“จ่ายกระแสไฟได้ 30 แอมป์ มีปลั๊ก 10 ช่อง และช่อง USB พร้อมฟังก์ชันตรวจเช็คระบบกราวน์ เฟส และการต่อไฟสลับสาย”
NPE MPR-1033DB และ MPR-1030DL เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่จากโรงงาน NPE หรืออุปกรณ์ประเภท Multiple Power Outlet Rack พูดง่ายๆ อุปกรณ์ตัวนี้เป็นเบรกเกอร์ติดแร็ครุ่นใหม่ที่ทางนัฐพงษ์ฯผลิตออกมา ปกติแล้วเวลาเราทำงานด้านระบบเสียง เรามักจะมีอุปกรณ์หลายๆ อย่างติดตั้งในตู้แร็ค
ปัญหาหนึ่งเมื่อนำอุปกรณ์ต่างๆ ไปใส่ไว้ในตู้แร็ค ก็คือเรื่องของปลั๊กเพาเวอร์ เพราะแต่ละเครื่องล้วนมีปลั๊กไฟของมันอยู่ เราจำเป็นต้องหาปลั๊กจากภายนอกมาพ่วงต่อ เพื่อความสะดวกจึงออกแบบอุปกรณ์เอาท์เล็ต ที่เป็นเพาเวอร์ปลั๊กไปติดไว้ในแร็ค
ดังนั้น เวลาใช้งานจะต้องเชื่อมต่อปลั๊กของอุปกรณ์ต่างๆ เข้ากับเอาท์เล็ทตัวนี้ทั้งด้านหน้าและหลัง จากนั้นใช้สายไฟเพียงเส้นเดียวไปเชื่อมต่อกับปลั๊กไฟภายนอก ตรงนี้จะทำให้เราใช้งานได้สะดวกขึ้น อุปกรณ์สายไฟต่างๆ เราสามารถเก็บหรือจัดระเบียบสายภายในตู้แร็คได้เรียบร้อยขึ้น เมื่อถึงหน้างานจะทำให้ทำงานง่าย พอไปถึงปุ๊บก็เสียบสายไฟใช้งานได้ทันที ทำให้เครื่องดูเรียบร้อย เคลื่อนย้ายง่าย
เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน
NPE MPR ซีรี่ส์ vs. ปลั๊กไฟธรรมดา
บางท่านอาจซื้อปลั๊กไฟตามท้องตลาดมาใช้ จริงๆ ก็ใช้งานได้ แต่หากพิจารณาถึงคุณภาพและการใช้งานหนักๆ ซึ่งปลั๊กรางส่วนใหญ่ที่เราซื้อมาใช้งานนั้น ส่วนใหญ่ผลิตด้วยพลาสติก ขั้วที่ต่อภายในจะเป็นทองแดงราง ยาวตามขนาดรางและมีช่องสำหรับปลั๊ก
เมื่อนำมาใช้กับการใช้งานในลักษณะโยกย้ายบ่อยๆ การใช้งานสมบุกสมบันหนักๆ โอกาสแตกพัง ช็อต เสื่อมมีสูงมาก สายที่มากับปลั๊กรางนั้นมักมีขนาดเล็ก ส่วนใหญ่มีขนาด 0.5 น้อยมากที่จะเจอเบอร์ 1 อุปกรณ์ไม่ค่อยแข็งแรง
หากเราต้องการอุปกรณ์ที่แข็งแรงก็ต้องหลีกเลี่ยงปลั๊กไฟเหล่านั้น ควรเลือกเป็นเอาท์เล็ตเฉพาะทางหรือ NPE MPR เพราะมันถูกออกแบบมาเพื่อใช้หนักๆ อยู่แล้ว การเดินสายภายในก็เป็นสายเดี่ยว ทำให้การจ่ายกระแสไฟฟ้าแต่ละจุดนั้น รองรับงานหนักได้ดีกว่า
