Shure QLX-D, ULX-D เป็นไมโครโฟนไร้สายระบบดิจิตอลบนคลื่น VHF รองรับ 100-280 ช่องสัญญาณ ให้คุณภาพเสียง 24-Bit @ 20Hz-20kHz ไดนามิกเร้นจ์ 120dB
หลายท่านคงคุ้นเคยหน้าตาของ Shure รุ่น QLX-D, ULX-D กันมาบ้างแล้ว ทั้ง 2 รุ่นนี้มีอะไรเหมือนกันหรือแตกต่างกันบ้าง มาดูที่ตัวแรก QLX-D จัดเป็นชุดไมโครโฟนไร้สายรุ่นเล็กสุดในระบบดิจิตอลของ Shure มีความสามารถในการส่งสัญญาณออดิโอความละเอียดที่ 24-Bit ตอบสนองความถี่ 20Hz-20kHz สามารถส่งได้เต็มแบนด์เลย มีไดนามิกเร้นจ์สูงถึง 120dB ค่อนข้างแตกต่างกับแอนาลอกนิดหนึ่ง
QLX-D4 มุมมองด้านหน้าและด้านหลังเครื่อง เป็น Digital Wireless Receiver
อุปกรณ์ตัวนี้สามารถบริหารจัดการ ให้สามารถส่งสัญญาณช่องได้จำนวนมาก สามารถเข้ารหัสได้ด้วยมาตรฐานโพรโตคอล AES 256-bit และเป็นรุ่นเริ่มต้นที่สามารถเชื่อมต่อกับเน็ตเวิร์กได้ รองรับระบบการสแกนของ ซอฟต์แวร์ Shure Workbench ในระบบไมโครโฟน Axient Digital1 มีอุปกรณ์แอคเซสซอรีตัวหนึ่งชื่อว่า AXT600 (Axient Spectrum Manager) จะไม่สามารถสแกนย่าน VHF ได้ หากต้องการสแกน VHF เพียงใช้ QLX-D เสียบเข้าไปแล้วสแกนได้เลย
ส่วนรุ่น ULX-D ถือเป็นรุ่นพี่ของ QLX-D ฟีเจอร์หลักจะเหมือนกันเกือบทั้งหมด ซึ่งคีย์พ้อยต์สำคัญของอุปกรณ์คือจะมีสิ่งที่เรียกว่า High Density โหมด หน้าที่คือจะช่วยเพิ่มจำนวนช่องการใช้งานมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ทั้งนั้นหากเราเลือกที่จะเพิ่มจำนวนช่องการใช้แล้ว จะทำให้กำลังส่งลดลง จากเดิมเคยส่งที่ 20 มิลลิวัตต์จะเหลือเพียง 1 มิลลิวัตต์ ให้เพียงพอกับการใช้งานในพื้นที่ของตัวเอง ไม่ไปรบกวนอุปกรณ์ตัวอื่น
ทีนี้จะเป็นตัวเลขเท่าไหร่ ไปติดตามกันต่อ ในการเข้ารหัสมีคุณสมบัติเหมือนเดิม ฟีเจอร์หนึ่งที่เป็นเทคโนโลยีชื่อว่า Shure Gain Ranging คืออะไร ค่าไดนามิกเร้นจ์จะสูงกว่าปกตินิดหนึ่ง หากเป็นรุ่นรับสัญญาณ 2 ช่อง และ 4 ช่อง จะสามารถรับส่ง Dante ได้ในตัว ไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์อื่นมาช่วยแปลงสัญญาณ
ULX-D4 มุมมองด้านหน้าและด้านหลังเครื่อง เป็น Digital Wireless Receiver
Audio Summing
นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชัน Audio Summing เป็นการรวมเอาเสียงออกไป ยกตัวอย่าง กรณีเรามีเครื่องส่งจำนวน 4 เครื่อง และมีวาระสำคัญที่ประธานบริษัทมายืนพูด ขณะเดียวกันเราต้องการส่งสัญญาณทุกตัวให้มีความเสถียรที่สุด เราจะใช้แอคเซสซอรีตัวหนึ่ง เรียกว่า Y-Port
