NPE LA Series เครื่องขยายเสียงตามสาย แบบเพาเวอร์ไลน์ 2000W

NPE LA

NPE LA ไลน์แอมพลิฟายเออร์ มาพร้อมขุมพลัง 2000W ส่งได้ไกล กำลังไม่ตก มีให้เลือกจุใจ 5 รุ่น 250W ถึง 2000W เชื่อมต่อทั้งแบบโอห์มและไลน์โวลต์ 100V/200V

LA Series เป็นเครื่องขยายเสียงตามสาย ออกแบบในลักษณะเป็นเพาเวอร์ไลน์ โดยซีรี่ส์นี้มีทั้งหมด 5 รุ่น มีให้เลือกตั้งแต่ 250W จนถึง 2000W ผู้ใช้สามารถเลือกใช้งานตามกำลังวัตต์ที่ต้องการ จะเห็นว่าชุดแอมป์ซีรี่ส์นี้มีช่วงกำลังขับให้เลือกใช้กว้างพอสมควร

แอมป์รุ่นเล็กสุดคือ LA-250 เป็นแอมป์ตัวเล็กสุดของซีรี่ส์ โดยมาพร้อมกำลังขับ 250W RMS ถัดขึ้นมาเป็นรุ่น LA-500 ให้กำลังขับ 500W RMS ใหญ่ขึ้นมาอีกเป็นรุ่น LA-1000 รุ่นนี้ให้กำลังขับ 1000W RMS ทั้ง 3 รุ่นนี้เปิดตัวมาก่อน และได้เสียงตอบรับจากผู้ใช้งานเยอะพอสมควร

NPE LA Series

ผู้ใช้มักนิยมนำไปติดตั้งในงานระบบเสียงตามสาย งานติดตั้งถาวรตามสถานที่ต่างๆ เช่น ในห้องประชุม โรงงาน ศาสนสถาน และชุมชนหมู่บ้าน เป็นต้น

จากความต้องการของผู้ใช้ มีความต้องการแอมป์กำลังที่สูงขึ้น เพื่อตอบสนองงานติดตั้งที่ใช้ลำโพงจำนวนมาก ทางโรงงานนัฐพงษ์ฯ จึงได้เปิดตัวแอมป์เพิ่มมาอีก 2 รุ่น คือ LA-1500 ให้กำลังขับ 1500W RMS และรุ่น LA-2000 ซึ่งมีกำลังขับ 2000W RMS

สำหรับรายละเอียดที่น่าสนใจของแอมป์ LA Series มีดังนี้

รีโมทควบคุม NPE LA

ฟังก์ชันของแอมป์ที่น่าสนใจคือ รีโมทควบคุมการเปิดปิดเสียง ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยรู้จักกันเท่าไหร่ สำหรับฟังก์ชันนี้ใช้กรณีฉุกเฉิน นิยามคำว่าฉุกเฉินในที่นี้หมายถึงเกิดข้อผิดพลาดในระบบเสียง ซึ่งไม่ใช่เหตุฉุกเฉินภัยอันตรายทางกายภาพ

ในระหว่างใช้งานหากเกิดการหวีดหอน หรือมีเสียงไม่พึงประสงค์ออกมา จนไม่สามารถควบคุมได้ รีโมทตัวนี้จะถูกเชื่อมต่อกับตัวเครื่อง เช่น ในกรณีเกิดข้อผิดพลาดขึ้น

หากผู้ใช้กดรีโมทระบบจะตัดสัญญาณไม่ให้มีเสียงออกไปสู่ลำโพง จากนั้นผู้ใช้ทำการปิดเครื่องเพื่อตรวจเช็คระบบ หลังจากแก้ไขเสร็จแล้วให้ทำการเปิดสวิตซ์เครื่องอีกครั้ง พร้อมกับปิดสวิตซ์รีโมทเพื่อไม่ให้รีโมทควบคุมทำงาน 

ด้านหน้า NPE LA-250

สวิตซ์ Hotline Send

มีไว้สำหรับกรณีประกาศเหตุฉุกเฉิน ซึ่งอุปกรณ์จะตอบสนองเฉพาะอุปกรณ์ที่เป็น Hotline เท่านั้น พูดง่ายๆ คือ ในแต่ละห้อง ถ้ามีการต่อโวลุ่ม ซึ่งโวลุ่มตัวนั้นจะต้องมีระบบ Hotline ในตัว

กรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน หากเรานั่งทำงานอยู่ในห้องแล้วมีการปิดโวลุ่มเอาไว้ คือในระบบเสียงตามสายถ้ามีการต่อโวลุ่มในระบบเสียงตามสายนั้นไว้ เพื่อเปิดปิดการรับเสียงจากภายนอก แต่เมื่อมีการประกาศเหตุฉุกเฉินในขณะที่โวลุ่มปิดอยู่

ถ้าไม่มีระบบ Hotline หากมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น คนที่อยู่ในห้องจะไม่ทราบเหตุฉุกเฉินที่กำลังเกิดขึ้น ซึ่งระบบ Hotline จะถูกกำหนดมาจากห้องควบคุม โดยการเปิดสวิตซ์ Hotline ไม่ว่าโวลุ่มจะเปิดหรือปิด หากสวิตซ์นี้ทำงาน จะมีไฟแรงดัน 24 โวลต์ปล่อยออกมา เพื่อจ่ายไปยังโวลุ่มที่ถูกปิด ให้เปิดเสียงอัตโนมัติ และเสียงนั้นจะถูกประกาศออกมาเพื่อเตือนภัยให้ทราบสถานการณ์ขณะนั้นๆ

กรณีไม่มีระบบ Hotline ในส่วนนี้จะไม่สามารถตัดเสียงตัวเองได้อยู่แล้ว เสียงจะดังตลอดเวลา ฉะนั้นการประกาศก็จะไม่มีปัญหากับอุปกรณ์ที่ไม่มีโวลุ่ม Hotline ซึ่งในคู่มือจะระบุไว้ว่า [Hotline Send Switch เป็นสวิตซ์เปิดไฟ Hotline Relay Out ไปขับรีเลย์ให้ต่อลำโพงโดยตรงไม่ต้องผ่านตัวปรับความดัง]

ด้านหลัง NPE LA-250

ระบบป้องกัน

ตัวเครื่องมีการออกแบบระบบป้องกันกระแสไฟเกิน เช่น การลัดวงจร หรือกรณีไฟฟ้ากระแสตรงออกสู่ลำโพง หรือกระทั่งอุณหภูมิเกิน เป็นต้น เมื่อมีเหตุการณ์ดังกล่าวระบบของเครื่องจะตัดการทำงานทันที เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายกับลำโพงที่กำลังใช้งานอยู่

ด้านหน้าเครื่องจะมีไฟแสดงผล ว่าขณะนั้นเครื่องทำงานอยู่ในสภาวะไหน เช่น กรณีหากมีการกดสวิตซ์ Hotline สถานะไฟ Hotline จะแสดงผลออกมา กรณีเกิดการพีคของเสียง ค่าไฟ Peak ก็จะแสดงสถานะให้เห็น ส่วน Signal หากมีการใช้งานปกติไฟตัวนี้จะกระพริบเป็นสีเขียว

นอกจากนี้ยังมีไฟอื่นๆ เช่น ไฟแสดงสถานะ ON/OFF ไฟรีโมท ไฟ Protect ไฟ Overload ไฟ Temp (อุณหภูมิ) นับรวมแล้วมีทั้งหมด 8 สถานะ ทำให้เราสามารถรับรู้สถานะการทำงานของเครื่องในขณะนั้นได้เป็นอย่างดี

ด้านหลังเครื่อง NPE LA

ด้านหลังจะมีจุดเชื่อมต่อให้เลือกทั้งแบบ 4 โอห์ม 8 โอห์ม และแบบไลน์แมทชิ่ง 100V และ 200V พร้อมระบบระบายอากาศซึ่งทำหน้าที่ระบายอากาศจากด้านในออกสู่ภายนอก ลักษณะการทำงานจะดูดอากาศจากหน้าเครื่องซึ่งเป็นอากาศปกติ เข้าสู่ตัวเครื่อง แล้วดูดอากาศนั้นส่งผ่านตัวเครื่อง ไปด้านหลัง

ด้านหน้า NPE LA-500

การเชื่อมต่อ

ด้านหลังเครื่องจะมีเทอร์มินัลแบบขันน็อต ฉะนั้นจะใช้แบบหางปลาก็ได้  หรือจะใช้แบบสายเสียบแล้วขัน ล็อคให้แน่น ในการต่อไลน์โวลต์นั้น อุปกรณ์สามารถเชื่อมต่อกับลำโพงที่เป็น 100V และ 200V อย่างไรก็ดี ในการเลือกเชื่อมต่อแบบใดนั้น ผู้ใช้จะต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมของระบบ ของอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายกับอุปกรณ์ที่นำมาติดตั้ง

