DM-24.8 ดิจิตอลมิกเซอร์ ขนาด 24 แชนแนล 8 Aux จอทัชสกรีน รองรับการควบคุมผ่าน Wi-Fi
สำหรับ DM-24.8 เป็นดิจิตอลมิกเซอร์อีกรุ่นที่ Reverb Time ได้ทำการรีวิวไปแล้วก่อนหน้านี้ ท่านสามารถอ่านเนื้อหาเพิ่มเติมได้ที่ ..Review | Topp Pro DM-24.8
บทความชุดนี้เราจะอธิบายถึงวิธีการใช้งานตัวมิกเซอร์ เจาะลึกทุกฟังก์ชัน รวมถึงการติดตั้งใช้งาน และอื่นๆ ซึ่งมีเนื้อหาสาระจำนวนหลายตอนให้ผู้อ่านได้ติดตาม โดยเราจะทยอยนำมาเผยแพร่ทีละตอน เพื่อให้ผู้อ่านที่สนใจได้ใช้เป็นแหล่งอ้างอิงในการใช้งานอย่างถูกต้อง แม่นยำ รวดเร็ว
เนื้อหาในตอนแรก เราจะอธิบายเกี่ยวกับภาพรวมหรือส่วนประกอบฟังก์ชันของมิกเซอร์เสียก่อน จากนั้นเราจะอธิบายเกี่ยวกับวิธีการใช้งาน หรือบางหัวข้ออาจมีการสอดแทรกวิธีการใช้งานเข้าไปด้วย
เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน
การเปิดใช้งาน DM-24.8
เมื่อเสียบสายไฟฟ AC ด้านหลังเครื่องแล้ว ให้เราเปิดสวิตซ์ ON ซึ่งสวิตซ์เปิด/ปิดเครื่องนั้นจะอยู่ด้านหลังเครื่อง ตำแหน่งเดียวกับปลั๊กไฟ จากนั้นรอสักครู่เพื่อให้เครื่องบูตเข้าสู่ระบบ หากเครื่องอยู่ในภาวะปกติ ในระหว่างนี้เราจะเห็นตัวอักษรขนาดใหญ่ในหน้าจอ DM-24.8
ภายหลังกดสวิตซ์เปิดใช้งานมิกเซอร์ หน้าจอทัชกรีนจะแสดงความคืบหน้าในการโหลดเพื่อเข้าสู่ระบบ
มิกเซอร์ตัวนี้ไม่มีระบบ Shutdown หมายถึงลักษณะการปิด/เปิดใช้งานนั้น จะเหมือนอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป เมื่อเปิดมิกเซอร์เรียบร้อยแล้ว อุปกรณ์จะแสดงผลไปที่หน้า Full Mix แต่กรณีเราเปิดผ่านแอปบน iPad/มือถือ จากที่ทดลองแล้ว เราพบว่าบางครั้งไม่ได้อยู่ในหน้า Full Mix ทุกครั้ง แต่ไม่ว่าจะปรากฎในหน้าใดๆ ก็ตาม เราสามารถเข้าถึงหน้าที่เราต้องการได้ด้วยการแตะแท็บเมนูด้านบนได้ตลอดเวลา
หน้า Full Mix หน้าแรกซึ่งจะพบหลังเปิดเครื่อง
สำหรับหน้า Full Mix จะแสดงผลภาพรวมของมิกเซอร์ ซึ่งประกอบด้วยแชนแนลทั้งหมดของเครื่อง สไลด์เฟดเดอร์แชนแนลต่างๆ จะอยู่ด้านล่างสุดคือตำแหน่งอินฟินิตี้
ถ้าเครื่องมีการเราท์ติ้งสัญญาณไว้แล้ว หากปล่อยสัญญาณอินพุตเข้ามา มันจะถูกส่งออกไปเอาต์พุตหลักของเครื่องได้เลย
รู้จัก Gain Input
ลูกบิดควบคุม Gain Input แชนแนลต่างๆ
ก่อนจะใช้งานมิกเซอร์ อยากให้ทุกท่านทำความรู้จักส่วนประกอบของ DM-24.8 เสียก่อน ถ้าเรามองจากด้านบนในมุมสูง หรือมุมที่ใช้งานทั่วไป ด้านบนสุดจะมีโวลุ่มหรือลูกบิดสีฟ้าอยู่ด้านบน ประกอบด้วยแถวแรกจากแชนแนล 1-12 แถวล่างจะเป็นแชนแนลที่ 13-24 นอกจากนั้นเราจะพบโวลุ่ม Control Room และโวลุ่มคุมหูฟัง
