NPE DA-408 Distribution Amplifier อุปกรณ์จัดการสัญญาณ

NPE DA-408

NPE DA-408 รองรับการเชื่อมต่อ 4 อินพุต 8 เอาต์พุต ค่าความไว -15dB จนถึง +6dB ค่า Gain ของสัญญาณเท่ากับ +4dBu

DA-408 เป็นอุปกรณ์อีกตัวที่มีฟังก์ชันใกล้เคียงกับ LB202 แต่จะมีบางอย่างที่พิเศษกว่า สำหรับ LB202 นั้นจะมีฟีเจอร์เข้า 2 ออก 2 เช่นเข้า A ออก A และ เข้า B ออก B ไม่สามารถไขว้สัญญาณกันได้

แต่อุปกรณ์อีกตัว ปัจจุบันยังหายาก มักนิยมใช้กับอุปกรณ์โพรเซสเซอร์ ดิจิตอลครอสโอเวอร์ เมทริกซ์ ซึ่งมักจะอยู่ในรูปของดิจิตอล แต่ว่าอุปกรณ์ตัวนี้เป็นอะนาล็อก ไม่ต้องใช้ฟังก์ชันคอมพิวเตอร์

NPE DA-408

ภาพรวมอุปกรณ์

อุปกรณ์ตัวนี้สามารถประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับผู้ออกแบบจะนำไปใช้งาน นั่นคือ Distribution Amplifier รุ่น DA-408 เป็นสินค้าของ NPE ผลิตและออกแบบทางนัฐพงษ์ทางแผนก R&D ของโรงงานนัฐพงษ์ฯ คุณสมบัติตัวเครื่องหน้าที่หลักคือเป็นตัวแยกสัญญาณเสียง สังเกตจากชื่อรุ่น DA-408 ฉะนั้นตัวเครื่องจะมีทั้งหมด 4 อินพุต 8 เอาต์พุต

ในส่วนของอินพุตสิ่งที่พิเศษคือ มันจะมีโวลุ่มควบคุมให้จำนวน 4 อินพุต แยกอิสระ ในด้านเอาต์พุตจะมีโวลุ่มของแต่ละเอาต์พุตให้แยกอิสระเช่นกัน ค่าความไวของฝั่งอินพุต สามารถปรับได้ตั้งแต่ -15dB จนถึง +6dB แต่ Gain ของสัญญาณจะเท่ากับ +4dBu ค่าสูงสุดรับได้ +22dBu ค่าอินพุตอิมพีแดนซ์จะรับได้ 10k Ohms ในรูปอันบาลานซ์ และ 20k Ohms ในรูปบาลานซ์

หากพิจารณาทางฝั่งเอาต์พุต โหลดอิมพีแดนซ์จะเท่ากับ 600 Ohms ค่าความแรงสูงสุดของเอาต์พุตคือ +27dBu ส่วนค่า Gain Output เท่ากับ -15dB จนถึง +6dB ในส่วนนี้สามารถเพิ่มลดความดังผ่านโวลุ่มได้ ตรงนี้ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ว่าต้องการความแรงของสัญญาณมากแค่ไหน

ปกติหากไม่จำเป็นจะไม่บูตส์สัญญาณขึ้น คือพยายามให้จัดรูปแบบให้สัญญาณอยู่ในระดับผลต่าง 0dB หมายความว่าอินพุตป้อนมาเท่าไหร่ เอาต์พุตควรจะปล่อยออกมาเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องเพิ่มระดับความดังของสัญญาณ เพราะวัตถุประสงค์ของอุปกรณ์เป็นแค่ตัวกระจายสัญญาณเท่านั้น

ฟังก์ชันการทำงานของเครื่อง

ลักษณะการใช้งานตัว DA-408 นั้น เหมือนแมทริกซ์ มิกเซอร์หรือ Splitter ก็ว่าได้ จึงสามารถทำงานได้หลากหลายรูปแบบ มีรายละเอียดดังนี้

การทำงานในลักษณะมิกเซอร์

ยกตัวอย่างกรณีในระบบเสียงมีมิกเซอร์จำนวน 2 ตัว ซึ่งต้องการให้สัญญาณไปออกจุดเดียวกัน ปกติจะนำมิกเซอร์ตัวที่ 1 และ 2 มาต่อพ่วงกัน ปัญหาคือมิกเซอร์ตัวที่ 2 จะเสียอินพุตไปจำนวน 2 ช่อง เพราะรับสัญญาณจากเอาต์พุตของมิกเซอร์ตัวที่ 1 หรือมิกเซอร์ตัวแรกเป็นดิจิตอล

