NPE CF-128 Series ไมค์ชุดประชุม รองรับการเชื่อมต่อได้สูงสุด 128 ไมค์ ไม่รวมตัวบูสต์อีก 32 ไมค์
NPE มีชุดไมค์ประชุม รุ่นนี้มีอะไรน่าสนใจ ลองมาดูกัน รุ่นนี้เป็นไมค์ชุดประชุมแบบอะนาล็อคเป็นรุ่นล่าสุด ที่ออกแบบและผลิตโดยโรงงาน NPE สู่ท้องตลาด ไมค์ประชุมรุ่นนี้มีการพัฒนาในเรื่องของฟังก์ชันการทำงาน และรูปแบบภายนอกไว้ครบถ้วน ไมค์รุ่นนี้ใช้รหัสว่า CF128 Series จุดเด่นคือติดตั้งง่าย ใช้งานง่าย เชื่อมต่อง่าย
สำหรับไมค์ประชุม Series นี้แบ่งไมค์ออกเป็น 3 ขนาด มีส่วนที่ต่างกันคือความยาวของก้านไมค์ โดยมีแบบก้านไมค์สั้นและก้านไมค์ยาวปานกลาง และยาวสูงสุด
ไมค์ชุดประชุมทั้ง 3 ขนาด สามารถแบ่งได้ดังนี้
> CF128S ความยาวของก้านไมค์ 43 เซ็นติเมตร
>CF128M ความยาวของก้านไมค์ 48 เซ็นติเมตร
>CF128L ความยาวของก้านไมค์ 60 เซ็นติเมตร
องค์ประกอบหลักของไมค์ชุดประชุม จะมีชุดคอนโทรล ซึ่งเป็นทั้งตัวจ่ายไฟและควบคุมการทำงานทั้งหมด รวมถึงเป็นตัวป้อนสัญญาณเอาต์พุตไปยังชุดคอนโทรลภายนอกอีกด้วย
ไมค์ประธาน CF-128C และไมค์ผู้ร่วมประชุม CF-128D อักษร “C” ย่อมาจากคำว่า Chairman และ “D” ย่อมาจากคำว่า Delegate โดยไมค์ทุกตัวจะถูกเชื่อมต่อผ่านอุปกรณ์ควบคุม CF-128S นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์เสริมตัวหนึ่งชื่อ CF-128BM ในกรณีที่มีการเพิ่มจำนวนผู้ร่วมประชุม กล่าวคือมีจำนวนมากกว่าตัวคอนโทรลหลักรองรับได้ อุปกรณ์ตัวนี้จะทำหน้าที่เป็นบูสเตอร์เพิ่มจำนวนผู้ร่วมประชุมให้มากขึ้น
เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน
อุปกรณ์คอนโทรล
NPE Conference Control CF-128S
NPE Conference Control รุ่น CF-128S อุปกรณ์ตัวนี้จะทำหน้าที่ควบคุมพร้อมกับจ่ายไฟ ให้กับไมค์ชุดประชุมทั้งหมดของรุ่น CF128 Series คุณสมบัติภายนอกจะเห็นช่องเชื่อมต่อกับไมค์ชุดประชุมทั้งหมด 4 ช่อง โดย 1 ช่องสามารถรองรับไมค์ก้านได้จำนวน 32 ตัว หากเชื่อมต่อครบทั้ง 4 ช่องจะต่อไมค์ก้านได้สูงสุดจำนวน 128 ตัว
ส่วนใหญ่ไมค์ประชุมของ NPE ไม่ว่าจะเป็นอะนาล็อคหรือดิจิตอล รหัสจะอ้างอิงตามชื่อรุ่นคอนโทรลรุ่นนั้นๆ สำหรับ CF128 พัฒนาต่อยอดจากรุ่น CF50 ในรุ่นนั้นสามารถต่อไมค์ชุดประชุมได้ 50 ชุดต่ออุปกรณ์คอนโทรล หากต้องการเพิ่มจำนวนก็ต้องใส่อุปกรณ์บูสเตอร์เข้าไป
สำหรับสายที่ใช้เชื่อมต่อไมค์จะใช้ชนิด DB-9 มีความยาว 10 เมตร มีช่องใช้งานที่เป็นปุ่ม Bell มีหน้าที่ไว้ตัดเมื่อมีการถกเถียงในที่ประชุมที่ไม่มีใครฟังใคร ปุ่ม Bell จะมี 2 จุดคือที่อุปกรณ์คอนโทรลและไมค์ประธาน โดยจะตัดเสียงไมค์ของผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด
รู้จักฟังก์ชันควบคุม
ปุ่ม Conference ปุ่มนี้ทำหน้าที่เพิ่มลดความดังของชุดประชุม ว่าต้องการให้ดังมากน้อยแค่ไหน
ปุ่ม MIC1, MIC2 มีหน้าที่ใช้ต่อไมค์ภายนอก ไม่ว่าจะเป็นไมค์ธรรมดาพวกไมค์สายทั่วไป พวกไดนามิก หากต้องการใช้เป็นคอนเด็นเซอร์จำเป็นต้องมี Phantom box ต่างหาก จ่ายไฟเลี้ยงไปที่ไมค์ก่อนจะต่อมายังระบบชุดประชุม
จุดเชื่อมต่อสัญญาณโทรศัพท์ สำหรับ CF128 Series สามารถประชุมทางไกลผ่านโทรศัพท์พื้นฐาน กรณีต้องการประชุมข้ามพื้นที่จังหวัด ข้ามเขต และยังมีปุ่มมอนิเตอร์สำหรับใช้ฟัง เช่นฟังในห้องคอนโทรล สามารถกดนี้เพื่อฟังเสียงได้
อุปกรณ์คอนโทรลมีขนาด 2U สามารถติดตั้งในตู้แร็คได้ โดยมีปีกพับเป็นเหล็กแถมให้จำนวน 1 คู่ ไว้สำหรับยึดแร็คนั่นเอง
ไมค์รุ่น CF128 vs. CF50
CF-128C ไมค์ประธาน (Chairman)
ในรุ่น CF128 มีความพิเศษกว่ารุ่น CF50 คือมีช่องสำหรับต่อไมค์ชุดประชุมมากถึง 4 ช่อง แต่ละช่องต่อไมค์ได้ 32 ตัว ขณะรุ่น CF50 ต่อได้ไมค์ได้เพียง 2 ช่อง แบ่งเป็นไมค์ช่องละ 25 ตัว หรือจะพ่วงเป็น 50 ตัวเลยก็ได้ แต่ไม่แนะนำ อยากให้ต่อแบบเฉลี่ยเอาต์พุตจะดีกว่า
วิธีติดตั้ง เดิมทีรุ่น CF50 หากต้องการเชื่อมต่อ จะมีสายชุดประชุมเป็นหัวต่อ DB-9 ต่อออกจากเอาต์พุตของตัวคอนโทรล CF50 จะเป็น 10 เมตรหรือสาย 2-3 เมตรที่มากับไมค์ไปเข้ากับไมค์ประชุมตัวแรก ไม่ว่าจะเป็นไมค์ประธานหรือผู้ร่วมก็ตาม จากนั้นจะมีสายพ่วงจากไมค์ตัวนั้นต่อไปยังไมค์ประชุมอีกตัว ในลักษณะอนุกรม รูปแบบนี้นิยมใช้กันมานาน
ถามว่ามันอาจจะมีปัญหามั้ย หากไมค์ประชุมตัวใดตัวหนึ่งหลุด ตัวที่ต่อพ่วงถัดไปจะทำงานไม่ได้เลย เหมือนมันถูกตัดวงจร หากเป็นรุ่น CF128 สายสัญญาณถูกออกแบบมาเฉพาะ โดยมีกล่องจั๊มสาย ซึ่งบนตัวสายจะมี DB-9 ใช้เชื่อมต่อจากกล่องไปฝั่งละเส้น เส้นแรกเป็น Extension จะมีความยาว 1.5 เมตร ซึ่งจะเป็นสายที่ต่อเข้ากับชุดประชุม และปลายอีกด้านเป็นมาสเตอร์พอร์ต ฝั่ง Master เป็นช่องสัญญาณที่ต่อจากกล่องซึ่งจะมีสายแถมมาให้ 2 เมตร เพื่อเชื่อมเข้ากับตัวกล่องที่เป็น T-Junction กับไมค์ตัวถัดไป
เวลาเชื่อมต่อจาก CF128 จะมีสายคอนโทรล ซึ่งสายคอนโทรลตัวนี้ จะมีความยาว 10 เมตร ออกจากไมค์ชุดประชุม จากนั้นสายตัวนี้จะไปจั๊มกับส่วนที่เป็น Master พอร์ต สายอีกด้านจะไปจั๊มเข้ากับกล่องของไมค์ประชุมตัวแรกที่ถูกจั๊มไว้ วิธีการต่อจะคล้ายกับว่ามีสายเมนหนึ่งเส้นลากไปบนพื้น แล้วจะมี Tap ขึ้นมาหาไมค์ประชุม
