NPE C Series เพาเวอร์แอมป์คุณภาพ วงจร Class AB และ H ผลิตด้วยชิ้นส่วนเกรด A กำลังขับ 350W-1800W RMS พร้อมระบบป้องกันครบครัน
C Series มีด้วยกันทั้งหมด 7 รุ่น โดยแยกเป็นรุ่นขนาด 2U ได้แก่ C-1000, C-1200, C-1500 และรุ่นขนาด 3U ได้แก่รุ่น C-1800, C-2200 ทั้ง 2 รุ่นที่กล่าวถึงนี้เป็นเพาเวอร์แอมป์ ซึ่งมีการออกแบบวงจรภายในลักษณะ Class AB โดยมีรุ่น 3U อีกจำนวน 2 รุ่นคือ C-3600H และ C-5000H
สังเกตว่าทั้ง 2 รุ่นที่กล่าวนี้จะมีอักษร “H” ตามหลัง นั่นหมายถึงมีการออกแบบวงจรภาคขยายเป็น Class H
ถามว่าทำไมจึงเป็นรุ่น C ในอดีตทางนัฐพงษ์ฯ ได้เปิดตัวเพาเวอร์แอมป์รุ่น E, XL Series สำหรับรุ่น C มีความหมายแฝงอยู่ภายใน
หม้อแปลงหรือตัวขับเคลื่อนแรงดันไฟฟ้าของภาคจ่ายไฟนั้น ทางผู้ผลิตได้เลือกใช้หม้อแปลงแบบ C-Core มีลักษณะเป็นตัว C สองตัวอยู่ด้วยกัน จุดเด่นของหม้อแปลงชนิดนี้คือ จะให้แรงดันสูง แต่มีน้ำหนักเบากว่าหม้อแปลงประเภท EI
ในด้านคุณภาพเสียงหม้อแปลง C-Core จะให้โทนเสียงที่กระชับมีเอกลักษณ์ ต่างจากหม้อแปลงแบบ EI โดยย่านเบสอาจไม่ลึกเท่า EI หากเทียบกำลังวัตต์หรือแรงดันไฟฟ้าที่เท่ากัน หม้อแปลง EI จะมีน้ำหนักมากกว่า C-Core แม้ลูกเบสจะได้ลูกใหญ่ แต่ความกระชับของเสียงจะด้อยกว่า ปลายเสียงเบสเก็บได้เร็วกกว่า ตรงนี้ก็มีข้อดีข้อเสียต่างกัน ประการสำคัญคือราคาเครื่องจะถูกกว่า
ทีนี้มาดูคุณสมบัติของแอมป์แต่ละรุ่น เช่น กำลังขับและฟังก์ชันการทำงาน ตัวแรก C Series ที่มีขนาด 2U ก็จะเป็นรุ่น C-1200, C-1500
สำหรับสินค้าในซีรี่ส์นี้เปิดตัวสู่ตลาดมาพอสมควร แต่ยังไม่ได้รีวิวสินค้าอย่างจริงจัง รวมทั้งการพูดถึงข้อดีข้อเสียของมัน เราจะได้เรียนรู้ผ่านบทความชิ้นนี้
เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน
NPE C-1000
หากเรามาไล่กำลังขับทีละรุ่น ตัว C-1000 ค่าเอาต์พุตที่ 1kHz เวลาจับสัญญาณค่า RMS เขาจับที่ 1kHz ที่อิมพีแดนซ์ 8 Ohms รุ่นนี้จะให้กำลังขับ 200W RMS ที่อิมพีแดนซ์ 4 Ohms จะให้กำลังขับ 350W ที่ 2 Ohms จะให้กำลังขับที่ 500W และ Bridge 8 Ohms ที่ 700W หรือ Bridge 4 Ohms กำลังขับ 1000W RMS
สังเกตว่าแอมป์ NPE C Series นั้นสามารถโหลดได้ต่ำถึง 2 Ohms และ Bridge ได้ต่ำสุด 4 Ohms
NPE C-1200
ให้กำลังขับที่ 8 Ohms @ 240W อิมพีแดนซ์ 4 Ohms กำลังขับอยู่ที่ 420W และ 2 Ohms กำลังขับ 620W การ Bridge 8 Ohms กำลังขับที่ 840W และ Bridge 4 Ohms กำลังขับ 1240W