สำหรับลูกบิดเหล่านี้เป็นตัวทำหน้าที่ควบคุม Gain อินพุต โดยมีวงจรไมค์ปรีเป็นอะนาล็อก การปรับแต่งสัญญาณจะทำแบบเดียวกับมิกเซอร์อะนาล็อก แต่จะมีมิเตอร์แสดงระดับความแรงของสัญญาณให้ดู ซึ่งแต่ละแชนแนลจะแยกกันอิสระ ทำให้ผู้ใช้เห็นระดับสัญญาณที่เข้ามาทางอินพุตมากน้อยแค่ไหน
ลูกบิดควบคุม Control Room, Phones
รู้จัก Routing to Main
ฟังก์ชันนี้จะใช้กำหนดสัญญาณของแต่ละแชนแนลให้ไปออกที่ไหน กรณีเราไม่ต้องการให้แชนแนล 1 ไปออก Main Output ก็สามารถทำได้ โดยการกดให้ไฟดับ จากนั้นเสียงจากแชนแนลดังกล่าวจะไม่ส่งสัญญาณออกไปยัง Main Output กรณีต้องการใช้งานให้กดสวิตซ์เพื่อให้ไฟแสดงผลเป็นสีฟ้า จากนั้นเสียงสัญญาณจากแชนแนลเหล่านั้นจะไปออก Main Output ตามปกติ
รู้จักฟังก์ชัน Assign
ปุ่มฟังก์ชันต่างๆ บริเวณฝั่งซ้ายมือของจอภาพ
ปุ่ม Assign มีหน้าที่กำหนดสัญญาณของแชนแนลเหล่านั้นไปออกปลายทางใด เช่นออก Main Output, Aux 1-4, Aux 5-8, FX สำหรับฟังก์ชันนี้เราสามารถใช้ทัชสกรีน โดยการแตะ หรือเลื่อนปุ่ม Left-Right (ซ้าย-ขวา) รวมถึงยังมีในส่วนของ Gate, Compressor, กราฟิก EQ,พาราเมทริก EQ, FX1, FX2, System, Routing, DCA, Full Mix, Meter, Mixer สามารถเลือกได้หลายฟังก์ชัน
รู้จัก Phantom 48V และปุ่มฟังก์ชันสำคัญ
กรณีเรานำไมโครโฟนชนิดคอนเด็นเซอร์มาใช้งาน มิกเซอร์ DM-24.8 สามารถจ่ายไฟให้กับไมค์คอนเด็นเซอร์ได้ โดยจะจ่ายแรงดันไฟที่ 48 โวลต์ นอกจากนี้ ยังมีปุ่ม Link, Phase รวมถึง Select Channel, Load, Copy, Save ปุ่มสไลด์เฟดเดอร์ (ในจอ) เราสามารถแตะเพื่อเลื่อนสไลด์ได้ตามต้องการ เช่น เราแตะเพื่อดันสไลด์ Aux 5 ค่าพารามิเตอร์ก็จะมีผลกับช่อง Aux ดังกล่าวทันที สังเกตว่า เมื่อมีการแตะสไลด์เฟดเดอร์ในจอ สไลด์บนตัวมิกเซซอร์จะเลื่อนขึ้นลงเสมอ นอกจากนี้ยังมีลูกบิด Adjust อีกด้วย
ทดสอบ Adjust
กรณีเราแตะสไลด์ในจอ LCD มันจะมีไฟวิ่งสีเขียวขึ้นลงที่อยู่รอบลูกบิด Adjust แต่ว่าตัวลูกบิดจะไม่หมุนตาม เนื่องจากมันไม่ใช่ลูกบิดมอเตอร์ เราพบว่า การปรับแต่งค่า Level และพารามิเตอร์ต่างๆ เราสามารถปรับแต่งได้จากหลายจุด ทั้งผ่านหน้าจอ LCD และผ่านบนเครื่อง หรือกระทั่งผ่านแอปฯ ก็ตาม
ตำแหน่ง Parameter Adjust อยู่บริเวณฝั่งขวามือของจอภาพ
