dB-Mark XCA+ Series ดิจิตอลครอสโอเวอร์

db-mark xca+ series

XCA26+ / XCA48+ ครอสโอเวอร์ 2 อินพุต 6 เอาต์พุต และ 4 อินพุต 8 เอาต์พุต ประมวลผลด้วย DSP 32-bit ความละเอียดที่ 24-bit/96kHz

RT60

dB-Mark XCA+ Series ครอสโอเวอร์หรือ Digital Speaker Management คุณภาพอีกตัวที่น่าลอง ในตลาดเมืองไทยช่วงที่ผ่านมาได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และบทความนี้จะแนะนำเฉพาะรุ่น XCA26+ และ XCA48+ หากย้อนไปก่อนหน้านี้เคยมี XCA Series ออกสู่ตลาดไปแล้ว ซึ่งตัว Plus (+) ถือเป็นรุ่นที่มีการพัฒนาต่อเนื่องจากรุ่นเดิม

xca48+

โดยมีการพัฒนาทางด้านซอฟต์แวร์ DSP ฟังก์ชันการเชื่อมต่อ การคอนโทรล มีออปชันเสริมสามารถช่วยให้สามารถทำงานง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น มีฟังก์ชันที่พัฒนาช่วยให้ใช้งานได้กว้างขึ้น

จุดเด่นของ XCA+

จุดเด่นของ XCA รุ่นก่อนหน้าจะเด่นในเรื่องคุณภาพเสียง ซึ่งมีน้ำเสียงออกแนวผู้ดี ไม่ดุดัน แต่ให้ความนุ่มนวล ให้ความถี่ต่ำนิ่มๆ ไม่กระแทกจนจุก เหมาะกับทุกแนวดนตรี ยกเว้นแนวดนตรีหมอลำทางภาคอีสานนั้นจะนิยมใช้ DP Series มากกว่า มันจะมีความดุดัน กระแทกอก ส่วน XCA จะเหมาะกับรสนิยมดนตรีทางภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคเหนือ

XCA Series ได้มีการคัดสรรชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่มีคุณภาพมากกว่า ภายในมีวงจรซับซ้อนกว่า ถามว่าเสียงดีกว่า DP Series หรือไม่ ตรงนี้ขึ้นอยู่กับว่าชอบน้ำเสียงแบบไหน ในรุ่นเก่าของ XCA และ DP Series สิ่งที่เห็นได้ชัดเลยคือตัวซอฟต์แวร์ต่างกัน รูปลักษณ์ก็ต่างกัน

ปัจจุบัน XCA+ และ DP+ หน้าตาเหมือนกันเกือบทุกอย่าง ใช้ซอฟต์แวร์เดียวกัน ต่างกันเพียงขนาดเครื่องแต่ละรุ่น วัสดุผลิตภายใน การออกแบบวงจรภายใน ในรุ่น DP+ จะใช้เกรดชิ้นส่วนธรรมดาไม่ได้อยู่ระดับไฮเอ็นด์ แต่ก็พอใช้งานได้ ขณะ XCA+ นั้นจะมีเกรดชิ้นส่วนอุปกรณ์ดีขึ้น ซึ่งเหมาะกับผู้ที่ต้องการอะไรที่พิเศษกว่า ในขณะฟังก์ชันโดยรวมคล้ายคลึงกัน

utwr1-01

จากที่เราได้ทดลองฟัง รับรู้ได้เลยว่าเนื้อเสียงมีความแตกต่างกัน แต่ก็ไม่ได้ต่างกันแบบ 50% สิ่งที่รับรู้ได้เลยคือย่านปลายแหลม ความคมชัด ในการถ่ายทอดสัญญาณเสียงจากต้นทาง จะครบถ้วนกว่า ไม่ว่าจะเป็นเสียง Hi-Hat กลองทอม กระเดื่อง จะถ่ายทอดได้ใกล้เคียงกับแหล่งกำเนิดที่สุด ซึ่งราคาทั้งสองซีรี่ส์ก็ต่างกันระดับหนึ่ง