NPE C-1500
รุ่นนี้อิมพีแดนซ์ 8 Ohms ให้กำลังขับ 340W อิมพีแดนซ์ 4 Ohms ให้กำลังขับ 580W อิมพีแดนซ์ 2 Ohms ให้กำลังขับ 820W ต่อแบบ Bridge 8 Ohms ให้กำลังขับ 1160W
สำหรับ C Series ที่เป็น 2U นั้นจะเหมาะกับงานเล็กๆ ในครอบครัว หรืองานปาร์ตี้ไม่ใหญ่ สเกลงานไม่ได้เยอะ สามารถติดตั้งในผับในบาร์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของงาน ความต้องการผู้ใช้ว่าต้องการความดังขนาดไหน
จุดเด่นของเพาเวอร์แอมป์ C Series
สมมติเรามีพื้นที่ในการทำงาน เราต้องการควบคุมพื้นที่กระจายเสียง ให้อยู่ในบริเวณที่ต้องการ เช่น ห้องขนาด 5×5 เมตร หรือขนาดใหญ่กว่า จากนั้นก็กำหนดจำนวนลำโพง
ตัวลำโพงไม่ต้องใช้กำลังวัตต์สูง จึงจะเข้ากันได้กับแอมป์ C Series ในรุ่น C-1000, C-1200, C-1500 ซึ่งสามารถตอบโจทย์การใช้งานลักษณะนี้ได้ แอมป์จำนวน 1 เครื่อง หากต่อขนานกันสามารถเชื่อมต่อกับลำโพงได้สูงถึงข้างละ 4 ใบ นั่นคือการเชื่อมต่อแบบโหลด 2 Ohms
สำหรับ C Series จะมีการจัดวงจรในลักษณะ Class AB จุดเด่นของแอมป์คลาสนี้จะให้คุณภาพเสียงชัดเจน เสียงร้องชัด ปลายแหลมใส มีความกระชับ เสียงค่อนข้างพุ่ง มีความชัดเจนของเสียง ฉะนั้นหากต้องการโทนเสียงในลักษณะนี้ในรุ่น Class AB ถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ
นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชัน High Pass Filter (HPF) ผู้ใช้สามารถเลือกใช้งาน High Pass Filter ก็ได้หรือไม่ใช้ก็ได้ หน้าที่ของ HPF ก็เหมือน Low Cut ตัวเครื่องสามารถคัตได้ตั้งแต่ย่าน 20Hz-50Hz จากนั้นให้เครื่องทำงานตั้งแต่ย่าน 50Hz สูงขึ้นไป โดยมีค่าความชัน 24dB/Octave
ถ้าเราต้องการให้เพาเวอร์แอมป์รุ่นนี้ขับลำโพงเสียงกลาง และไม่ต้องการให้เบสเข้ามารบกวน ขณะเดียวกันก็ไม่ต้องการเสียงที่พล่ามัว เราสามารถเลือกใช้งานฟังก์ชันนี้ได้
การใช้ฟังก์ชัน HPF ยังช่วยลดภาระการทำงานของเครื่องและลำโพงไปได้ โดยเราจะได้เสียงที่มีคุณภาพ กรณีเรานำแอมป์ไปขับลำโพงฮอร์น เราสามารถเลือกฟังก์ชันนี้ได้ ปกติลำโพงฮอร์นไม่ต้องการย่านความถี่ที่ต่ำกว่า 50Hz หรืออาจนำไปใช้กับลำโพงเสียงแหลม
ในระบบเสียงบางครั้งแม้สัญญาณจะผ่านครอสโอเวอร์มาก็ตาม หากเราใส่ฟังก์ชันนี้เอาไว้จะช่วยป้องกันย่านความถี่ต่ำไปรบกวนเสียงแหลมได้เช่นกัน