LA-250

LA-250 เป็นแอมป์รุ่นเล็กสุด จัดเป็นเครื่องขยายเสียงแบบไลน์แมทชิ่งซึ่งประกอบด้วย 2 อินพุต โดยอินพุตแรกเป็นอินพุตชนิดสัญญาณ Line ส่วนอินพุตที่ 2 เป็นอินพุตชนิดสัญญาณไมโครโฟน ซึ่ง LA-250 สามารถเชื่อมต่อกับไมค์ได้จำนวน 1 ตัว แต่ข้อจำกัดคือไม่สามารถปรับทุ้มแหลม ผู้ใช้จะปรับได้เฉพาะความดังเบาเท่านั้น ซึ่งเหมาะกับการต่อเพื่อใช้กับไมค์ประกาศ ที่เน้นความเรียบง่าย

สำหรับช่องเสียบใช้งานอินพุตสัญญาณ Line ด้านหลังเครื่อง จะเป็นขั้วต่อแบบ XLR และมีขั้วต่ออื่นๆ เช่นช่องสัญญาณ Link แต่ขั้วต่อกับไมค์จะเป็นชนิด TRS อยู่ด้านหน้าเครื่อง

นอกจากนี้ยังมีสวิตซ์สำหรับการฟิลเตอร์แบบ HPF (High pass filter) จุดตัดอยู่ที่ 200Hz แต่ตัวแอมป์จะตอบสนองความถี่ได้ตั้งแต่ 50Hz สังเกตุว่าแอมป์ประเภทไลน์แมชชิ่งนั้น จะไม่ออกแบบให้ตอบสนองความถี่ลงลึก เพราะส่วนใหญ่งานประเภทนี้ไม่ได้เน้นไปทางบันเทิงรื่นเริงที่ต้องการเบสหนักๆ

เนื่องจากแอมป์ประเภทนี้เน้นหนักด้านความชัดเจนของเสียง ไม่ว่าจะเป็นงานประกาศเสียงตามสาย งานสัมมนา งานประชุม เสียงดนตรีอาจมีบ้างแต่ไม่เน้นเรื่องอึกทึกคึกโครม ในกรณีเปิดเครื่องใช้งานปกติ แอมป์จะเริ่มตอบสนองที่ย่าน 50Hz เหมาะกับลำโพงฟูลเร้นจ์ แต่หากใช้สวิตซ์ HPF เครื่องจะทำงานตั้งแต่ย่าน 200Hz ขึ้นไป ในย่านความถี่ 200Hz นั้น ส่วนใหญ่จะใช้กับลำโพงฮอร์น

ด้านหลัง NPE LA-500

LA-500 และ LA-1000

สำหรับ LA-500 และ LA-1000 เป็นแอมป์ที่มีขนาด 3U ให้กำลังขับที่ 500W RMS และ 1000W RMS ตามลำดับ ในการเชื่อมต่อใช้งานจะเหมือนกับ LA-250 คือมีอินพุตอยู่ด้านหลัง เป็น XLR ตัวเมียติดแท่น ส่วนช่อง Link จะเป็น XLR ตัวผู้ติดแท่น ด้านหน้าเครื่องจะมีช่องเสียบไมค์

ด้านหน้าเครื่องจะมีฟังก์ชันเหมือนกันกับ LA-250 คือมีสวิตซ์ HPF 50Hz/200Hz พร้อมกับไฟแสดงสถานะการทำงานของตัวเครื่องจำนวน 8 สถานะ เช่น Power On, Signal, Peak, Hotline Relay, Remote Mute, DC Protect, OVL, Temp

แอมป์ทั้ง 2 รุ่นนี้ ให้กำลังขับสูงกว่า มีขนาดใหญ่กว่า รองรับวัตต์ลำโพงได้มากกว่า ในเครื่องมีพัดลมระบายความร้อนติดตั้งอยู่ด้านหลัง หลักการทำงานจะดูดลมจากด้านหน้าเครื่องแล้วปล่อยออกทางด้านหลัง

ดังนั้นจึงเหมาะกับประเภทงานที่ต้องการกำลังขับที่มากขึ้น เหมาะใช้กับลำโพงจำนวนมาก เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ในวงกว้าง หากต้องการต่อใช้งานในระยะทางไกลๆ แนะนำให้ต่อช่องเอาต์พุต 200V หากใช้งานในระยะใกล้แนะนำเป็นช่องเอาต์พุต 100V