เลือก NPE MPR รุ่นไหนดี
เนื่องจากนัฐพงษ์ฯผลิตเอาท์เล็ตออกมาหลายรุ่น อาทิ NPE MPR-1033DB และ MPR-1030DL แต่รุ่นพื้นฐานจะไม่มีอะไรมาก ด้านหน้ามีเบรกเกอร์ตัวเดียว สับเบรกเกอร์แล้วใช้งานได้เลย ในบทความนี้จะแนะนำเอาท์เล็ตที่พิเศษกว่า ปกติเอาท์เล็ตที่นัฐพงษฯทำมาในรุ่นก่อนหน้านี้ จะมีจำนวนปลั๊กเท่ากันคือ 8 ช่อง เหตุผลที่มีจำนวน 8 ช่อง เนื่องจากขนาดตัวอุปกรณ์และขนาดของแร็คถูกคำนวณได้ลงตัวพอดี ไม่สามารถขยายได้มากกว่านี้
ส่วนด้านหน้าจะทำเพิ่มมาให้ 2 ช่อง เท่ากับว่าใช้งานได้จริง 10 ช่อง ส่วนเบรกเกอร์มีขนาด 30 แอมป์ ปกติจะนิยมใช้ด้านหลังเป็นหลัก ส่วนด้านหน้ามักใช้กับอุปกรณ์หลอดไฟที่ให้แสงสว่างหน้าตู้แร็ค ชาร์จแบตเตอรี่ หรืออุปกรณ์ฉุกเฉินอื่นๆ
สำหรับฟังก์ชันที่ทำเพิ่มจากรุ่นพื้นฐาน จะมีไฟแสดงแรงดันไฟฟ้า (Volt) รวมถึงโชว์แอมป์ซึ่งเป็นค่ากระแสไฟฟ้าอีกด้วย ทำให้เรารู้ว่าไฟที่จ่ายเข้ามามีแรงดันและกระแสไฟฟ้าขณะนั้นมีค่าเท่าไหร่ เมื่อเราเสียบปลั๊ก อุปกรณ์จะโชว์ทันทีว่ามีไฟกี่โวลต์
แม้จะเปิดหรือไม่เปิดเบรกเกอร์ก็ตาม อุปกรณ์จะโชว์ให้ผู้ใช้เห็นก่อน รวมถึงมีอีกแถวหนึ่งที่โชว์การใช้กระแสไฟฟ้า กล่าวคือ เมื่อเปิดเครื่องปุ๊บ แล้วสับเบรกเกอร์ อุปกรณ์จะโชว์ว่าทั้งระบบใช้กระแสไฟฟ้าเท่าไหร่ โดยทั้งเครื่องรองรับได้สูงสุด 30 แอมป์ โดยแต่ละช่องจะจ่ายกระแสได้ประมาณ 10 แอมป์ เพราะอุปกรณ์รองรับค่ากระแสนั้นได้
กรณีเรามีอุปกรณ์กินกระแสไฟฟ้า 10 แอมป์ เราจะต่อกับเอาท์เล็ตนี้ได้จำนวน 3 ช่อง หรือกรณีเป็น 5 แอมป์ก็ได้ ซึ่งเมื่อรวมทั้งหมดแล้วจะต้องใช้กระแสไม่เกิน 30 แอมป์ กรณีใช้เกิน 30 แอมป์ อาจจะทำให้เกิดความร้อนสะสมแล้วละลายได้ ส่วนสายไฟจะรับได้ 30 แอมป์เช่นกัน ดังนั้น ในการนำไปใช้งานต้องดูความเหมาะสมอุปกรณ์ทั้งระบบด้วย
บางท่านอาจจะนำไปต่อกับเพาเวอร์แอมป์ ก็ทำได้แต่กระแสที่เพาเวอร์แอมป์ดึงไปจะต้องไม่เกิน 30 แอมป์ เช่นกรณีเพาเวอร์แอมป์ NPE ขนาด 1000W – 1600W จากที่มีการทดสอบ พบว่ากินกระแสแท่นละประมาณ 10 แอมป์ หากนำมาต่อพร้อมกัน 3 แท่น ถือว่ามากเกินไป แนะนำต่อ 1-2 แท่นกำลังดี แต่ก็ไม่ใช่พ่วงอุปกรณ์อย่างอื่นเข้าไปด้วย อย่างไรก็ดี วัตถุประสงค์ของเอาท์เล็ตรุ่นนี้ของ NPE ออกแบบมาเพื่อใช้กับตู้แร็คคอนโทรล พวกเอฟเฟ็กต์ EQ คอมเพรสเซอร์ และครอสโอเวอร์
