Alto ZMX100FX มิกเซอร์ขนาด 4 แชนเนล มาพร้อมกับเอฟเฟ็กต์ Alesis และภาค Audio Interface 16-bit/48kHz
มิกเซอร์รุ่นนี้พัฒนาต่อยอดมาจาก Alto AMX100FX ซึ่งตัว AMX100FX นั้น เดิมทีเป็นดีไซน์ที่อยู่ภายใต้การบริหาร Alto ประเทศอิตาลี หลังจากที่กลุ่ม InMusic ฝั่งอเมริกาเข้าซื้อกิจการ Alto เขาจึงพัฒนามาเป็น ZMX100FX โดยมีการปรับปรุงฟีเจอร์หลายอย่าง ตัวอย่างเช่น เอฟเฟ็กต์ในรุ่น AMX100FX ก็จะเป็นแบบเดิมๆ สไตล์ Alto อิตาลี แต่รุ่น ZMX100FX จะใส่เอฟเฟ็กต์ของ Alesis ให้เลย 15 โปรแกรมพรีเซต
ฟีเจอร์ที่โดดเด่น
หากสำรวจตัวอุปกรณ์จากหลังตัวมิกเซอร์ ZMX100FX ส่วนแรกประกอบด้วยสวิตซ์ Phantom Power สำหรับจ่ายไฟ 48V ให้กับไมโครโฟนชนิดคอนเด็นเซอร์ ถัดมาเป็นสวิตซ์เปิด/ปิดตัวเครื่อง และช่องต่อกับอะแดปเตอร์ เมื่อก่อนมันจะเป็นช่องต่อกับปลั๊กไฟแบบ AC แต่ในรุ่นล่าสุดนี้จะใช้ไฟ DC +18V รับกระแสได้ต่ำสุด 0.8 แอมป์ขึ้นไป จะใช้กับหม้อแปลง 1-2 แอมป์ก็ได้
อย่างไรก็ดี สำหรับ ZMX100FX นั้นมีอะแดปเตอร์แถมให้ฟรี ถัดมาเป็นช่อง USB รองรับ เวอร์ชัน 1.1 หรือสูงกว่าได้ พอร์ต USB มีไว้เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้เพลย์แบ็กหรือบันทึกเสียงผ่านซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างรุ่น AMX100FX กับ ZMX100FX แต่รุ่นเก่าไม่มีพอร์ต USB จึงไม่สามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์หรือบันทึกเสียงได้
จุดเด่นของรุ่น ZMX100FX คือมีออดิโออินเทอร์เฟซในตัว ว่าไปแล้วฟีเจอร์นี้ดึงมาจากรุ่น Live ซึ่งเป็นรุ่นใหญ่กว่า หากพิจารณาสายการผลิต ZMX100FX ถือว่าเป็นรุ่นเล็กสุดที่มีออดิโออินเทอร์เฟซในตัว หากเป็นรุ่นเล็กกว่านี้จะไม่มีออดิโออินเทอร์เฟซ
- เป็นมิกเซอร์ขนาด 4 แชนเนล โดยแชนเนล 3/4 เป็น stereo
- เป็นออดิโออินเทอร์เฟซรองรับการบันทึกเสียงและเพลย์แบ็กด้วยค่า Bit-Depth 16-bit Sampling rate 44.1/48 kHz ผ่านพอร์ต USB
- มีช่อง XLR inputs และ gain trim จำนวน 2 ช่อง พร้อมสวิตซ์ high-pass filter และ 48V phantom power
- รองรับ iOS สามารถใช้กับ iPad ได้แต่ต้องต่อกับหัวแปลง USB Camera Adapter (ต้องซื้อแยก)
- มีลูกบิด EQ เพื่อปรับโทนเสียงได้อย่างแม่นยำ
- มีเอฟเฟ็กต์จำนวน 15 โปรแกรม จาก Alesis
- มีมิเตอร์ LED วัดระดับสัญญาณแบบรีล-ไทม์
- ต่อกับหูฟังได้ พร้อมกับลูกบิดคุมความดังเบาแยกอิสระ
- USB เป็นระบบ plug-and-play รองรับทั้ง PC และ Mac
สำรวจรูปลักษณ์ภายนอก
หากพิจารณาภายนอกของมิกเซอร์ ZMX100FX พบว่ามีจำนวน 4 แชนเนล โดยแบ่งเป็นแชนเนลของไมโครโฟน 2 แชนเนล นั่นคือแชนเนล 1 และ 2 และยังมีสเตริโอแชนเนลอีก 1 ช่อง นั่นคือแชนเนล 3/4 ส่วนแชนเนล 1 และ 2 เป็นโมโน การใช้งานแชนเนล 3/4 อาจมีข้อจำกัดในเรื่องการ Pan สัญญาณเสียง เพราะจะไม่สามารถ Pan ซ้าย-ขวาได้ เพราะแชนเนล 3 จะเป็นสัญญาณฝั่งซ้าย ส่วนแชนเนล 4 จะเป็นฝั่งขวา