ค่าความไวอินพุต แนะนำที่ 4 Ohms ส่วนค่า Gain/dB มีให้เลือกตั้งแต่ 0dBu, 0.75Vrms, 0.35Vrms, 26dB การปรับแต่งตรงนี้จะปรับตามความเหมาะสมของระบบ ว่าต้องการความไวของอินพุตมากน้อยแค่ไหน เพื่อให้เหมาะกับระบบที่เราใช้งาน หากเราปรับสัญญาณอินพุตไม่เหมาะสม อาจสร้างความเสียหายให้กับระบบของเราได้
ระบบป้องกันความปลอดภัย
แอมป์ C Series มีระบบป้องกันกระแสไฟเกิน ระบบป้องกันเอาต์พุตลัดวงจร หรือการช็อตนั่นเอง พร้อมทั้งระบบป้องกันไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ออกลำโพง และอุณหภูมิเกิน ทั้งหมดนี้ถ้ามีสภาวะใด สภาวะหนึ่งออกมา เครื่องจะป้องกันความเสียหายของระบบได้
นอกจากนี้ยังมีระบบป้องกันที่เรียกว่า Soft Start ซึ่งเป็นวงจรป้องกันการกระชากของไฟฟ้า บางครั้งเราไม่ได้ปิดโวลุ่ม เราอาจเปิดโวลุ่มไว้ พอเราใช้งานจึงเปิดสวิตซ์ ระหว่างนี้วงจรดังกล่าวจะช่วยป้องกันการกระชากของไฟฟ้า
ส่วนระบบระบายความร้อนจะมีพัดลมทั้งหมด 4 ตัว การระบายความร้อนจะดูดลมจากด้านหน้าเราและระบายออกด้านหลัง เพื่อโฟลว์ออกทางด้านหลัง ฟังก์ชันการใช้งานหรือโหมดการใช้งาน สามารถใช้งานได้ทั้งโหมดสเตริโอ โดยเลือกได้ทั้งแบบ Parallel Mono และ Bridge Mono
นี่คือคุณสมบัติสำคัญของเพาเวอร์แอมป์ C Series รุ่นขนาด 2 U นั่นคือรุ่น C-1000, C-1200, C-1500
สำหรับเพาเวอร์แอมป์ขนาด 3U ภาคขยายยังเป็น Class AB นั้น ได้แก่รุ่น C-1800 และ C-2200 ซึ่งถือเป็นแอมป์ที่ขายดีมากๆ สิ่งที่แตกต่างของแอมป์รุ่น 3U คืออย่างแรกขนาดหม้อแปลงใหญ่ขึ้น แต่ยังเป็นหม้อแปลงชนิด C-Core เหมือนเดิม ด้วยขนาดหม้อแปลงที่ใหญ่ขึ้น กำลังขับจึงมากขึ้น
C-1800
สำหรับเพาเวอร์แอมป์รุ่นนี้ที่อิมพีแดนซ์ 8 Ohms จะให้กำลังขับ 400W RMS อิมพีแดนซ์ 4 Ohms จะให้กำลังขับ 650W RMS อิมพีแดนซ์ 2 Ohms ให้กำลังขับ 900W RMSอิมพีแดนซ์ 8 Ohms แบบ Bridge กำลังขับ 1200W RMS อิมพีแดนซ์ 4 Ohms แบบ Bridge กำลังขับ 1800W RMS คงพอจะทราบแล้วว่าตัวเลข “1800” ของแอมป์รุ่นนี้มาจากไหน ก็มาจากกำลังขับสูงสุดของแอมป์รุ่นนี้นั่นเอง
C-2200
เพาเวอร์แอมป์รุ่นนี้อิมพีแดนซ์ 8 จะให้กำลังขับ 500W RMS อิมพีแดนซ์ 4 Ohms จะให้กำลังขับ 800W RMS อิมพีแดนซ์ 2 Ohms ให้กำลังขับ 1100W RMS อิมพีแดนซ์ 8 Ohms แบบ Bridge กำลังขับ 1500W RMS อิมพีแดนซ์ 4 Ohms แบบ Bridge กำลังขับ 2200W RMS ตัวเลข “2200” คือกำลังขับสูงสุดของแอมป์รุ่นนี้