ตัวที่ 2 เป็นอะนาล็อก เวลาเปิดเพลงเราอาจเปิดจากอะนาล็อก เวลาทำงานดนตรีเราอาจใช้ตัวดิจิตอล กรณีนี้เราต้องการเอาต์พุตให้ออกชุดลำโพงเดียวกัน หากเราไม่มีอุปกรณ์ Distribution เราจะเสียช่องอินพุตไปตามที่กล่าวมา

กรณีในผับแห่งหนึ่ง ที่มีมิกเซอร์ดีเจ มิกเซอร์แบนด์ ทีนี้เราต้องการจะเล่นมิกเซอร์ทั้ง 2 ตัวพร้อมกัน มีวันหนึ่งที่มิกเซอร์แบนด์ต้องใช้แชนแนลเยอะ จนไม่พอใช้งาน หากไม่มี อุปกรณ์ Distribution แบบนี้จะทำให้เสียอินพุตไป 2 ช่องเช่นกัน แต่หากมีอุปกรณ์ตัวนี้ เราจะไม่เสียช่องอินพุตของมิกเซอร์แบนด์

สำหรับ DA-408 เป็นอุปกรณ์ Distribution ที่มี 4 อินพุต และ 8 เอาต์พุต แต่งานนี้เราต้องการใช้ 4 อินพุต และ 2 เอาต์พุต เราจะทำอย่างไร วิธีการคือ ให้เราป้อนสัญญาณจากมิกเซอร์ดีเจ เข้าไปที่อินพุต A (ซ้าย) และ B (ขวา) พอเป็นมิกเซอร์แบนด์ให้ต่อที่ช่องอินพุต C/D (ซ้าย/ขวา)

สำหรับฝั่งเอาต์พุตเราต้องการเพียง 2 เอาต์พุต คำถามคือจะต้องทำยังไง ด้านหน้า DA-408 สามารถเลือกได้ว่าจะให้อินพุต A, B, C, D ไปออกเอาต์พุตไหนได้บ้าง ซึ่งในกรณีตัวอย่างนี้ เรากำหนดไว้ว่าต้องการเพียง 2 เอาต์พุตเท่านั้น A = ซ้าย, B = ขวา, C = ซ้าย, D = ขวา

จากนั้นให้กำหนดเอาต์พุตว่าต้องการอะไรให้เป็นซ้าย/ขวา เช่น 1 เป็นซ้าย ด้านหน้าเครื่องจะมีสวิตซ์ให้เลือก โดยการดิฟ 1 ลงมา ส่วนอินพุต B ให้ดิฟ 2 ลงมา จากนั้นสัญญาณ A/B จะออกที่ 1/2 ส่วน C หากต้องการให้ออก 1 ให้ดิฟลงมา และ D หากต้องการให้ออก 2 ให้ดิฟ 2 ลงมา

ด้วยวิธีเซตข้างต้นนี้จะทำให้สัญญาณออกเอาต์พุตชุดเดียวกัน สัญญาณจากเอาต์พุตสามารถนำไปต่อกับอุปกรณ์ EQ, ครอสโอเวอร์หรือโพรเซสเซอร์ต่างๆ ได้ ขั้นตอนถัดไปจะต้องบาลานซ์สัญญาณ ให้ได้ตามความเหมาะสม คือไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป

สำหรับตัวอย่างของการจัดการมิกเซอร์ที่ต้องการให้เป็นตัวรวมสัญญาณจาก 4 อินพุตให้เป็น 2 เอาต์พุต ถือว่าเป็นการจัดการเสร็จสิ้น ด้วยวิธีการดิฟสวิตซ์ด้านหน้าอุปกรณ์

สังเกตว่าโวลุ่มของอุปกรณ์ ทั้งที่ปรับความดังของอินพุตจึงฝังอยู่ด้านในแท่นอุปกรณ์ นั่นเพราะไม่ต้องการให้ใครมาปรับแต่งค่าสัญญาณได้ง่ายๆ ซึ่งถ้าปรับแต่งได้ง่าย โอกาสจะทำให้สัญญาณผิดไปจากเดิมก็มีสูง