ทำไมต้อง NPE MPR ซีรี่ส์
เอาท์เล็ตรุ่นนี้มีฟังก์ชันหนึ่งที่เพิ่มเข้ามาคือไฟบาร์ แร็คที่เราเห็นโดยทั่วไป จะประกอบด้วยอุปกรณ์ขนาด 1U มีเบรกเกอร์ มีปลั๊กไฟ ในรุ่น MPR-1033DB โดยหลักๆ แล้วจะเพิ่มไฟ LED ด้านหน้าเครื่องจะมีไฟหรี่ได้ มีลูกบิดปรับความสว่างของไฟได้ ทำให้ไฟส่องลงมาหน้าแร็คต่างๆ ที่อยู่ในตู้
ลองนึกภาพ เมื่อติดเอาท์เล็ตตัวนี้ไว้ด้านบนสุดของตู้แร็ค เวลาทำงานตอนกลางคืน สภาพแวดล้อมไม่ได้เปิดไฟสว่างๆ แต่เราต้องการปรับแต่งหน้าเครื่อง เราสามารถใช้ไฟตัวนี้ส่องหน้าปัดแร็คต่างๆ ในตู้ได้ อีกลูกเล่นหนึ่งที่เพิ่มมาในรุ่นล่าสุดคือมีระบบตรวจเช็คการเชื่อมต่อของสายไฟ ปลั๊กไฟ ทั้งหมด 3 แบบ
อย่างแรกตรวจสอบระบบกราวน์ ช่วยตรวจสอบว่าในระบบไฟที่เราใช้นั้นมีการต่อกราวน์ถูกต้องหรือไม่ กรณีเราใช้ปลั๊กที่ไม่มีกราวน์ เอาท์เล็ตรุ่นนี้จะเตือนเราว่าปลั๊กที่ใช้นั้นไม่มีกราวน์ หรือกรณีกราวน์ปกติ ระบบก็จะแสดงผลให้รู้เช่นกัน
นอกจากนี้ยังมีการเตือนการต่อสาย Line, Neutron หากมีการต่อสายสลับขั้ว อุปกรณ์จะเตือนทันที เพื่อให้เรารู้ว่าขณะนั้นสายต่อผิดขั้วอยู่ อาจจะมีการต่อสลับระหว่าง Line และ Neutron ในที่นี้เป็นระบบไฟฟ้าแบบซิงเกิลเฟส
แบบสุดท้ายเป็นการเตือนการต่อสายกราวน์ คือต่อขั้ว Line, Neutron เป็นขั้วกราวน์ อุปกรณ์ก็จะเตือนเช่นกัน ข้อดีของเอาท์เล็ตรุ่นนี้จะช่วยเตือนให้รู้ก่อนที่จะมีการจ่ายแรงดันไฟฟ้าให้แร็คต่างๆ เพื่อลดปัญหาอุปกรณ์ชำรุดเสียหายได้
ระบบแจ้งเตือนของ NPE MPR
ในระบบการเตือนของ NPE MPR ซีรี่ส์ เมื่อเวลาเราเปิดเบรกเกอร์ เปิดเครื่องให้ทำงานระบบจึงจะเริ่มเตือน หลังจากเปิดเบรกเกอร์ไฟฟ้าจะถูกจ่ายให้อุปกรณ์ต่างๆ ที่มีการเชื่อมต่อปลั๊ก ดังนั้นการใช้งานจะต้องระวังการเปิดเบรกเกอร์ เพราะตัวเครื่องจะเริ่มทำงานเมื่อมีการเปิดสวิตซ์แล้ว ซึ่งมันจะตรวจเช็คว่าสิ่งที่เรานำมาต่อกับปลั๊กนั้นมีสถานะเป็นอย่างไร จำเป็นต้องแก้ไขหากระบบเตือน