ทั้ง C1800 และ C2200 จะมีฟังก์ชันการทำงานเหมือนกับรุ่น C1000, C1200 และ C1500 เพียงแต่ในรุ่น 3U จะให้กำลังขับสูงกว่า ทำให้สามารถใช้งานได้หนักขึ้น และรองรับระบบเสียงขนาดใหญ่ขึ้น
แอมป์ Class AB
หากไล่เรียงตั้งแต่รุ่น C-1000, C-1200, C-1500 C-1800 และ C-2200 การจัดวงจรภาคขยายจะเป็นลักษณะ Class AB ทั้งหมด ซึ่งเหมาะสำหรับใช้ขับลำโพงกลางแหลม ลำโพงในห้องสัมมนา ขับลำโพงซับเบสได้
แต่ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงตู้ลำโพงว่ารองรับกำลังขับได้มากน้อยแค่ไหน เพื่อให้เราสามารถเลือกเพาเวอร์แอมป์ให้ตรงกับการใช้งาน สุดท้ายก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบระบบเสียง
ในการออกแบบนั้น ต้องพิจารณาตั้งแต่สเกลงานว่ามีพื้นที่ขนาดไหน จำนวนผู้ชมเยอะแค่ไหน จากนั้นพิจารณาระยะความดังที่ต้องการให้ครอบคลุมบริเวณงาน เริ่มจากด้านหน้าเวทีไปจนถึงด้านหลังสุด มีระยะเท่าไหร่
เมื่อได้ค่าความดังเป้าหมายมาแล้ว ผู้ออกแบบจะต้องกำหนดว่าจะใช้ลำโพงรุ่นไหน จำนวนกี่ใบ สิ่งสุดท้ายที่ต้องพิจารณาคือเพาเวอร์แอมป์ เราจะทำอย่างไรเพื่อให้แอมป์ทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ
ส่วนโพรเซสเซอร์จะเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ใช้จัดการสัญญาณ ในส่วนนี้จะต้องโฟกัสกำลังขับทั้งระบบ อย่างไรก็ดี ตัวเพาเวอร์แอมป์นั้น ไม่ได้เป็นปัจจัยกำหนด ต้องใช้มิกเซอร์ตัวเล็กหรือใหญ่ แต่เพาเวอร์แอมป์จะใช้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณลำโพงที่ติดตั้งในสถานที่เหล่านั้น
ยกตัวอย่างสเกลงานหนึ่งใช้มิกเซอร์จำนวน 52 แชนแนล หรือ 48 แชนแนล แต่พื้นที่การใช้งานมีขนาดเพียง 5*10 เมตร ใช้ลำโพงเพียงคู่เดียว คำถามคือเราจะต้องใช้เพาเวอร์แอมป์กี่ตัว เราจำเป็นต้องใช้เพาเวอร์แอมป์มากถึง 10 เครื่องหรือไม่ กับห้องขนาดเท่านี้ คำตอบย่อมไม่ใช่
ดังนั้น จำนวนลำโพงจึงเป็นตัวกำหนดจำนวนเครื่องของเพาเวอร์แอมป์ และกำลังของเพาเวอร์แอมป์ที่จะนำมาขับ ส่วนโพรเซสเซอร์ใช้เป็นตัวจัดการสัญญาณเพื่อส่งสัญญาณจากมิกเซอร์เข้าสู่เพาเวอร์แอมป์
C Series ที่มีการจัดวงจรแบบ Class H แอมป์คลาสนี้ดีอย่างไร หรือดีกว่า Class AB หรือเปล่า สำหรับ Class AB นั้น ไม่ว่าจะมีการใช้งานหรือไม่ จะมีความร้อนสะสมอยู่ตลอดเวลา
แอมป์ Class H มีข้อดีคือ หากสัญญาณอินพุตป้อนเข้ามาน้อย เครื่องจะทำงานน้อย หมายถึงเกิดการจ่ายไฟน้อย ทำให้เครื่องร้อนต่ำ ตรงกันข้ามกรณีป้อนสัญญาณอินพุตป้อนเข้ามามาก เครื่องจะจ่ายไฟสูงตาม ทำให้เกิดความร้อนสูงขึ้น