ฟีเจอร์ XCA+

ความแตกต่างระหว่าง XCA26+ และ XCA48+ แตกต่างกันเพียงจำนวนอินพุตและเอาต์พุตเท่านั้น ส่วนฟีเจอร์อื่นๆ เหมือนกันแทบทุกประการ เนื่องจากว่าเป็นดิจิตอลครอสโอเวอร์ จึงประกอบด้วยค่า Sampling rate, Bit Depth และความละเอียดในการประมวลผล DSP ตัว XCA+ มีค่า Sampling rate ที่ 96kHz ส่วน Bit Depth มีค่า 24-bit ซึ่งเป็นภาคแปลงสัญญาณจากดิจิตอลเป็นอะนาล็อคหรืออะนาล็อคเป็นดิจิตอล มีระบบประมวลผล DSP ที่ 32-bit

สำหรับ XCA+ มีทั้งหมด 6 รุ่น ไล่ตั้งแต่ XCA24+, XCA26+, XCA28+, XCA36+, XCA46+ และ XCA48+ โดยเลขตัวหน้าคือจำนวนอินพุต ส่วนหลักหลังคือจำนวนเอาต์พุต ขณะนี้ทางนัฐพงษ์ฯ นำเข้าเฉพาะรุ่น XCA26+ และ XCA48+ เท่านั้น

xca26-01

การเชื่อมต่อ

ในรุ่นก่อนหน้านี้ สามารถเชื่อมต่อใช้งานกับคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ซอฟต์แวร์ได้ คือ USB 2.0/3.0 ปัจจุบันรองรับทั้ง USB2.0 และ 3.0 ได้เหมือนกัน รวมถึงการเชื่อมต่อผ่านพอร์ต RS485 แต่ในรุ่นใหม่สามารถเชื่อมต่อผ่านพอร์ต TCP/IP ได้หรือพอร์ต LAN เดิมทีในรุ่นเก่าไม่สามารถเชื่อมระหว่างเครื่องต่อเครื่องได้ เช่นกรณีเราต้องการพ่วงจำนวนเครื่องมากกว่าหนึ่งเครื่อง ปกติอาจใช้แค่ 1-2 ตัว

กรณีต้องการต่อ 3-4 ตัวหรือมากกว่า ซึ่งการใช้จำนวนมากอาจจะสลับสาย USB ระหว่างคอมพิวเตอร์ไปมา เพื่อเจาะจงการควบคุมเฉพาะเครื่องนั้นๆ ถ้าในระบบมี  3 เครื่องก็จะทำให้เกิดความยุ่งยาก

utwr1-02
UTWR1 มาพร้อมเสา Wi-Fi


ปัจจุบันสามารถนำทั้ง 3 เครื่องมากกว่ามาพ่วงกัน แล้วต่อกับคอมพิวเตอร์ที่จุดเดียว ผ่านอุปกรณ์ UTWR1 เพื่อคอนโทรลทีละเครื่องได้เลย โดยกำหนด ID ของแต่ละเครื่องไว้ สามารถตั้งได้สูงสุด 250 ID ทำให้ควบคุมเครื่องในเวลาเดียวถึง 250 เครื่องผ่านสาย LAN Cat5 เส้นเดียวนั่นเอง

สำหรับตัว UTWR1 เป็นออปชันเสริม จะต้องซื้อแยก เดิมทีเคยมีรุ่น UTW ใช้คอนโทรลทีละเครื่อง ปัจจุบันรุ่นนี้สามารถคอนโทรลได้ทีละหลายๆ เครื่อง สมัยก่อนจะแปลง USB เป็น LAN แล้วคอนโทรลระยะไกล ซึ่งไม่ค่อยได้รับความนิยมนัก ตัว UTWR1 สามารถควบคุมผ่านทั้งแบบไร้สาย Wi-Fi และแบบสาย LAN ในกรณีต้องการคอนโทรลในระยะไกล สามารถใช้เราท์เตอร์ซึ่งต้องซื้อมาเสริม

dB-Mark XCA26+

รูปแบบการเชื่อมต่ออุปกรณ์

หากกล่าวถึงรูปแบบการเชื่อมต่ออุปกรณ์ มันสามารถเชื่อมต่อได้สูงสุด 7 รูปแบบ หลักๆ เลยคือจากอุปกรณ์ Device หรือตัว XCA+ ต่อไปยังคอมพิวเตอร์พีซีหรือโน้ตบุ๊ค ซึ่งพลิกแพลงการเชื่อมต่อได้หลากหลายแบบ