สมมติเรามีแค่อินพุตชุดเดียวที่ป้อนเข้ามา แต่เราต้องการกระจายออกไป 8 เอาต์พุต โดยลักษณะสัญญาณที่ออกมาเหมือนกัน เพื่อกระจายไปยังอุปกรณ์อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพาเวอร์แอมป์ หรือโซนต่างๆ ให้เราป้อนสัญญาณอินพุตเข้ามา ซึ่งอาจจะเลือกชุดอินพุต A, B, C, D

จากนั้นให้กำหนดสัญญาณที่จะออกไปยังเอาต์พุต เช่น สัญญาณเข้าที่อินพุต B หรือช่อง A กรณีต้องการให้สัญญาณไปออกเอาต์พุตทั้ง 8 ก็ให้ดิฟสวิตซ์ลงมาทั้ง 8 ตัว ผลคือจะทำให้สัญญาณที่ต่อเข้าอินพุต A ไปออกเอาต์พุตทั้ง 8 ช่อง โดยระดับสัญญาณจะกระจายไปยังอุปกรณ์ภายนอกเท่าๆ กัน

ยกตัวอย่าง ในระบบเสียงของเรา สัญญาณที่ออกจากครอสโอเวอร์ เป็นเสียงซับเบส รอบนี้เราต้องการซับเบสจำนวนมาก เพื่อให้ได้เสียงเบสเยอะ ซึ่งจะต้องใช้จำนวนเพาเวอร์แอมป์และลำโพงมากขึ้น โดยแอมป์ทุกตัวจะขับย่านความถี่เสียงจากแหล่งกำเนิดเดียวกัน

ในกรณีระบบเสียงที่ไม่มีตัวกระจายสัญญาณ เราจะป้อนสัญญาณเข้าไปที่แอมป์ตัวที่หนึ่ง แล้วทำการลิงค์เอาต์พุตของแอมป์ตัวที่หนึ่งไปยังอินพุตแอมป์ตัวที่สอง สาม ไปเรื่อยๆ

การลิงค์สัญญาณหลังแอมป์นั้น มีข้อด้อยคือค่าอิมพีแดนซ์จะเปลี่ยนแปลงไปด้วย ซึ่งหากลิงค์กันมากก็จะมีผลมาก เมื่อลิงค์แอมป์ตัวแรกสัญญาณอาจจะไม่เปลี่ยนมากนัก แต่พอลิงค์หลายๆ ตัวอิมพีแดนซ์ก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

เมื่ออิมพีแดนซ์ในสายเพิ่มขึ้น ก็จะทำให้ระดับสัญญาณดร็อปลง สัญญาณเสียงก็จะผิดเพี้ยนไป รูปโพลาร์แพทเทิร์นของซับก็จะบิดเบี้ยว แม้จะมีการหมุนโวลุ่มของแอมป์ไปสุดก็ตาม

อย่างไรก็ดี ด้วยอุปกรณ์ตัวนี้จะช่วยท่านได้ แทนที่จะลิงค์ด้านหลังของแอมป์ก็ให้ต่อผ่านตัวกระจายสัญญาณแทน เพื่อจ่ายให้แอมป์ทั้ง 8 แท่นได้เท่าๆ กัน ทั้งระดับสัญญาณและอิมพีแดนซ์ นี่คือจุดแข็งของ Distribution Amplifier

การรวมสัญญาณในลักษณะมิกเซอร์

อีกตัวอย่างเป็นการรวมสัญญาณแบบมิกเซอร์ ให้ออกไปเอาต์พุตเดียว เช่นเราต้องการป้อนสัญญาณทั้ง 4 สัญญาณอินพุต หรือมีมิกเซอร์ 2 ชุดเหมือนกรณีแรกๆ ที่ยกตัวอย่างไว้ ซึ่งมี A, B แต่ตัวอย่างนี้จะมีลักษณะ รับอินพุตที่ต่างกันแล้วรวมให้ออกเอาต์พุตชุดเดียว

เช่นการเดินระบบ Line ในระบบอาจมีแอมป์เพียงตัวเดียว ขนาด 2000W ใช้ขับเสียงให้ดังทั่วทั้งหมู่บ้าน อาจจะมีแหล่งกำเนิดเสียงจากมิกเซอร์ มาเข้าแอมป์ตัวนี้ เพื่อให้เสียงออกสู่ลำโพง อีกสถานที่หนึ่งที่อยู่ใกล้เคียงกัน ต้องการนำมาออกลำโพงชุดนี้เช่นกัน