ด้านหน้า NPE LA-1000
SpecificationsNPE LA-250 NPE LA-500 LA-1000
Output @4 Ohms250W 500W1000W
Rate Power 400VA 1100VA2024VA
Distortion
Mic in
Line in

<0.2%
<0.1%

<0.5%
<0.5%

<0.5%
<0.5%
Hum & Noise
Mic in
Line in

<-30dBu
<-55dBu

<-28dBu
<-53dBu

<-17dBu
<-46dBu
Input Sensitivity
Mic in
Line in

-50dBu
-10dBu

-50dBu
-10dBu

-50dBu
-10dBu
Weight 16.6kg 28.94kg38.8kg
ตารางเปรียบคุณสมบัติทางเทคนิค LA-250, LA-500, LA-1000
ด้านหลัง NPE LA-1000

LA-1500 และ LA-2000

แอมป์ทั้ง 2 รุ่น ถือเป็นรุ่นล่าสุดของซีรี่ส์นี้ มีการออกแบบลูกเล่นมากขึ้น สำหรับรุ่น LA-1500 เป็นแอมป์ที่มีกำลังขับ 1500W RMS สามารถเชื่อมต่อกับลำโพงได้จำนวนมากขึ้น ส่งสัญญาณได้ไกลขึ้น เมื่อเทียบกับรุ่นเล็กกว่า

ฟังก์ชันที่ออกแบบเพิ่มเติม คือภาคอินพุต ปกติช่องอินพุตสำหรับสัญญาณที่ไม่ใช่ช่องไมค์ เมื่อเทียบกับรุ่น LA-250, LA-1000 และ LA-1500 จะมีอินพุตสัญญาณเพียงช่องเดียว และช่อง Link

บนตัว LA-1500 จะมีจำนวนช่องอินพุตสัญญาณให้ 2 ช่อง เป็น A/B ผู้ใช้จะเลือกใช้เพียงช่องเดียวหรือใช้พร้อมกัน 2 ช่องก็ได้ โดยทั่วไปในระบบเสียงตามสาย แหล่งกำเนิดเสียงมักจะมาจากตัวมิกเซอร์ หรือปรีแอมป์

ดังนั้นเอาต์พุตสัญญาณที่จ่ายออกมามักจะเป็น L/R ในกรณีแอมป์มีช่องต่อไลน์จุดเดียวอาจต้องใช้อุปกรณ์เสริมเข้าไป หรืออาจดึงสัญญาณจากช่อง Aux มิกเซอร์ก็ได้ หรือช่อง Pre Out ก็ได้ ซึ่งวิธีนี้อาจเหมาะกับแอมป์ 3 รุ่นก่อนหน้า

ด้านหน้า NPE LA-1500

การออกแบบ LA-1500 ได้เพิ่มช่องอินพุตสัญญาณ จึงช่วยลดอุปกรณ์เสริมไปในตัว โดยเฉพาะกรณีผู้ใช้มีอุปกรณ์จำกัด เราไม่แนะนำลิงค์สัญญาณระหว่างเครื่องเกิน 2 เครื่อง เพราะจะทำให้อิมพีแดนซ์สูงขึ้น ทำให้คุณภาพเสียงลดลงเรื่อยๆ แต่สามารถใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า Distributor Amplifier มาใช้ร่วมกันได้ โดยอุปกรณ์นี้จะทำหน้าที่รวมสัญญาณเพื่อจ่ายให้แอมป์หลายๆ เครื่อง

อย่างไรก็ดี ในระบบเสียงตามสายที่ติดตั้งแอมป์น้อยกว่า 2 เครื่อง ไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ดังกล่าว เราสามารถลิงค์สัญญาณจากเครื่องที่ 1 มายังเครื่องที่ 2 ได้เลย

ในส่วนของอินพุต A/B จะรับสัญญาณมาจากมิกเซอร์หรือเครื่องขยายตัวอื่น แบบ L/R เข้ามา ซึ่งปกติแล้วหากรวมสัญญาณเป็นโมโนคุณภาพเสียงมักจะดร็อปลง แต่แอมป์รุ่น LA-1500 จะมีวงจรเฉพาะช่วยให้เสียงไม่ดร็อป หากระบบเสียงมีมิกเซอร์ 1 ตัวหรือปรีแอมป์ 1 ตัวและแอมป์ 1 ตัวก็สามารถใช้งานได้เลย