รูปแบบที่ 1

การเชื่อมต่อผ่านสาย USB 2.0/3.0 ระหว่าง XCA ไปยังคอมพิวเตอร์ เป็นวิธีการเชื่อมต่อแบบพื้นฐาน ผู้ใช้อาจจะไปเชื่อมต่อด้านหลังเวที หรือหน้าเครื่องก็ได้ วิธีนี้จะต้องวางคอมพิวเตอร์ใกล้ๆ กับครอสโอเวอร์ เพราะสาย USB ไม่ได้ยาว 30-40 เมตร

รูปแบบที่ 2

สามารถเชื่อมต่อ XCA+ เข้ากับสาย USB ไปเข้าตัว UTWR1 แล้วต่อสาย Cat5 ไปยังโน้ตบุ๊ค ตรงนี้สามารถดึงได้ยาวขึ้น สามารถลากสายได้ยาวถึง 1500 เมตร

xca48-04
dB-Mark XCA48+

รูปแบบที่ 3

สามารถเชื่อมต่อผ่านสาย USB เข้ากับตัว UTWR1 แล้วต่อ Wi-Fi กับโน้ตบุ๊ค เป็นรูปแบบการเชื่อมต่อแบบไร้สาย ซึ่งจะได้ระยะทางไม่ไกล คือนำ UTWR1 มาวางไว้ด้านหลังเครื่อง XCA แล้วจ่ายสัญญาณ Wi-Fi ออกไป แล้วให้โน้ตบุ๊คเข้ามาเกาะสัญญาณดังกล่าว กรณีเป็นคอมพิวเตอร์พีซีจะต้องมีโมดูล Wi-Fi 

รูปแบบที่ 4

เป็นการต่อสาย USB จากเครื่องไปที่ UTWR1 แล้วต่อสาย Cat5 ไปเชื่อมต่อกับตัวเราท์เตอร์ จากนั้นดึงสาย LAN จากเราท์เตอร์เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี รูปแบบนี้จะใช้เราท์เตอร์มาช่วยจ่ายสัญญาณควบคุม เพื่อขยายระยะทางการเชื่อมต่อให้ไกลขึ้น

รูปแบบที่ 5

เชื่อมต่อเครื่องด้วยสาย USB จะเห็นว่าในแต่ละรูปแบบจะต้องใช้สาย USB 2.0/3.0 จาก XCA ไปยัง UTWR1 แล้วใช้ Wi-Fi ส่งไปหาตัวไวร์เลสเราท์เตอร์ แล้วใช้สาย Cat5 เชื่อมต่อเข้าสู่คอมพิวเตอร์พีซี ตรงนี้ขึ้นอยู่กับการจัดวางอุปกรณ์ เราท์เตอร์อาจจะวางไว้ใกล้กับคอมพิวเตอร์พีซี

รูปแบบที่ 6

เป็นการต่อโดยใช้สาย USB จากเครื่องไปหาตัว UTWR1 ผ่าน Wi-Fi ผ่านเราท์เตอร์ ผ่าน Wi-Fi แล้วเข้าคอมพิวเตอร์พีซี

จะเห็นว่า XCA+ สามารถต่อได้หลายแบบ แต่ละแบบมีรายละเอียดอยู่ในคู่มือ ในชีวิตจริง รูปแบบที่นิยมใช้กันคือถ้าไม่ลาก LAN ก็เป็นไฟเบอร์ออปติก กรณีเป็นไฟเบอร์ออปติกจะต้องมีอุปกรณ์แปลงเพิ่ม สมมติระยะ 60 เมตร แนะนำลากสาย Cat5 แล้วเชื่อมต่อไวร์เลสเป็นส่วนขยายเพิ่ม เพราะมันสามารถต่อได้หลากหลายแบบมาก เช่นรูปแบบที่ 5 หรือรูปแบบที่ 2 เป็นการต่อ Wi-Fi เข้าคอมพิวเตอร์พีซี หรือแบบที่ 3 ก็ได้ ทั้งแบบที่ 2 และ 3 ใช้งานได้เหมือนกัน