คำถามคือจะทำอย่างไร วิธีการคือแค่ดึงสัญญาณออกจากแหล่งกำเนิดสัญญาณมาจากทั้ง 2 ที่ แล้วนำมาเข้าอินพุตของตัวกระจายสัญญาณ เมื่อสัญญาณเข้ามาทั้ง 4 อินพุตแล้ว เคสนี้ต้องการเอาต์พุตเพียงชุดเดียว ให้ดิฟทั้ง 4 อินพุตลงมา ผลคือจะทำให้สัญญาณอินพุตทั้ง 4 ถูกรวมให้ออกไปที่เอาต์พุตเดียว

ปกติแล้วเวลานำสัญญาณซ้ายขวามารวมกัน มักจะเกิดการหักล้างทางเฟส ความดังจะดร็อปลง แต่ DA-408 สามารถขยายหรือรวมสัญญาณที่ต่างกันได้ กรณีสัญญาณที่ต่างกัน มันสามารถขยายให้ความดังเพิ่มขึ้น โดยรวมสองข้างเป็นโมโนได้

หรือสัญญาณเหมือนกันหากนำมารวมกัน จะได้ความดังเพิ่มขึ้น วงจรภายในจะสร้างปัญหาการหักล้างทางเฟส ดังนั้นสัญญาณฝั่งอินพุตและเอาต์พุตจะไม่ต่างกันนั่นเอง นี่คือจุดแข็งของ DA-408

บางคนอาจกังวลว่า การนำสัญญาณมารวมกันจะทำให้สัญญาณดร็อปลง แต่ด้วยอุปกรณ์ชิ้นนี้ จะไม่เกิดปัญหาดังกล่าว เพราะจะได้สัญญาณแรงขึ้น และได้สัญญาณเป็นโมโนทันที

สรุป

DA-408 อุปกรณ์ Distribution Amplifier ถือเป็นอุปกรณ์ในระบบเสียงที่ขาดไม่ได้ โดยเฉพาะระบบใหญ่ๆ ที่ใช้เพาเวอร์แอมป์จำนวนมาก ทั้งงานติดตั้งถาวร หรืองานทัวร์คอนเสิร์ตก็ตาม

อุปกรณ์สามารถประยุกต์ใช้งานได้อย่างน้อย 3 รูปแบบ เช่น การรวมสัญญาณการทำงานในลักษณะมิกเซอร์ การทำเป็น Splitter, Mixer, Matrix ซึ่งมีความจำเป็นต่องานระบบเสียงในยุคนี้ที่ต้องการคุณภาพสัญญาณเป็นอย่างยิ่ง

หากเราเข้าใจฟังก์ชันการทำงานของอุปกรณ์ จะช่วยให้ออกแบบระบบได้ดีขึ้น ทำเป็นตัวทวนสัญญาณ ลิงค์รวมสัญญาณ กระจายสัญญาณ ในเวลาเดียวกันได้

บทความที่เกี่ยวข้อง :

NPE LB-202 Line Balance Amplifier อุปกรณ์จัดการสัญญาณ

dB Mark DP26+ และ DP48+ ดิจิตอลครอสโอเวอร์

สามารถสอบถาม ติดตามข่าวสาร และข้อมูลได้ที่ :

✅ สนใจสั่งซื้อสินค้า ผ่านเว็ปไซต์
www.mynpe.com/
✅ Line@ : http://bit.ly/LineMyNPEThailand
✅ Facebook : http://m.me/mynpethailand
✅ Twitter : twitter.com/mynpethailand
✅ Instagram : instagram.com/mynpethailand
✅ Youtube : www.youtube.com/user/mynpe

☎️ Tel : 02 225 0094 (Banmoh Branch)
Map : www.mynpe.com/mynpe-banmoh
☎️ Tel : 02 992 7379 (Zeer Rangsit Branch)
Map : www.mynpe.com/mynpe-zeer
☎️ Tel : 02 889 5498 (Salaya Branch)
Map : www.mynpe.com/mynpe-salaya

Read Previous

NPE LB-202 Line Balance Amplifier อุปกรณ์จัดการสัญญาณ

Read Next

NPE C Series เพาเวอร์แอมป์ขุมพลัง 5000W