จะเห็นว่า ความร้อนของเครื่องจะขึ้นอยู่กับระดับอินพุตที่ป้อนเข้ามา เพาเวอร์แอมป์รุ่น C-3600H และ C-5000H ทั้ง 2 รุ่นเป็นแอมป์รุ่นเรือธงของ C Series นี้ ออกแบบมาเพื่อใช้ขับลำโพงซับเบสโดยเฉพาะ
นอกจากนี้ยังสามารถใช้ขับลำโพงกลางแหลมได้อีกด้วย กรณีระบบเสียงมีลำโพงหลายใบหรือต้องการกำลังขับสูงๆ แนะนำให้ใช้ C-3600H หรือ C-5000H
C-3600H
ณ ย่านความถี่ 1kHz แอมป์รุ่นนี้ให้กำลังขับ 750W RMS ที่อิมพีแดนซ์ 8 Ohms ที่ 4 Ohms ให้กำลังขับ 1300W RMS ที่ 2 Ohms ให้กำลังขับ 2000W RMS
การต่อแบบ Bridge Mono อิมพีแดนซ์ 8 Ohms ให้กำลังขับที่ 2600W RMS ต่อแบบ Bridge Mono อิมพีแดนซ์ 4 Ohms ให้กำลังขับที่ 4000W RMS
สังเกตว่ากำลังขับแอมป์รุ่นนี้ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับรุ่นอื่นใน Series เดียวกัน กำลังขับขนาดนี้สามารถขับลำโพงซับเบสได้สบายหายห่วง เช่น ต่อซับเบส 4 ใบขนานกัน โหลดอิมพีแดนซ์ 4 Ohms
C-5000H
เพาเวอร์แอมป์ C-5000H เป็นแอมป์ที่มีกำลังขับสูงสุดใน C Series แอมป์รุ่นนี้ให้กำลังขับ 1000W RMS ที่อิมพีแดนซ์ 8 Ohms ที่ 4 Ohms ให้กำลังขับ 1800W RMS ที่ 2 Ohms ให้กำลังขับ 2500W RMS
การต่อแบบ Bridge Mono อิมพีแดนซ์ 8 Ohms ให้กำลังขับที่ 3600W RMS ต่อแบบ Bridge Mono อิมพีแดนซ์ 4 Ohms ให้กำลังขับที่ 5000W RMS
สังเกตว่า C-5000H กำลังขับสูงมาก แต่ทั้งในนี้การเลือกใช้เพาเวอร์แอมป์รุ่นใดก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดคือกำลังของไฟฟ้าที่ป้อนให้กับแอมป์ ระบบไฟต้องมีแรงดันเพียงพอ เพื่อเลี้ยงเพาเวอร์แอมป์
กรณีใช้เพาเวอร์แอมป์รุ่นเล็กๆ กำลังขับน้อยๆ ไม่จำเป็นต้องป้อนกระแสมากนัก ไฟฟ้าเหมือนอาหารของอุปกรณ์ ซึ่งอุปกรณ์จะดึงกระแสไฟฟ้าขึ้นมาใช้ เพื่อนำมาใช้ในกระบวนการขยายสัญญาณแล้วขับออกไปสู่ลำโพง
สัญญาณอินพุตที่ถูกป้อนเข้าไป เช่น สัญญาณเสียงจากแหล่งกำเนิด เมื่อผ่านแอมป์ สัญญาณเหล่านั้นจะถูกขยายให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งทั้งแรงดันไฟฟ้า และกระแสไฟฟ้า จะมีความสัมพันธ์กัน
หากใช้เพาเวอร์แอมป์ที่มีกำลังขับสูง แอมป์ตัวนั้นจะกินไฟสูง หากเรามีแหล่งจ่ายไฟที่ต่ำ ประสิทธิภาพของแอมป์ก็จะทำงานด้อยลงไปด้วย คือแอมป์จะทำงานได้ไม่เต็มที่