หากต้องการประหยัดและสะดวกที่สุดก็ให้เลือกแบบที่ 1 ไปเลย ไม่ต้องมีอุปกรณ์เสริม UTWR1 เสียบสาย USB ระหว่างคอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊คเข้ากับ XCA+ ได้เลย แต่การคอนโทรลระยะไกลอาจจะลำบาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าผู้ใช้ต้องการใช้งานในรูปแบบไหน ถ้าแบบดั้งเดิมก็ง่ายสะดวก แต่ถ้าต้องการควบคุมระยะไกลจำเป็นต้องซื้ออุปกรณ์เสริม

การต่อระบบดั้งเดิม

เป็นการนำครอสโอเวอร์มาวางไว้ใกล้ๆ FOH แล้วลากสายอะนาล็อคไปที่เวทีเพื่อต่อกับเพาเวอร์แอมป์ หรือวางครอสโอเวอร์ไว้ใกล้เพาเวอร์แอมป์หลังเวที โปรแกรมจุดตัดให้เรียบร้อย แล้วมาคอนโทรลเสียงที่ FOH บางเคสเอาครอสฯไปกองไว้กับแอมป์ ถ้าไม่ต้องการลากสายควบคุมก็ต้องใช้ระบบ Wi-Fi ซึ่งต้องซื้อออปชันเสริมแยกต่างหาก การเชื่อมต่อสาย LAN ไม่เหมือนการเชื่อมต่อพวกอินเตอร์เน็ต ไม่ต้องไขว้สาย ใช้สัญญาณ 3 เส้นที่เหลือเป็นกราวน์

xca48-02

ฟังก์ชันซอฟต์แวร์ที่น่าสนใจ

มีโปรแกรมความจำ 30 โปรแกรม เป็นฟีเจอร์พื้นฐานทั้งรุ่น XCA, XCA+ ความแตกกต่างสิ่งที่เห็นชัดระหว่าง XCA รุ่นเก่าและรุ่นใหม่คือซอฟต์แวร์ ถ้ามองผ่านๆ อาจจะไม่รู้ว่าซอฟต์แวร์ต่างกัน แต่เมื่อลงรายละเอียดแล้วจะพบว่าต่างกัน ของเดิมภาคอินพุตจะมี Gain, Noise gate, Polarity, Parametric EQ 6 band, Auto Gain, Compressor ในส่วนของ Mode จะไม่สามารถปรับเปลี่ยนภาค EQ ได้

เมื่อเทียบกับซอฟต์แวร์ตัวใหม่ อย่างแรก Delay time สามารถปรับค่าได้ทั้งแบบทศนิยมและปรับหลักด้านหน้าได้ ของเดิมจะปรับค่าละเอียดอย่างเดียว ของใหม่จะได้ทั้งค่าหยาบและค่าละเอียด เช่นต้องการตั้งค่า 3 เมตร ก็ต้องป้อนค่า 3 เมตรเข้าไปเลย

input software
DSP Software – Input

ในส่วนของโหมด Parametric EQ ของเดิมเปลี่ยนโหมดไม่ได้ ของใหม่มีให้เลือก 5 โหมด คือแบบ Parameter ให้เลือกเป็นรูปทรงระฆังคว่ำหรือระฆังหงาย โหมดยกหัว ยกหาง (Low-shelf, High-shelf) มี APF (All Pass Filter) รุ่นเดิมจะไม่มีฟีเจอร์นี้ รวมถึงการโชว์เส้นเฟสให้เห็น มี DEQ เพิ่มมา นั่นคือ Dynamic EQ ช่วยให้ปรับแต่งความถี่เจาะจงได้ง่ายขึ้น เช่นต้องการเน้นย่านความถี่ใด มากไปหรือน้อยไปในช่วงเวลานั้นๆ เราอาจต้องการเพิ่มหรือลดความถี่นั้นๆ มากขึ้นหรือลดก็ใช้ฟีเจอร์นี้ช่วย มีให้ 2 ย่านความถี่