แต่สัญญาณจากไมค์เหน็บปกเสื้อออกมาเข้าที่บอดี้แพ็ก 2 ตัว แล้วส่งมาเข้าที่ตัวเครื่องรับ เราเรียกว่า Bodypack Frequency Diversity คือมันจะนำสัญญาณจากบอดี้แพ็ก 2 ตัวนั้น เข้ามาประมวลผล เลือกสัญญาณออดิโอที่ดีที่สุด ที่มีความเสถียรแล้วส่งออกสัญญาณออดิโอมาให้เราใช้งาน ไม่ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นกับบอดี้แพ็กอีกหนึ่งตัว มั่นใจได้แน่ๆ ว่าบอดี้แพ็กอีกตัวยังทำงานอยู่ ยกเว้นแบตเตอรี่จะหมดพร้อมๆ กัน
รวมไปถึงการส่งสัญญาณเสียง เช่น อินพุตของมิกเซอร์ ไม่พอ เหลือเพียงช่องเดียว แต่เราต้องการนำสัญญาณไวร์เลสทั้ง 4 ตัว ส่งเข้าไปในช่องดังกล่าวให้ได้ ใครมี ULX-D สามารถใช้งานฟังก์ชันนี้ได้เลย นั่นคือ Audio Summing
ULX-D4Q มุมมองด้านหน้าและด้านหลังเครื่อง เป็น Quad-Channel Digital Wireless Receiver
ถามว่า Audio Summing ทำงานอย่างไร? วิธีการคือเรามีไมค์กี่ตัว ก็ยุบรวมกันแล้วส่งเป็นชุดเดียว แล้วส่งไปยังมิกเซอร์อินพุต 1 แชนเนล ส่วนโวลุ่ม Gain ก็ไปปรับที่หน้าเครื่อง Receiver อันนี้เป็นลักษณะการแก้ปัญหาที่จวนตัวจริงๆ ก็สามารถใช้งานได้ เพราะมันถูกออกแบบมาสำหรับงานติดตั้ง เพราะการเพิ่มจำนวนอินพุตด้วยการเพิ่มจำนวนมิกเซอร์อีกหนึ่งตัว คงไม่เหมาะสม รวมถึงเราอาจเห็นตัว Receiver บางรุ่นมีพอร์ต Dante ให้มา ช่องนี้รับส่งทั้งสัญญาณอีเธอร์เน็ตและ Dante คือส่งเสียงเข้าออกได้
เปรียบเทียบ QLX-D vs ULX-D
ลองเปรียบเทียบฟังก์ชันต่างๆ ของ QLX-D และ ULX-D ว่ามีอะไรต่างกันบ้าง หากพิจารณาจะพบว่าต่างกันประมาณ 5 เรื่องด้วยกัน ดังนี้
- High Density โหมด ในรุ่น QLX-D ไม่สามารถทำได้
- RF Output Level ของด้านส่ง ตัว QLX-D จะทำได้เพียง 1/10 มิลลิวัตต์เท่านั้น ส่วน ULX-D สามารถส่งได้ถึง 20 มิลลิวัตต์
- Antena Bias เป็นไฟที่จ่ายให้กับสายอากาศ ตัว QLX-D จะต้องใช้ตัวจ่ายแยก เช่น BiasT ในขณะรุ่น ULX-D มีระบบจ่ายไฟให้กับเสาอากาศในตัว
- รูปแบบระบบการสื่อสาร การติดตั้งอาจจะต้องมีการควบคุมไมโครโฟนเกิดขึ้น และบางครั้งมีจำนวนไมโครโฟนมาก เราจะต้องแบ่ง Subnets ในวงของเน็ตเวิร์ก ULX-D เป็นเพียงรุ่นเดียวที่สามารถสื่อสารข้าม Subnets ได้ และส่งคำสั่งมาคำนวณได้ แต่ออดิโอวิ่งอยู่บน Subnets เดิม
- การตรวจจับสัญญาณรบกวน เป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ได้เปลี่ยนช่องให้ มันจะกระพริบเตือนในช่องเฉยๆ ว่าให้เปลี่ยนช่อง จะต่างกับระบบของ Axient Digital ที่มีความสามารถในการเปลี่ยนความถี่
- การค้นหาสัญญาณรบกวนจะมีเฉพาะในรุ่น ULX-D เท่านั้น ส่วน QLX-D จะต้องไปตรวจเช็คผ่านหน้าซอฟต์แวร์ บนตัวเครื่องไม่สามารถทำได้
ULX-D4D มุมมองด้านหน้าและด้านหลังเครื่อง เป็น Dual-Channel Digital Wireless Receiver