การต่อแบบนี้มีข้อดีคือ กรณีไมค์ตัวใดตัวหนึ่งดับ หรือว่าสายหลุด ไมค์ผู้ร่วมหรือชุดประชุม ถัดจากตัวที่สายหลุดนั้น ก็ยังสามารถใช้งานได้ โดยที่ไม่ขาดการประชุมไป ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อการประชุม
ถ้ามันหลุดเราสามารถเสียบต่อได้เลย เสียงก็จะกลับมาเป็นปกติ นี่คือจุดเด่นของชุดประชุมรุ่นนี้ ต้องยกเครดิตให้ทางโรงงาน NPE ที่คิดค้นแก้ปัญหานี้
ฟังก์ชันอีกตัวคือ บนฐานไมค์ประชุม ทั้งที่เป็นไมค์ประธานและไมค์ผู้ร่วมประชุม ของตัว CF128 ไม่ว่าจะเป็น CF128C, CF128D บริเวณด้านหลังของพอร์ต DB-9 จะมีปุ่มกดสำหรับตัดลำโพง ที่อยู่บนฐานไมค์ กรณีเราไม่ต้องการให้เสียงออกลำโพงที่ฐานไมค์ แต่ต้องการให้เสียงดังที่ลำโพงเมนภายในห้องประชุมอย่างเดียว คือเป็นลำโพงภายนอกที่ป้อนสัญญาณออกจากชุดควบคุม CF128 ซึ่งเสียงไมค์ทุกตัวจะไปออกที่ลำโพงภายนอก ทั้งนี้จะช่วยป้องกันปัญหาฟีดแบ็กกลับมา
ฟังก์ชัน CF-128S
เรามาดูฟังก์ชันของ CF128S ในส่วนการทำงานของอุปกรณ์ อันแรกคือโวลุ่ม Bell มีหน้าที่ไว้ลดเพิ่มสัญญาณ Bell ซึ่งจะทำงานสัมพันธ์กับปุ่มกดด้านหน้า นั่นคือปุ่ม Priority คือเวลากดมันจะตัดสัญญาณของไมค์ทั้งหมด ส่วน Bell โวลุ่มจะใช้ควบคุมความดังของเสียง
ถัดมาเป็นปุ่ม Conference โวลุ่ม ใช้ปรับเพิ่มลดของสัญญาณเสียงสนทนาของผู้ร่วมประชุม ถัดไปเป็นโวลุ่มของ MIC1, MIC2 ใช้เพิ่มลดเสียงของไมค์ภายนอกที่นำมาเชื่อมต่อ
ถัดมาเป็น Aux โวลุ่ม ทำหน้าที่ควบคุมเสียงจากเครื่องเล่นภายนอก อาจใช้กรณีต้องการนำเสียงมาพรีเซ้นต์ เสียงจากเครื่องเล่น CD/DVD หรือมือถือและคอมพิวเตอร์ชนิดต่างๆ ผ่านช่อง Aux IN/Tape IN
Master โวลุ่ม ปุ่มเพิ่มและลดสัญญาณเสียงที่ออกในช่อง Pre Out เพื่อเข้าเครื่องขยายเสียงภายนอก ความดังของเสียงไมค์ประชุม ที่ป้อนออกจากชุดคอนโทรลไปยังเครื่องเสียงภายนอก
Receive โวลุ่ม หน้าที่คือจะใช้เชื่อมต่อกับระบบโทรศัพท์พื้นฐานจากภายนอก หรือ Conference อันนี้เราต้องต่อจากโทรศัพท์พื้นฐาน ซึ่งจุดเชื่อมต่อจะเป็นหัว RJ11 ของโทรศัพท์ที่ช่อง LINE จากนั้น RJ11 หัวท้ายเสียบเข้ากับเครื่องโทรศัพท์พื้นฐาน
CF-128D ไมค์ผู้ร่วมประชุม (Delegate)
สรุปคือต้องมีเบอร์โทรศัพท์บ้าน/ออฟฟิศ จำเป็นอย่างยิ่งในกรณีต้องการประชุมทางไกลผ่านเครือข่ายโทรศัพท์พื้นฐาน โดย Receive ทำหน้าที่เพิ่มลดสัญญาณที่รับมาจากฝั่งปลายทาง
Send โวลุ่ม จะเป็นตัวเพิ่มหรือลดสัญญาณเสียงที่ส่งจากห้องประชุมหลักไปยังปลายทาง เบาหรือดังแค่ไหน ต่อไปเป็น Master ของมอนิเตอร์ คือใช้เป็นมอนิเตอร์สำหรับฟัง และตัวมอนิเตอร์โวลุ่มสำหรับเพิ่มลดความดัง
ด้านหลังเครื่องจะมีฟังก์ชันช่องต่อชุดประชุมจำนวน 4 ช่อง รองรับการเชื่อมต่อช่องละ 32 ไมค์/ชุด