ในการใช้งานฟังก์ชันต่างๆ เราสามารถใช้มือแตะหน้าจอ แล้วปรับแต่งค่าที่ต้องการ หรือจะปรับผ่านหน้าเครื่องโดยตรงก็ได้ โดยชื่อเต็มของปุ่มนี้คือ Parameter Adjust
จริงๆ การปรับแต่งพารามิเตอร์ของ Aux สามารถปรับผ่านจุดนี้ได้เช่นกัน
รู้จักปุ่มกดต่างๆ
บนตัวมิกเซอร์จะมีปุ่มกด/สวิตซ์ ที่อยู่บนมิกเซอร์หลายจุด ซึ่งมีดังนี้
ปุ่ม 48V – หากมีการกดปุ่มนี้ ระบบจะถามว่า แน่ใจหรือไม่ที่จะปล่อยไฟออกไปให้กับไมค์คอนเด็นเซอร์ ถ้ามั่นใจให้กด YES หรือหากไม่ชัวร์ก็ให้แตะ NO ในระหว่างนี้หากไม่มีการกดปุ่มยืนยัน ระบบจะกลับคืนสู่หน้าปกติ
ปุ่ม Gate/Compressor – หลังจากกดปุ่มนี้ ระบบจะเข้าไปสู่เอฟเฟ็กต์ Gate เราจะเห็นกราฟของ Gate ซึ่งแต่เดิมอาจจะไม่เห็นกราฟ พอเป็นดิจิตอลมิกเซอร์ ระบบจะแสดงผลค่าต่างๆ ให้เราเห็น ทุกครั้งที่จะปรับแต่งค่าใดๆ เราต้องกดปุ่มหรือแตะ ON เสียก่อน เพื่อให้เริ่มใช้งาน Gate มิเช่นนั้นจะไม่สามารถปรับค่าต่างๆ ได้ อาทิ ค่า Attack, Release นอกจากนี้ เราสามารถ Save ค่าที่ปรับแต่งไว้ เพื่อนำไปใช้ในแชนแนลอื่นๆ ที่ต้องการใช้งานพารามิเตอร์ลักษณะเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน ตรงนี้จะช่วยลดเวลาในการปรับแต่งซ้ำซ้อนของผู้ใช้ได้
หน้า Comp (Compressor) สามารถแตะสลับไปมาระหว่าง Gate ได้
นอกจากนี้ เรายังสามารถปรับ Gate โดยการควบคุมโวลุ่มความดังของแชนแนลนั้นๆ หรือแตะไลด์เฟดเดอร์ที่ปรากฎในจอภาพ เพื่อใช้เพิ่มลดค่าพารามิเตอร์ที่ต้องการได้อีกด้วย จำไว้ว่า ก่อนจะปรับแต่งอะไร ให้ ON ฟังก์ชันเสียก่อน
ในส่วนของคอมเพรสเซอร์ (Compressor) มีลักษณะการใช้งานเหมือน Gate โดยมีค่า Threshold ที่เครื่องให้มาคือ 20dB หากมีการกดปุ่ม ON ตัวเอฟเฟ็กต์จะถูกเปิดใช้งาน ค่าดังกล่าวจะแสดงเป็น +20dB จากนั้นให้เราเพิ่มลดระดับตามที่ต้องการผ่านสไลด์เฟดเดอร์ในจอภาพ ซึ่งครอบคลุมทั้งค่าพารามิเตอร์อื่นๆ เช่น Attack, Release, Gain, Ratio มีผลเหมือนกันหมด
Parametric/Graphic EQ – สำหรับฟังก์ชัน Parametric จะมีทุกแชนแนล ทั้งฝั่งอินพุต/เอาต์พุต ยกเว้น DCA กล่าวคือ DCA จะไม่สามารถปรับ Parametric ได้ ส่วนกราฟิก EQ จะมีให้เฉพาะฝั่งเอาต์พุตเท่านั้น เช่น Main Out, Aux Out หรือ Aux Send ส่วนฝั่งอินพุตจะไม่มีกราฟิก EQ
หน้า PEQ (Parametric EQ) และ หน้า GEQ (Graphic EQ)
รู้จักภาค FX