ทั้ง 2 รุ่นจะมีฟีเจอร์หนึ่งคือ มีการเข้ารหัสระหว่างเครื่องรับกับเครื่องส่ง กล่าวคือต่อให้ตั้งความถี่เหมือนกัน แล้วมีคนอยากรู้ว่าห้องประชุมข้างๆ พูดอะไรกันบ้าง ซึ่งอาจรู้ว่าความถี่ที่ใช้ แล้วทำการจูนความถี่นั้นให้ตรงกัน เครื่องจะเห็นเฉพาะสัญญาณแต่เสียงจะไม่ดัง เพราะเมื่อมีการซิงโครไนซ์เข้ากับอุปกรณ์ Receiver จากนั้นไมโครโฟนทั้ง 2 รุ่นจะส่งโค้ดชุดหนึ่งไปที่เครื่อง Receiver เพื่อทำการเข้ารหัสแล้วส่งกลับมาเพื่อจะได้เปิดเสียงนั้นได้ กรณีที่ต้องการความปลอดภัย ไม่ต้องการโดนดักฟัง ออปชันนี้ถือว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่ง
สรุป
สำหรับอุปกรณ์ไมโครโฟนย่าน VHF ชื่อย่าน V52 ความถี่ตั้งแต่ 174-210MHz มีความกว้างทั้งหมด 36MHz เป็นค่าจำนวนช่องที่ทำได้ในรุ่น QLX-D ในสถานที่โล่งมากๆ ส่วน ULX-D ที่จัดการในโหมดปกติ สามารถรองรับได้ประมาณ 100 ช่อง
แต่ในกรณีที่เปิด High Density โหมด ซึ่งเป็นการลดกำลังส่งลงเหลือ 1 มิลลิวัตต์ เราสามารถใช้งานได้สูงสุดประมาณ 280 ช่องสัญญาณ สำหรับ QLX-D เป็นรุ่นประหยัด เพราะเป็นรุ่นน้องของ ULX-D ในโหมดปกติสามารถทำได้ใกล้เคียงกับรุ่นพี่คือ 100 ช่องสัญญาณ ทั้งหมดเป็นตัวเลขที่สรุปให้ ทั้งนี้ทั้งนั้นตัวเลขที่ใช้งานจริง อาจมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม เช่น Noise floor และการออกแบบสายอากาศ
สำหรับสภาพแวดล้อมในห้องประชุม การเลือกกำลังส่ง 1 มิลลิวัตต์นั้นเพียงพอต่อการใช้งาน หลายคนอาจมีคำถามในใจว่า วิทยุสื่อสารเครื่องดำจะเข้ามารบกวนหรือไม่ ปกติอุปกรณ์นี้จะใช้ความถี่ช่วง 136-174MHz และช่องแรกจะมี Gap Space ในช่วง 250kHz โดยช่องแรกจะเริ่มที่ 174.250MHz คือมีการเว้น Gap ไว้นิดหนึ่ง
หากใครต้องการปลอดภัยก็ดันสูงขึ้นไปอีกนิด ประมาณ 2MHz เพราะเรามีพื้นที่ให้เล่น 36MHz รวมแล้วมี 100 ช่อง โอกาสที่จะกระโดดข้ามมามีเปอร์เซ็นต์น้อย เพราะช่องสุดท้ายของวิทยุสื่อสารนั้นคือย่าน 173.197MHz นั่นแปลว่ามีช่วง Gap ห่างกันราว 500kHz
เชิงอรรถ
- Axient Digital – เป็นไมโครโฟนไร้สายที่พัฒนาต่อยอดจาก Axient Analog ซึ่ง Shure เคยประสบความสำเร็จมาแล้ว ในรุ่นดิจิตอลนั้น มีการเปลี่ยนเป็นระบบเป็นดิจิตอล โดยใส่ฟีเจอร์ใหม่ ให้สามารถทำงานได้เสถียรมากยิ่งขึ้น อาทิ วงจรคลื่นวิทยุ ให้กำลังสูง สามารถประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย สามารถเช็คมอนิเตอร์อุปกรณ์ อาทิเช็คสถานะแบตเตอรี่ เช็คความแรงของสัญญาณ ตรวจจับสัญญาณรบกวนได้
สำหรับท่านใดที่สนใจสินค้าสามารถสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าได้ที่:
บริษัท มหาจักรดีเวลอปเมนท์ จำกัด
โทร.02-2560020
หรือ www.mahajak.com และเพจ MahajakPro