ในกรณีมีไมค์ตัวเดียว สามารถนำมาเชื่อมต่อกับแอมป์ก็สามารถใช้งานได้เช่นกัน แต่ข้อด้อยคือผู้ใช้จะไม่สามารถปรับแต่งโทนเสียงได้ ผู้ใช้จะปรับได้เฉพาะความดังเบาเท่านั้น

การต่อใช้งานแอมป์ จะเหมือนกับแอมป์รุ่นอื่นในซีรี่ส์นี้ เพียงแต่ว่า แอมป์รุ่นนี้จะให้กำลังขับสูงกว่า และต่อกับลำโพงได้จำนวนมากกว่า พร้อมกับมีอินพุตสัญญาณมากกว่า

LA-2000 มีฟังก์ชันการใช้งานเหมือนกับ LA-1500 แต่จะให้กำลังขับสูงกว่า เพื่อรองรับระบบเสียงที่มีขนาดใหญ่

ด้านหลัง NPE LA-1500
SpecificationsNPE LA-1500NPE LA-2000
Output
@4 Ohms
@100V/200V

1300W
1500W

1800W
2000W
Rate Power2420VA 3350VA
Distortion
Mic in
Line in

<1%
<1%

<1%
<1%
Hum & Noise
Mic in
Line in

<-22dBu
<-47dBu

<-22dBu
<-41dBu
Input Sensitivity
Mic in
Line in

-51dBu
-12dBu

-50dBu
-10dBu
Weight 43.14kg 50.2kg
ตารางเปรียบคุณสมบัติทางเทคนิค LA-1500, LA-2000

แนวทางการติดตั้งระบบเสียง

สำหรับแนวทางการติดตั้งระบบเสียง ผู้ออกแบบแต่ละคนอาจมีวิธีการติดตั้งระบบเสียงไม่เหมือนกัน เช่น ติดตั้งเพาเวอร์แอมป์ไว้ต้นทาง แล้วลากสายลำโพงตั้งแต่หน้าหมู่บ้านไปยังท้ายหมู่บ้าน โดยทั่วไปถ้าเป็นโครงการหมู่บ้านจัดสรร ตำแหน่งของออฟฟิศนิติบุคคลหรือส่วนกลางมักจะอยู่หน้าหมู่บ้าน

หากพื้นที่หน้างานลักษณะนี้ไม่ควรลากสายจากจุดเดียวแล้วกระจายไปทั่วหมู่บ้าน แต่ควรเลือกเดินสายชุดเดียว แล้วไปหาจุดจั๊ม ในลักษณะแบบ Star เพื่อให้คุณภาพเสียงที่กระจายจากแอมป์มีคุณภาพเท่ากันทุกจุด ซึ่งจะไม่ทำให้ลำโพงจุดใดจุดหนึ่งมีเสียงดร็อปลง

ด้านหน้า NPE LA-2000

การเดินสายแบบ Star จะเป็นลักษณะการเดินสายแบบทั่วทิศ ในกรณีเครื่องควบคุมอยู่กลางหมู่บ้านจะถือว่าดีมาก จะทำให้ระยะทางการเดินสายจากตรงกลางไปยังท้ายซอยต่างๆ มีระยะใกล้เคียงกัน แบบนี้คุณภาพเสียงจะดังใกล้เคียงกัน

หากเลือกไม่ได้ แนะนำให้เลือกสายที่มีขนาดใหญ่ ไม่แนะนำให้พึ่งพาสายลำโพงเส้นเดียว เพราะต้องพิจารณาความยาวของสาย เนื่องจากสายที่ยาวมาก สัญญาณยิ่งหายไปมาก ยิ่งมีลำโพงเยอะ สัญญาณจะยิ่งตกคร่อมตัวลำโพงเยอะ

ฉะนั้น การออกแบบระบบเสียงตามสายไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องเข้าใจหลักการของพื้นฐานอิเล็กทรอนิกส์ไฟฟ้าพอสมควร

ใช้กับสายลำโพงแบบไหน

ในอดีตมีสายลำโพงประเภทหนึ่งที่เรียกว่าสาย Drop Wire Cable เดิมทีการเดินสายในระบบเสียงตามสายนั้น เช่น ในระบบเสียงตามสายภายนอก ในชุมชนหมู่บ้านต่างๆ ซึ่งไม่นับรวมระบบภายในอาคาร จะนิยมใช้สาย Drop Wire ไซด์ยอดนิยมคือ 2×0.9 mm2 ซึ่งสายประเภทนี้มักใช้กับสายโทรศัพท์พื้นฐาน ปัจจุบันน่าจะเปลี่ยนมาเป็นสายไฟเบอร์ออฟติกกันแล้ว