บางครั้งการขับลำโพงข้างละ 4 ใบ ที่โหลด 2 Ohms มีไฟที่ 5A ถามว่าเปิดเครื่องได้หรือไม่ ตอบว่าได้ ถามว่าลำโพงมีเสียงไหม ตอบว่ามี แต่จะไม่ได้พลังงานเต็มที่อย่างที่ควรจะเป็น
จากกรณีนี้จะทำให้แอมป์มีโอกาสคลิปได้ง่ายอีกด้วย เปรียบเสมือนการป้อนอาหารเข้าไปน้อย ซึ่งจะสร้างพลังงานได้น้อย แรงขับออกมาก็จะน้อยไปด้วย แอมป์ก็จะ Peak ง่าย
ดังนั้น สิ่งสำคัญในระบบเสียงคือแหล่งจ่ายไฟฟ้า ต้องมีเพียงพอ จะเห็นว่าบางงานเลือกที่จะใช้เครื่องปั่นไฟ ที่ให้กระแสสูงๆ แรงดันไฟฟ้าอาจใช้ 220V ตามปกติ แต่เครื่องจะใช้กระแสมากขึ้นตามขนาดแอมป์ และจำนวนแอมป์ที่ติดตั้งไว้
สรุป
หากต้องการแอมป์ Class AB กำลังขับไม่สูง มีคุณภาพเสียงที่ดี ให้เลือกรุ่น C-1000, C-1200, C-1500 โหลด 4 Ohms ซึ่งมีกำลังขับให้เลือกตั้งแต่ 350W-580W RMS (ต่อที่โหลด 2 Ohms และ Bridge Mono ได้)
หากต้องการกำลังขับปานกลางให้เลือกรุ่น C-1800, C-2200 หากต่อที่โหลด 4 Ohms ซึ่งมีกำลังขับให้เลือกตั้งแต่ 650W และ 800W (ต่อที่โหลด 2 Ohms และ Bridge Mono ได้)
หากต้องการแอมป์กำลังขับสูง เพื่อใช้ขับลำโพงซับเบส หรือลำโพงกลางแหลม วงจรเป็น Class H แนะนำให้เลือกรุ่นใหญ่ของ Series นั่นคือรุ่น C-3600H และ C-5000H ที่อิมพีแดนซ์ 4 Ohms ซึ่งมีกำลังขับให้เลือกตั้งแต่ 1300W-1800W (ต่อแบบ Bridge Mono ได้)
ดังนั้นอยู่ที่ว่าผู้ใช้จะเลือกใช้แอมป์รุ่นใด เพื่อให้เหมาะกับงานที่เราออกแบบ สำหรับ NPE C Series มีราคาไม่แพง น้ำหนักตัวเครื่องไม่หนักเกินไป เพราะใช้หม้อแปลงชนิด C-Core ให้คุณภาพเสียงดีเยี่ยม มีวงจรป้อนกันครบครัน อะไหล่คัดสรรอย่างดี ทนทานใช้ได้นานหลายปี ขายต่อมือสองราคาไม่ตก
บทความที่เกี่ยวข้อง :
KSA Series เครื่องขยายเสียงคาราโอเกะจาก NPE
NPE T-12000 เพาเวอร์แอมป์กำลังขับ 10400W
สามารถสอบถาม ติดตามข่าวสาร และข้อมูลได้ที่ :
✅ สนใจสั่งซื้อสินค้า ผ่านเว็ปไซต์
www.mynpe.com/
✅ Line@ : http://bit.ly/LineMyNPEThailand
✅ Facebook : http://m.me/mynpethailand
✅ Twitter : twitter.com/mynpethailand
✅ Instagram : instagram.com/mynpethailand
✅ Youtube : www.youtube.com/user/mynpe
☎️ Tel : 02 225 0094 (Banmoh Branch)
Map : www.mynpe.com/mynpe-banmoh
☎️ Tel : 02 992 7379 (Zeer Rangsit Branch)
Map : www.mynpe.com/mynpe-zeer
☎️ Tel : 02 889 5498 (Salaya Branch)
Map : www.mynpe.com/mynpe-salaya