บน DM-24.8 มีเอฟเฟ็กต์ให้มาจำนวน 2 แร็ค ทั้งคู่จะมีเอฟเฟ็กต์เหมือนกัน กล่าวคือจะมีพรีเซตหรือยูนิตเอฟเฟ็กต์เหมือนกัน แต่เราสามารถเลือกชนิดของเอฟเฟ็กต์แต่ละยูนิตต่างกันได้ เช่น FX1 กำหนดเป็นกลุ่ม Reverb และ FX2 กำหนดเป็นกลุ่ม Delay ใน FX1 เราอาจเลือกเป็นพรีเซต Plate ใน FX2 เราเลือกเอฟเฟ็กต์ที่ต่างจาก FX1 ได้
บนหน้าจอเอฟเฟ็กต์จะปรับเปลี่ยนไปตามพรีเซตที่ผู้ใช้เลือก ข้อควรจำคือ เอฟเฟ็กต์แต่ละยูนิตจะเลือกใช้งานได้ครั้งละหนึ่งพรีเซตเท่านั้น ส่วนแชนแนลต่างๆ สามารถใช้งานยูนิตเอฟเฟ็กต์ทั้งคู่ได้พร้อมกัน แค่เลือกว่าจะ Send มากน้อยเพียงใด
หน้า FX ภายในจะมีชนิดเอฟเฟ็กต์ต่างๆ ให้เลือกใช้
บนเอฟเฟ็กต์สามารถปรับพารามิเตอร์ได้ ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปตามพรีเซตที่เราเรียกมาใช้งาน มาพิจารณาทีละ Type ถ้าแยกตาม Type ของเอฟเฟ็กต์มีรายละเอียดดังนี้
- Hall จะปรับพารามิเตอร์ได้ 6 ค่า คือ Pre-Delay, Decay, Room Size, High Damp, FX Out, Dry Out
- Room/Plate ประกอบด้วยค่าพารามิเตอร์ คือ 6 ค่า
- Delay ประกอบด้วยพารามิเตอร์ 5 ค่า
- Stereo Delay ประกอบด้วยพารามิเตอร์จำนวน 7 ค่า
- Tremolo มีพารามิเตอร์ 3 ค่า
- Flanger มีพารามิเตอร์ 5 ค่า
- Chorus มีพารามิเตอร์ 5 ค่า
- Delay Reverb มีพารามิเตอร์ 10 ค่า
- Stereo Delay มีพารามิเตอร์ 12 ค่า
ด้านล่างจะพบปุ่ม Load/Save ผู้ใช้สามารถ Load หรือ Save พรีเซตของเราไว้ใช้งานภายหลังได้ โดยเลือกได้ว่าจะจัดเก็บไว้ในเครื่องหรือบนแท็บเลต ซึ่งจำนวนพรีเซตหากเก็บไว้บนเครื่องจะจัดเก็บได้น้อยกว่าบนแท็บเล็ต
ภาพรวมของ Channel
บนมิกเซอร์จะมีปุ่มแสดงภาพรวมของแชนแนลนั้นๆ หรือเรียกอีกอย่างว่า Channel-Strip เพื่อใช้ดูว่าแต่ละแชนแนลผู้ใช้ทำอะไรไว้บ้าง เช่น แชนแนล 1 แชนแนล 9 สามารถเรียกดูแต่ละแชนแนลได้ทันที ในกรณีต้องการปรับแต่งค่าต่างๆ ของแชนแนลเหล่านั้น สามารถแตะไปที่จอได้เลย ซึ่งผู้จะพบรายละเอียดเฉพาะของแชนแนลนั้น
หน้า C Strip (Channel-Strip)
นอกจากนี้ เราสามารถแตะปุ่มเคอเซอร์ด้านซ้าย/ขวาของจอ LCD เพื่อเลื่อนไปยังดูแชนแนลอื่นได้ ผ่านปุ่ม Bank Left/ Bank Right กรณีผู้ใช้ควบคุมผ่านแท็บเล็ต หน้าจอบน LCD มิกเซอร์จะเปลี่ยนตามแบบ 100%
โครงสร้างแชนแนล
