมายดอกจันทร์เป็น Passcode เพื่อให้กำหนดรหัสผ่าน
ในหน้าจอแรกเริ่มจากโรงงานนั้น จะพบเมนูชุดแรกคือ
- Welcome
- Default
- Release
- [ปุ่มไอคอนจอ]
- [DSP]
ทั้งหมดใช้แสดงสถานะของเครื่อง เช่นชื่ออุปกรณ์ พรีเซตปัจจุบันที่ใช้งานขณะนั้น ID Code ที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่น และสถานะการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ทำงานอยู่หรือไม่ รวมถึงสถานะ DSP
เมื่อกดผ่านปุ่ม Menu บนเครื่อง ซึ่งลูกบิดตัวนี้จะทำงาน 2 สถานะคือกดและหมุน เมื่อกดเข้าไปในส่วนแรกจะพบ Menu Interface จะมีทั้งหมด 5 เมนูหลักคือ
- EQ
- EXIT
- CHANNEL
- SYSTEM
- DELAY
เมนู CHANNEL เป็นคำสั่งเข้าไปจัดการแชนแนล I/O ต่างๆ เช่นค่าความดัง การกลับเฟส การสั่ง MUTE
เมนู SYSTEM จะใช้เช็คเฟิร์มแวร์ล่าสุดของอุปกรณ์ที่ติดตั้งใช้ในขณะนั้น
หน้าหลักของซอฟต์แวร์ DSP เมนู Input DSP Control
DELAY เป็นเมนูคำสั่งที่ใช้ปรับแต่งค่า Delay ของแชนแนลนั้นๆ รวมถึงค่าอุณหภูมิห้องที่ใช้งาน ซึ่งอุณหภูมิมีผลต่อการเดินทางของเสียง เมื่อตั้งค่า Delay time แล้ว จำเป็นต้องกำหนดค่าอุณหภูมิห้องที่ใกล้เคียงกับ ขณะแสดงจริง อุปกรณ์จึงจะประมวลผลสัญญาณได้เที่ยงตรงแม่นยำ
ตัวอย่างเช่น เซตอัพระบบเสียงตอนบ่าย 3 โมง เล่นจริง 2 ทุ่ม ช่วงเซตอัพนั้นอากาศยังร้อนอยู่ ฉะนั้นอัตราเร็วของเสียงจึงเร็วกว่าช่วงเล่นจริง เราควรตั้งค่าอุณหภูมิให้เหมาะกับขณะเล่นจริง ซึ่งอุปกรณ์รุ่นนี้สามารถตั้งค่า Delay ได้ตั้งแต่ 0-1361.29ms
นอกจากนี้ อุปกรณ์สามารถ Save จัดเก็บข้อมูลได้ถึง 24 พรีเซต แต่ละพรีเซตตั้งชื่อได้ยาวถึง 16 ตัวอักษร ซึ่งเพียงพอที่จะตั้งชื่อเพื่อสื่อสารกับตัวเองหรือคนอื่นได้ไม่ยาก
อุปกรณ์มีคำสั่งสามารถ Load ค่าพรีเซตที่ถูกตั้งไว้ก่อนหน้าได้ โดยสามารถไล่เรียงหารายการพรีเซตได้ 24 ลำดับ
ฟังก์ชัน Effects
ซอฟต์แวร์ DSP เมนู Save/Load/Copy
DLM408 มีฟังก์ชันเอฟเฟ็กต์ให้ 2 ตัว คือ GATE และ COMP
GATE/COMP – ในแต่ละแชนแนลสามารถใส่ GATE/COMP แบบแยกอิสระ โดยมีพารามิเตอร์ให้ปรับแต่งจำนวน 5 ค่าคือ Thres, Attack, Release, Ratio และ Bypass
Noise Gate
- ค่า Thres (Threshold Range) สามารถตั้งได้ -80dBu ~ +20dB
- ค่า Attack Time สามารถตั้งได้ 10ms ~ 150ms
- ค่า Release Time สามารถตั้งได้ 5ms ~ 2s
- ค่า Ratio สามารถตั้งได้ 1:1 ถึง 10:1
Compressor (COMP)
- ค่า Thres (Threshold Range) สามารถตั้งได้ -30dBu ~ +20dB
- ค่า Attack Time สามารถตั้งได้ 10ms ~ 150ms
- ค่า Release Time สามารถตั้งได้ 10ms ~ 1s
- ค่า Ratio สามารถตั้งได้ 1:1 ถึง 10:1
- ค่า Gain สามารถตั้งได้ 0dB ~ +24dB
ภาค EQ
ตัว DLM408 มีภาค EQ ให้ตั้งได้ละเอียดมาก โดยมีให้เลือก 2 รูปแบบคือ GEQ และ EQ ปกติ สำหรับ GEQ ถูกออกแบบมาเพื่อจัดการกับสัญญาณฝั่งเอาต์พุต 1-8 ส่วน EQ สามารถจัดการกับทั้งอินพุต 1-4 และเอาต์พุต 1-8 แบบแยกอิสระ ในส่วนนี้สามารถปรับแต่งผ่านหน้าจอเครื่องได้
สำหรับภาค EQ ยังสามารถปรับย่านความถี่ได้สูงถึง 8 แบนด์ความถี่
ซอฟต์แวร์ DSP เมนู System
ภาค DSP Control