อุปกรณ์เสริม
CF-128BM Conference Booster
สำหรับอุปกรณ์เสริมของไมค์ประชุม CF128 กรณีที่เราต่อหรือมีผู้ร่วมประชุมเยอะกว่า 128 ไมค์ หรือ 128 คนที่เข้าประชุมพร้อมๆ กันในขณะนั้นๆ กรณีเราต้องการเพิ่มจำนวนไมค์เพื่อรองรับผู้ร่วมประชุม จำเป็นต้องติดตั้งอุปกรณ์ที่เรียกว่าบูสเตอร์ สมรรถนะของบูสเตอร์ 1 เครื่องรองรับการเชื่อมต่อไมค์ได้จำนวน 32 ชุด
ปลายสายของชุดประชุมตัวสุดท้ายของไลน์นั้น หากเราต้องการต่อพ่วงจากตำแหน่งนั้น ให้นำตัวบูสเตอร์เข้าไปพ่วงได้เลย เมื่อครบแล้วหากต้องการเพิ่มอีกก็ใช้ตัวบูสเตอร์พ่วงเข้าไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้จำนวนชุดไมค์ที่เราต้องการ
หน้าที่หลักของบูสเตอร์คือจะช่วยบูสสัญญาณให้แรงขึ้น ขณะเดียวกันสามารถควบคุมไมค์ต่างๆ จากอุปกรณ์คอนโทรลหลักได้เหมือนเดิม และตัวบูสเตอร์ก็จะมีฟังก์ชันที่พ่วงจากบูสเตอร์ไปอีกตัวหนึ่งในไลน์นั้นๆ อีกด้วย เรียกได้ว่าเชื่อมต่อไปเรื่อยๆ ไม่มีจุดสิ้นสุด
สรุป
NPE CF-128 Series ประกอบด้วยไมค์ก้าน 3 ขนาด คือก้านสั้น ก้านยาวปานกลาง และไมค์ก้านยาวสูงสุด แต่ละขนาดจะแยกออกเป็นไมค์ประธานหรือที่เรียกว่า Chairman และไมค์ผู้ร่วมประชุมหรือ Delegate โดยไมค์ทุกตัวจะต้องเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ชุดคอนโทรลไมค์ โดยตัวคอนโทรลจะต่อไมค์ได้สูงสุด 128 ตัว โดยแยกเป็น 4 ช่อง เฉลี่ยช่องละ 32 ชุดไมค์
นอกจากนั้น กรณีมีผู้ร่วมประชุมเกินกว่า 128 คน สามารถใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่าบูสเตอร์เพิ่มใช้เสริมจำนวนไมค์ได้ โดยอุปกรณ์ 1 เครื่องรองรับไมค์ได้อีก 32 ชุด
อย่างไรก็ดี ข้อจำกัดของระบบไมค์ประชุม CF-128 Series คือในการเชื่อมต่อแต่ละไลน์นั้นความยาวของสายสัญญาณไม่ควรเกินระยะ 100 เมตร ถ้าความยาวของสายเกิน 100 เมตร อาจจะมีผลกระทบต่อการใช้งาน เพราะบางครั้งในการส่งสัญญาณ อาจเกิดการสูญเสียจากระยะของสาย
หากมีการเชื่อมต่อสายสูงสุดที่ 100 เมตร/ไลน์ พร้อมกันจำนวน 4 ช่อง เมื่อคำนวณเป็นตัวไมค์ออกมาจะได้จำนวนผู้เข้าร่วมประชุมเยอะมาก
สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
บริษัท นัฐพงษ์ เซลส์แอนด์เซอร์วิส จำกัด
สำนักงานใหญ่บ้านหม้อ โทร 0-2225-0094
สาขาเซียร์รังสิต โทร 0-2992-7379
สาขาศาลายา โทร 0-2889-5496
หากสนใจสินค้า สามารถสั่งซื้อได้ทางเว็ปไซต์ www.mynpe.com/npe128 และทาง Fanpage ของบริษัทได้ที่ www.facebook.com/mynpethailand หรือจะเข้ามา Follow twitter, Instagram, Line@ ของบริษัทก็ได้เช่นกันที่ @myNPEThailand ตามช่องทางที่สะดวก