เราลองมาไล่เรียงส่วนประกอบแต่ละแชนเนลว่ามีอะไรบ้าง เริ่มจากแชนเนลที่ 1 ช่องสำหรับเชื่อมต่อกับไมโครโฟนจะมีค่าคุณสมบัติอิมพีแดนซ์ต่ำคือ 600Ohms (Low Impedance) ใช้เป็นขั้ว XLR ตัวเมีย ถัดลงมาเป็นขั้ว LINE ซึ่งมีค่าคุณสมบัติอิมพีแดนซ์สูงคือ 10kOhms (High Impedance) ใช้ต่อกับสัญญาณไลน์ ที่เป็นอุปกรณ์เครื่องดนตรีต่างๆ เช่น กีตาร์ไฟฟ้า กีตาร์เบส และมีสวิตซ์ Low cut ให้ซึ่งคัตที่ย่าน 80Hz และมีลูกบิดปรับ Gain Input สามารถปรับเพิ่ม Gain ได้สูงถึง +20dB
ถัดลงมาเป็นส่วนที่ใช้ปรับแต่งเสียง EQ ตัวแรกจะเป็นลูกบิดสำหรับปรับ EQ ย่าน High ใช้ปรับโทนเสียงความถี่สูง อยู่ในช่วง 80Hz-12kHz ในรูปแบบ High pass filter และมีลูกบิดปรับย่านความถี่ต่ำ ถัดมาเป็นลูกบิดปรับเอฟเฟ็กต์ Send-Return เพราะมิกเซอร์รุ่นนี้มีเอฟเฟ็กต์ในตัว ถัดไปเป็นลูกบิด Pan สามารถปรับ Pan ซ้าย/ขวาได้ ซึ่งไม่ใช่ลูกบิดบาลานซ์ แต่หากเป็นแชนเนล 3/4 ลูกบิดจะเป็นบาลานซ์ ด้านข้างแต่ละแชนเนลจะมีหลอด LED สีแดง หน้าที่คือใช้แสดงสถานะของสัญญาณที่เข้ามา
ปกติแล้วสัญญาณที่ต่อเข้ามิกเซอร์ไม่ควรจะมีค่า Peak เพราะสัญญาณนั้นจะเกิดการผิดเพี้ยน หากมันขึ้น Peak ผู้ใช้จะต้องลด Gain ลง ถัดไปเป็นโวลุ่ม Level สามารถเพิ่มระดับความดังได้ถึง +10dB ทำงานเหมือนสไลด์เฟดเดอร์ หากสังเกตจะพบว่าแชนเนลที่ 1 และ 2 องค์ประกอบส่วนใหญ่เหมือนกัน แต่ในแชนเนลที่ 2 นั้นจะมีสวิตซ์ Guitar เพื่อให้ผู้ใช้ได้เลือกอิมพีแดนซ์ให้แมทซ์กับสัญญาณจากกีตาร์ไฟฟ้า
หากต้องการนำแชนเนล 1 ไปใช้กับกีตาร์ ผู้ใช้จะต้องต่อไมโครโฟนไปจ่อหน้าตู้แอมป์ แต่หากจะต่อสัญญาณของกีตาร์ตรงเข้ามิกเซอร์ ควรจะใช้แชนเนลที่ 2 ตัวอย่างการเชื่อมต่อใช้งาน แชนเนลที่ 1 ต่อกับไมโครโฟนสำหรับเสียงร้อง แชนเนลที่ 2 ต่อกับกีตาร์ ส่วนแชนเนล 3/4 ต่อกับคีย์บอร์ด
ถัดไปในส่วนแชนเนล 3/4 ขั้วอินพุตจะเป็นแบบช่อง Phone แต่ส่วนอื่นจะคล้ายๆ กับแชนเนล 1 และ 2 สิ่งที่ต่างกันคือลูกบิดบาลานซ์ คือมันจะเป็นบาลานซ์ซ้าย (Ch.3) /ขวา (Ch.4) ในขณะแชนเนล 1 และ 2 จะมีคุณสมบัติเป็น Pan ซึ่งแชนเนล 3/4 ออกแบบมาเพื่อใช้กับเครื่องเล่น CD เครื่องดนตรีพวกคีย์บอร์ด ผู้ใช้อาจจะบาลานซ์คีย์บอร์ด
ในส่วนภาคเอฟเฟ็กต์ มี 15 โปรแกรมพรีเซต หากนับโปรแกรมช่อง Bypass เข้าไปจะเป็น 16 โปรแกรมพอดี ด้านบนสุดเป็นเอฟเฟ็กต์ Chorus และ Room ถัดมาเป็น Bypass ถัดมาเป็นเอฟเฟ็กต์ Rotary อีกอันเป็น Hall ซึ่งมีให้เลือก 2 แบบคือแบบที่ 1 และ 2 ถัดมาเป็นเอฟเฟ็กต์ Delay มี Flange สำหรับ Room จะมีให้เลือก 3 แบบ ซึ่งเอฟเฟ็กต์ Room แต่ละแบบจะมีค่าความก้องต่างกัน ถัดมาเป็นเอฟเฟ็กต์ Plate ในการใช้งานเอฟเฟ็กต์นั้นก็ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งาน ว่าจะใช้กับเสียงแนวเพลง แนวดนตรีอะไร ถัดลงมาจะเป็นลูกบิดปรับระดับเอฟเฟ็กต์ Master Effect