ปัญหาที่พบบ่อยๆ คือในระบบมีกราวน์หรือไม่มีกราวน์ และอีกอย่างคือปัญหา Line, Neutron มักจะต่อกลับขั้วกัน แต่ปัญหาสลับกราวน์กับ Line หรือ กราวน์กับ Neutron นั้นจะไม่ค่อยเจอ ปัญหาเรื่องกราวน์ที่เจอบ่อยๆ เพราะ ไฟฟ้าบ้านเราไม่ค่อยมีกราวน์ บางครั้งไฟเดินอาคารมาแล้วมีปัญหาไฟรั่ว เรามักจะโทษอุปกรณ์ แอมป์ตัวนั้นไม่ดี อุปกรณ์ตัวนี้ไม่ดี แล้วเถียงกันไม่จบ ทั้งๆ ที่ระบบโชว์ว่าไฟไม่มีกราวน์
บางคนเจอปลั๊ก 3 ขา แล้วตัดขากราวน์ออก จริงๆ ไม่ควรทำแบบนั้น เพราะจะทำให้อุปกรณ์นั้นจะไม่มีกราวน์ บางครั้งไฟจากอุปกรณ์ไม่ได้รั่วหรือช็อต แต่นำไปต่อกับคอมพิวเตอร์ เรารู้อยู่แล้วว่าคอมพิวเตอร์พีซีนั้น หากไม่มีกราวน์ไฟมักจะรั่ว
เมื่อมีการเชื่อมต่อกับออดิโอมาเข้าที่มิกเซอร์ มันก็มีไฟรั่วมาที่มิกเซอร์ แล้วสัญญาณจากมิกเซอร์ก็ต่อไปที่เพาเวอร์แอมป์ ไฟมันจึงรั่วไปทั้งระบบ ยิ่งไม่มีพวกกล่อง Isolate จะเจอปัญหาแน่นอน บางครั้งอาจเจอปัญหาจี่ฮัมอีกด้วย หากมีไฟรั่วมาอาจจะไล่ไฟลงกราวน์ได้ แต่หากไม่มีกราวน์มันก็ลอยอยู่ในระบบ
จริงๆ ปลั๊ก 3 ตาที่ใช้กันอยู่เราแน่ใจได้ยังไงว่ามันมีกราวน์ บางครั้งซื้อปลั๊กรางมา มีช่อง 3 รูก็จริง แต่พอแกะดูภายในปลั๊ก ไม่มีกราวน์เลย และบางสถานที่มีปลั๊ก 3 ตา แต่ไม่ได้เดินกราวน์ก็มี พอเราไปเสียบอุปกรณ์ระบบเตือนว่าไม่มีกราวน์ทันที เพราะมันอาจเป็นสายที่เดินมาใหม่ ไม่ใช่สายเก่าที่เดินไว้เพื่อใช้งานในระบบเสียง
ดังนั้นเหตุผลที่เราต้องซื้อเอาท์เล็ต หลักๆ เลยคือเรื่องการเตือนกราวน์ ความปลอดภัย ความสะดวก เพื่อรองรับการใช้งานหนักๆ เอาท์เล็ตที่นัฐพงษ์ฯทำออกมานั้น ไม่ได้ทำแค่การนำเต้าเสียบ 3 ตามาบัดกรีสายไฟ แต่มันมีระบบแจ้งเตือนสำคัญๆ ให้ใช้งาน ดังนี้
- กรณีไฟกราวน์สว่าง หมายถึง กราวน์ปกติ แต่หากไฟกราวน์ดับ หมายถึง ระบบไฟไม่มีกราวน์
- กรณี LED 1 เฟส 3 สาย ไฟสว่าง หมายถึง ระบบไฟถูกต้อง หากไฟดับต้องตรวจเช็คว่าอะไรผิด
- กรณี LED อยู่ในสถานะ Fault Wiring ไฟติดสว่างหมายถึงระบบไฟฟ้าที่จ่ายมานั้นมีความผิดปกติ