Auto Gain อีกหนึ่งฟีเจอร์ที่มาใหม่ AGC ของเดิมก็มีให้แต่ลูกเล่นน้อยกว่ารุ่นใหม่ รุ่นใหม่ปรับได้ละเอียดกว่า โดยมีพารามิเตอร์ถึง 5 ค่า พ่วง Compressor ในตัว พร้อมพารามิเตอร์พื้นฐาน Attack, Release ฝั่งเอาท์พุตก็มีการเปลี่ยน มีการเพิ่มในส่วนของ อันใหม่จะมี APF1, APF2 ทั้งส่วนอินพุตและเอาต์พุต ส่วน Delay มีทั้ง In/Out เหมือนเดิม

output
DSP Software – Output

สรุป

กรณีผู้ใช้ที่มีเครื่อง dB-Mark รุ่นเก่าอยู่แล้ว หากซื้อรุ่นใหม่สิ่งที่จะได้คือฟังก์ชัน APF1 และ APF2 เป็นวงจรกรองผ่านทุกความถี่ เอาต์พุตของรุ่นเก่า Compressor/Limiter อยู่ด้วยกัน ในรุ่นใหม่ XCA+ ฟังก์ชันดังกล่าวจะแยกกัน ทำให้ง่ายต่อการปรับแต่ง บางครั้งเราต้องการปรับแต่งเฉพาะ Compressor หรือไม่ใส่ Limiter หรือไม่ต้องการใส่ Compressor แต่อยากใส่เฉพาะ Limiter ก็ทำได้ หรือจะใส่พร้อมกันก็ได้

อย่างไรก็ดี มันจะทำงานสัมพันธ์กัน ช่วยให้ป้องกันความเสียหายพวกเพาเวอร์แอมป์ได้ และหากให้แนะนำจริงๆ ควรเลือกเป็น XCA48+ เพราะการเลือกรุ่น 26+ จะได้การทำงานที่แคบกว่า คือได้อินพุตแค่ 2 ช่อง และเอาต์พุต 6 ช่อง หากออกแบบระบบเป็นสเตริโอจะได้แค่ Low-Mid-High จะมาทำ front field ก็ไม่ได้ และมันสามารถใช้มิกเซอร์ 2 ชุดบนครอสโอเวอร์ตัวเดียวได้ ไม่ต้องเปลืองแชนแนลมิกเซอร์ช่องมาสเตอร์ โดยจัด A+B เป็นมิกเซอร์ตัวแรก C+D เป็นมิกเซอร์ตัวที่ 2

กรณีนำไปใช้กับลำโพงไลน์อาร์เรย์ กรณีไลน์อาร์เรย์มีพาสซีฟเน็ตเวิร์กในตัวก็ต่อได้เยอะ หนึ่งเอาท์พุตต่อหนึ่งตู้ลำโพง แต่กรณีไม่มีเน็ตเวิร์กในตู้นั้นๆ อาจจะมี 3 ทางก็จะต้องใช้ถึง 3 เอาต์พุต คิดง่ายๆ ตัว XCA26+ ก็ทำได้ถ้าเป็นตู้พาสซีฟเน็ตเวิร์ก รุ่น XCA48+ สามารถเชื่อมต่อได้ถึง 24 ใบ บางระบบอาจจะทำ 2 เอาต์พุตต่อ 1 ใบ เพราะลำโพงใบนั้นเป็น 2 ทาง โดยรวมก็จะใช้เป็น 3 เอาต์พุตต่อ 1 ข้าง ส่วนเอาต์พุตที่เหลือใช้ทำซับวูฟเฟอร์แบบโมโนหรือสเตริโอ ทั้งนีทั้งนั้นขึ้นอยู่กับการออกแบบของผู้ใช้งาน

xca_series

บทความที่เกี่ยวข้อง :

dB Mark DP26+ และ DP48+ ดิจิตอลครอสโอเวอร์
เจาะแก่นการใช้งาน DP26 Mark IV
ตอนที่ 1
ตอนที่ 2 (มีคลิป)
ตอนจบ

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
บริษัท นัฐพงษ์ เซลส์แอนด์เซอร์วิส จำกัด

สำนักงานใหญ่บ้านหม้อ โทร 0-2225-0094
สาขาเซียร์รังสิต โทร 0-2992-7379
สาขาศาลายา โทร 0-2889-5496

หากสนใจสั่งซื้อ dB Mark XCA26+, XCA48+ สามารถแวะเยี่ยมชมได้ทางเว็ปไซต์ www.mynpe.com และผ่านทาง Fanpage ของบริษัทได้ที่ www.facebook.com/mynpethailand หรือจะเข้ามา Follow twitter, Instagram, Line@ ของบริษัทก็ได้เช่นกันที่ @myNPEThailand ตามช่องทางที่สะดวก

Read Previous

Alto TS3 Series ลำโพง Active 2 ทาง

Read Next

Takstar GX6 ไมโครโฟน USB