มิกเซอร์รุ่นนี้เขียนไว้ว่า 24.8 ดังนั้นจะมีจำนวน 24 แชนแนล และมีจำนวน 8 Aux มือใหม่อาจจะเห็นปุ่ม 1/12 หรือ 13/24 ฉะนั้นภาคควบคุมแชนแนลอินพุตจะมีจำนวน 2 เลเยอร์ เราจึงเห็นจำนวนก้านอินพุตสไลด์เฟดเดอร์เพียงจำนวน 12 ก้าน กล่าวคือ ใน 1 เลเยอร์มีจำนวน 12 แชนแนล ผู้ใช้จึงสามารถควบคุมแชนแนลได้ชุดละ 12 แชนแนล ในกรณีต้องการควบคุมแชนแนลที่ 13-24 จะใช้วิธีสลับเลเยอร์ คือเลือกเป็นเลเยอร์ที่ 2 นั่นคือ 13-24 มันจะมีผลต่อการควบคุมแชนแนลหรือเข้าถึงแชนแนลที่ 13-24 นั่นเอง
ปุ่มสวิตซ์ลัดไปแชนแนล 1-12, 13-24 และ Sends on Faders, Aux1-8, FX1-2
ปุ่มสวิตซ์ลัดไปยัง DCA Groups 1-12, Talkback และ Leves Aux1-8, FX1-12
บนมิกเซอร์จะมีปุ่มสวิตซ์กำกับไว้ชัดเจน ซึ่งตรงนี้จะไม่ครบคลุมส่วนที่เป็น Main Output แม้ว่าเมื่อสลับเลเยอร์แล้ว แต่ค่าต่างๆ ของแต่ละแชนแนลจะถูกจดจำอย่างอิสระ เช่นแชนแนล 1 กับแชนแนล 13 ซึ่งอยู่คนละเลเยอร์ค่าที่ถูกปรับแต่งจะไม่เกี่ยวข้องกัน
นอกจากนี้ ยังมีเลเยอร์ในฝั่งเอาต์พุต นั่นคือ Sends on Faders และในส่วนของ Level ที่เป็น Master Aux ส่วนที่เป็น Send คือ Aux 1-8 ตลอดจน FX และยังมีอีกหน้าหนึ่งคือ DCA ซึ่งมีทั้งหมดจำนวน 12 DCA ทำงานคล้ายกับ Group ของมิกเซอร์อะนาล็อก สิ่งที่ต่างกันคือไม่มี Out ไม่สามารถ Insert ได้ ใครที่มาจากสายอะนาล็อกต้องทำความเข้าใจจุดนี้ให้ดี
หน้า Mixer จะแสดงเซตละ 8 แชนแนล
หน้า Mixer โชว์แชนแนล Aux ต่างๆ
หน้า Mixer โชว์แชนแนล FX1-2
ในอดีตมิกเซอร์ของ Topp Pro รุ่นหนึ่งจะมี Group/Sub-Group และ DCA ให้ ซึ่งทำให้ผู้ใช้บางคนสับสน แต่รุ่นนี้ได้ปรับปรุงใหม่ซึ่งมีเฉพาะ DCA โดยในแต่ละ DCA สามารถควบคุมทุกส่วนได้ สไลด์เฟดเดอร์ค่าโรงงานตั้งไว้คือ 0dB
จากโครงสร้างแชนแนลทั้งหมด แสดงให้เห็นว่าบนมิกเซอร์รุ่นนี้มีทั้งหมด 5 ส่วน
บทความที่เกี่ยวข้อง :
มือใหม่หัดใช้ Topp Pro DM24.8 ดิจิตอลมิกเซอร์ EP.02
Review | Topp Pro DM-24.8 ดิจิตอลมิกเซอร์
สามารถสอบถาม ติดตามข่าวสาร และข้อมูลได้ที่ :
✅สนใจสั่งซื้อสินค้า ผ่านเว็ปไซต์ www.mynpe.com
✅ Line@ : http://bit.ly/LineMyNPEThailand
✅ Facebook : http://m.me/mynpethailand
✅ Twitter : twitter.com/mynpethailand
✅ Instagram : instagram.com/mynpethailand
✅ Youtube : www.youtube.com/user/mynpe
☎️ Tel : 02 225 0094 (Banmoh Branch)
Map : www.mynpe.com/mynpe-banmoh
☎️ Tel : 02 992 7379 (Zeer Rangsit Branch)
Map : www.mynpe.com/mynpe-zeer
☎️ Tel : 02 889 5498 (Salaya Branch)
Map : www.mynpe.com/mynpe-salaya