หากใช้สายประเภทนี้ จะต้องใช้เพาเวอร์แอมป์กำลังขับสูงๆ เพื่อให้กำลังขับส่งไปยังปลายทางได้อย่างเพียงพอ ตัวสายเป็นสายลวดแกนเดี่ยว มีสลิงสำหรับขึงสายให้ตึง จุดเด่นสายประเภทนี้จะทนต่อสภาพอากาศได้ดี

ปัจจุบันในงานระบบเสียงตามสาย จะมีสายอีกประเภทที่ถูกผลิตขึ้น ขนาดใหญ่ขึ้น ไซด์ 2×1 mm2, 2×1.5mm2, 2×2.5mm2 ตัวสายประกอบด้วยลวดสลิง และยังมีตัวนำสัญญาณ 2 เส้น ภายในมีแกนฝอย มีความนิ่มใช้งานง่าย

ในกรณีที่ต้องการเดินระบบในระยะทางไกลๆ หรือต้องการความอิ่มของเสียง แนะนำให้ใช้งานที่มีขนาดใหญ่กว่า 2×1.5mm2 หรือกรณีซอยระบบอาจเลือกเป็นสายขนาด 2×1 mm2 หรือ 2×0.9 mm2 ก็ได้ ซึ่งเหมาะสำหรับการส่งระยะใกล้ หากใช้สายขนาดดังกล่าวนี้ จะช่วยลดปัญหาของเสียงที่ส่งตามสายได้ดี

ด้านหลัง NPE LA-2000

สรุป

LA Series ถือเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ของบริษัทนัฐพงษ์ฯ ที่ถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อตอบโจทย์ผู้ที่ต้องการระบบเสียงตามสายทั้งขนาดเล็กไปจนถึงระบบเสียงขนาดใหญ่

LA Series เป็นเครื่องขยายเสียงแบบไลน์แมทชิ่ง มีด้วยกันจำนวน 5 รุ่น สามารถเลือกใช้ได้ตามต้องการ และงบประมาณที่มี

 หากท่านกำลังมองหาแอมป์ เพื่อใช้กับระบบประกาศขนาดเล็กอาจเริ่มต้นด้วย LA-250 แอมป์รุ่นนี้ให้กำลังขับ 250 วัตต์ หรือหากต้องการกำลังขับมากขึ้นอีก อาจเลือกรุ่น LA-500, LA-1000 โดยแอมป์ทั้งสองรุ่นถือเป็นแอมป์ระดับกลางๆ เพราะให้กำลังขับ 500 วัตต์ และ 1000 วัตต์

หากท่านต้องการแอมป์ขนาดใหญ่ เพื่อใช้กับระบบเสียงขนาดใหญ่ ให้ระยะส่งไกลกว่า ควรเลือกเป็นรุ่น LA-1500 หรือ LA-2000 นอกจากจะเหนือกว่าด้านกำลังขับแล้ว แอมป์ทั้งสองรุ่นนี้ยังมีช่องเชื่อมต่ออินพุตสัญญาณมากกว่าอีกด้วย

LA1000 07

บทความที่เกี่ยวข้อง :

NPE LTA Series เพาเวอร์มิกเซอร์ 2000W

NPE PMD Series เครื่องขยายเสียงตามสาย 1000 วัตต์

สามารถสอบถาม ติดตามข่าวสาร และข้อมูลได้ที่ :

สนใจสั่งซื้อสินค้า ผ่านเว็ปไซต์
www.mynpe.com/
Line@ : http://bit.ly/LineMyNPEThailand
Facebook : http://m.me/mynpethailand
Twitter : twitter.com/mynpethailand
Instagram : instagram.com/mynpethailand
Youtube : www.youtube.com/user/mynpe

Tel : 02 225 0094 (Banmoh Branch)
Map : www.mynpe.com/mynpe-banmoh
Tel : 02 992 7379 (Zeer Rangsit Branch)
Map : www.mynpe.com/mynpe-zeer
Tel : 02 889 5498 (Salaya Branch)
Map : www.mynpe.com/mynpe-salaya

Read Previous

NPE EN-234 อนาล็อกครอสโอเวอร์ 4 ทาง

Read Next

ร่วมเฉลิมฉลอง JBL ครบรอบ 75 ปี!! กับโปรโมชั่นสินค้า ลดสูงสุด 70%