หัวใจของเครื่องน่าจะอยู่ที่นี่ ผู้ใช้สามารถปรับแต่งสัญญาณอินพุตและเอาต์พุตผ่านภาค DSP ได้ โดยการเชื่อมต่อ DLM408 ผ่านเราท์เตอร์ไปยังคอมพิวเตอร์ และรันซอฟต์แวร์ DSP ขึ้นมา โดยหน้าตาซอฟต์แวร์ดังกล่าวจะมีองค์ประกอบด้วยกันหลายส่วน อาทิ ภาค Input DSP, Output DSP, Matrix, Save/Load/Copy และ System
โดยแต่ละชุดฟังก์ชันจะมีส่วนประกอบต่างๆ เหมือนปลั๊กอินเอฟเฟ็กต์ที่เราพบได้ในซอฟต์แวร์ทำเพลง เช่นหน้าต่างพาราเมตริก EQ หน้าต่าง EXP/Gate, COMP และ Input/Output แชนแนล 1-4/1-8 รวมถึงค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ที่เราสามารถป้อนค่าต่างๆ ได้ จะเห็นว่าส่วนนี้ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้ได้มีความคล่องตัว สะดวกสบายในการใช้งานยิ่งขึ้น
ภาค Matrix
ซอฟต์แวร์ DSP เมนู Matrix
สำหรับ Matrix จำเป็นต่องานติดตั้งในระบบเสียงตามสาย หรือไม่ว่าจะเป็นระบบควบคุมเสียง เราสามารถกำหนดช่องสัญญาณที่ต้องการได้ เช่น เราต้องการให้อินพุต 1 ไปออกเอาต์พุต 1-8 ได้ ขณะเดียวกันเราสามารถสั่งให้อินพุต 2 ไปออกเอาต์พุต 1-8 โดยผสมรวมกับสัญญาณอินพุต 1
เราสามารถกำหนดให้อินพุต 1 ไปออกเอาต์พุต 2 หรือเอาต์พุต 4, 6, 8 หรืออินพุต 3 สามารถส่งไปออกเอาต์พุต 3,4,5,6,7,8 ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของ System Engineer ว่าอยากให้ระบบเสียงเป็นแบบไหน
ปกติระบบทั่วไป ถ้าอินพุตมากกว่า 2 แหล่งถูกส่งไปเอาต์พุตเดียวกัน อาจจะเกิดปัญหาการหักล้างทางเฟสของสัญญาณ แต่กรณีระบบ Matrix จะไม่เกิดปัญหานั้น
สำหรับระบบ Matrix ในหนึ่งเอาต์พุตสามารถรับสัญญาณได้ทั้ง 4 อินพุต โดยทั้ง 4 อินพุตสามารถส่งเข้ามาพร้อมกันได้ หลักการน่าจะคล้ายกับมิกเซอร์ดิจิตอล โดยสัญญาณดังกล่าวจะไม่ถูกลดทอนใดๆ
สรุป
สำหรับอุปกรณ์ดิจิตอลครอสโอเวอร์รุ่น DLM408 ถือว่าน่าใช้งาน เพราะฟังก์ชันพื้นฐานของครอสโอเวอร์มีมาให้ครบ แถมยังสามารถควบคุมผ่านรีโมทระยะไกล ด้วยคอมพิวเตอร์หรือแท็บเล็ตได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ใช้หลายๆ ท่านในยุคนี้ต้องการ รวมถึง System ของตัวเครื่องสามารถอัพเดรดเฟิร์มแวร์ และตั้งค่า ID เครื่อง และพาสเวิร์ดระบบ และล็อคเครื่องได้
อุปกรณ์ตัวนี้สามารถควบคุมผ่านซอฟต์แวร์ การป้อนค่าพารามิเตอร์ต่างๆ สามารถทำได้ง่าย สะดวกไม่ยุ่งยากหรือมีความซับซ้อน บางคนอาจไม่ถนัดหน้าเครื่องก็ใช้ผ่านซอฟต์แวร์ได้
สมัยก่อนหลายคนอาจจะเคยใช้งานอะนาล็อกครอสโอเวอร์ จะพบว่ามันมีข้อจำกัดหลายอย่าง เราฟังได้เฉพาะเสียง มองไม่เห็นค่าพารามิเตอร์ หรือภาพกราฟ EQ ความถี่ ที่พอจะเป็นแนวทางให้เราปรับแต่ง แต่พอเป็นอุปกรณ์ดิจิตอล ทุกอย่างง่ายขึ้น
บทความที่เกี่ยวข้อง :
dB Mark DP26+ และ DP48+ ดิจิตอลครอสโอเวอร์
dB-Mark XCA+ Series ดิจิตอลครอสโอเวอร์
สามารถสอบถาม ติดตามข่าวสาร และข้อมูลได้ที่ :
✅สนใจสั่งซื้อ RT-Drive DLM408 เว็ปไซต์ www.mynpe.com
✅ Line@ : http://bit.ly/LineMyNPEThailand
✅ Facebook : http://m.me/mynpethailand
✅ Twitter : twitter.com/mynpethailand
✅ Instagram : instagram.com/mynpethailand
✅ Youtube : www.youtube.com/user/mynpe
☎️ Tel : 02 225 0094 (Banmoh Branch)
Map : www.mynpe.com/mynpe-banmoh
☎️ Tel : 02 992 7379 (Zeer Rangsit Branch)
Map : www.mynpe.com/mynpe-zeer
☎️ Tel : 02 889 5498 (Salaya Branch)
Map : www.mynpe.com/mynpe-salaya