เมื่อเกิดปัญหาข้างต้นควรดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องโดยช่างผู้ชำนาญ ก่อนจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าดูดอย่างรุนแรง อาจทำให้เสียชีวิตได้
กรณีไฟ LED กราวน์สว่าง ถือว่ามีการต่อกราวน์ถูกต้อง และกรณี LED เฟส ไฟสว่างถือว่าระบบเฟสถูกต้องเช่นกัน ทั้งหมดมี 3 สี คือ เหลือง (Fault Wiring) เขียว (กราวน์) แดง (เฟส) ส่วนไฟ LED แบบหรี่เป็นรางยาวรุ่นนี้ปรับปรุ่งมาใหม่ ระบบในเอาท์เล็ตรุ่นเดิมจะเป็นแบบชัก
นอกจากนั้นยังมีช่อง USB ซึ่งมีทั้งด้านหน้าและหลังอุปกรณ์ ด้านหน้าจ่ายไฟ 5 โวลต์ 2 แอมป์ ไว้สำหรับชาร์จโทรศัพท์มือถือโดยเฉพาะ ซึ่งไม่ต้องไปต่อกับดิจิตอลมิกเซอร์ เพราะ USB บางช่องบนอุปกรณ์อื่นๆ ไม่ได้มีไว้สำหรับชาร์จโทรศัพท์/แท็บเลต
ส่วน USB ด้านหลังอุปกรณ์ใช้ต่อกับไฟส่องมิกเซอร์ มีสวิตซ์เปิดปิดอยู่ด้านหน้าเครื่อง กรณีมิกเซอร์เราไม่มีไฟส่อง เราก็ต่อสายยาวๆ ออกมาเป็นลักษณะเหมือนก้านไฟ หรือต่อหลอดไฟแบบอื่นก็ได้
เอาท์เล็ตกับเพาเวอร์แอมป์
กรณีต้องการเชื่อมต่อ NPE MPR กับเพาเวอร์แอมป์กำลังขับสูง อาจต้องเลือกเอาท์เล็ตรุ่นอื่นที่มีสเป็คสูงกว่า MPR-1033DB หรือ MPR-1030DL แล้วใช้งานแยกเป็นชุดๆ ซึ่งจะทำให้การใช้งานสะดวกขึ้น ไม่จำเป็นต้องใช้เบรกเกอร์ตัวเดียวแล้วต่อกับเพาเวอร์แอมป์ 1 แท่น แต่ถ้าเพาเวอร์แอมป์กินกระแสไม่สูง ก็สามารถนำไปใช้ร่วมกับตู้แร็คคอนโทรลได้ ใช้เบรกเกอร์ตัวเดียวต่อกับอุปกรณ์ทุกอย่างที่ใช้งาน
เมื่อใช้งานเสร็จก็ถอดปลั๊กปิดฝาแร็คแค่นั้นจบ ซึ่งมันจะดีกว่าการใช้งานที่ไม่มีเอาท์เล็ต บางคนใช้ปลั๊กธรรมดา ต่อรวมกันทั้งหมด ม้วนสายวางออกมานอกแร็ค เวลาจะเก็บก็ไม่สะดวกนัก ในขณะเอาท์เล็ตเบรกเกอร์ทั้ง 2 รุ่นนี้ จะมีระบบแจ้งเตือนข้อผิดพลาดต่างๆ ให้ทราบ ทั้งเรื่องกราวน์ เฟสไฟ และการต่อสายผิด ซึ่งมันจะดีกว่าการใช้ปลั๊กธรรมดา
หลายคนใช้ปลั๊กรางธรรมดาเห็นแล้วน่าห่วง แล้วข้ออ้างคลาสสิกที่พูดกันบ่อยๆ คือ “เดี๋ยวค่อยจัดการ” ซึ่งคำๆ นี้ไม่รู้ว่าจะทำเมื่อไหร่ การเลือกอุปกรณ์เบรกเกอร์นั้นควรพิจารณาจากอุปกรณ์ทั้งหมดที่กินกระแส หากนำอุปกรณ์ที่กินกระแสไม่สูงก็สามารถนำมาเชื่อมต่อได้ แต่หากเป็นอุปกรณ์ที่กินกระแสเยอะๆ หากนำมาต่อผ่านเบรกเกอร์เยอะๆ มันจะเกิดปัญหา ด้วยความที่อุปกรณ์ต่างๆกินกระแสพร้อมกันจากเอาท์เล็ตเบรกเกอร์ตัวเดียว
สรุป
สำหรับ NPE MPR-1033DB และ MPR1030DL มีขนาด 1U ส่วนใหญ่จะใช้กับตู้แร็คคอนโทรล ต่อกับมิกเซอร์หรือ EQ ก็ได้ ปกติตู้แร็คทั่วไปจะมีไมค์ลอย เอฟเฟ็กต์ โพรเซสเซอร์ต่างๆ หรือบางคนแยกตู้แร็คออกเป็นแร็คคอนโทรลเอฟเฟ็กต์ต่างๆ กับตู้แร็คไมค์ลอย ตู้แร็คเครื่องเล่น CD/MP3 ออกจากกัน การใช้งานอาจไม่จำเป็นต้องต่อให้ครบ 8 ช่อง ต่อแค่ 4 ช่องก็ได้
สำหรับผู้ต้องการเอาท์เล็ตไปใช้งาน ส่วนใหญ่มักจะมีปัญหาเรื่องการเลือกอุปกรณ์ และการนำอุปกรณ์ไปใช้ หลายคนซื้ออุปกรณ์ไปแล้วนำไปต่อกับเพาเวอร์แอมป์ 3 เครื่อง หรือ 6 เครื่อง เวลาใช้งานจริงจะทำให้เกิดโอเวอร์โหลด เมื่อเกิดปัญหาคนมักจะโทษอุปกรณ์
สิ่งที่อยากจะสื่อคือเวลาเราเลือกใช้งาน ควรเลือกอุปกรณ์ให้เหมาะกับสเป็คจะดีกว่า อย่ามองว่าเอาราคาถูกไว้ก่อน เพราะบางคนเน้นราคาถูกไว้ก่อน พอนำไปใช้งานจริงจึงเกิดปัญหา อันที่จริงสำหรับเอาท์เล็ตของนัฐพงษ์ฯรุ่นที่รองรับกระแสสูงๆ ก็มีเช่นกัน ช่องละ 15-20 แอมป์ก็มี ซึ่งได้ออกแบบมารองรับงาน PA โดยตรง
การเลือกอุปกรณ์จ่ายกระแสขนาดเล็กย่อมจ่ายกระแสไม่พออยู่แล้ว ดังนั้นควรพิจารณาตามความต้องการของอุปกรณ์ทั้งหมดที่ใช้งานอยู่ ฝากพิจารณากันดู
บทความที่เกี่ยวข้อง :
รีวิว NPE T-12000 เพาเวอร์แอมป์กำลังขับ 10400W
สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
บริษัท นัฐพงษ์ เซลส์แอนด์เซอร์วิส จำกัด
สำนักงานใหญ่บ้านหม้อ โทร 0-2225-0094
สาขาเซียร์รังสิต โทร 0-2992-7379
สาขาศาลายา โทร 0-2889-5496
หากสนใจสั่งซื้อสินค้าสามารถแวะเยี่ยมชมได้ทางเว็ปไซต์ www.mynpe.com และผ่านทาง Fanpage ของบริษัทได้ที่ www.facebook.com/mynpethailand หรือจะเข้ามา Follow twitter, Instagram, Line@ ของบริษัทก็ได้เช่นกันที่ @myNPEThailand ตามช่องทางที่สะดวก