“DP26 Mark IV สามารถบูสต์ความถี่ได้สูงสุดถึง +20dB และคัตได้ -20dB การหมุนแต่ละสเต็ปนั้นสามารถเพิ่มหรือลดได้สเต็ปละ +/- 0.1dB”
สำหรับตอนที่ 2 เราได้รู้จักส่วนประกอบของซอฟต์แวร์กันไปพอสมควร ในตอนจบนี้ เนื้อหาจะเน้นไปที่ หน้าเครื่องฮาร์ดแวร์ แต่ยังมีเนื้อหาบางส่วนที่ต่อเนื่องจากหัวข้อปุ่มต่างๆ ของซอฟต์แวร์จากตอนที่แล้ว
ปุ่ม [Device] เป็นปุ่มที่ใช้เข้าถึงเครื่องปัจจุบันหรือเครื่องอื่นผ่าน ID ของเครื่องเหล่านั้น
ปุ่ม [Interface] เป็นปุ่มที่ใช้ตั้งชื่อเครื่องนั้นๆ ซึ่งจะไปโชว์ที่หน้าเครื่อง เช่น ชื่อของงาน ชื่อหน้าที่อุปกรณ์
ปุ่ม [Lock] เราสามารถตั้ง Password ล็อคเครื่องได้ หรือจะล็อคแบบไม่มีพาสเวิร์ดก็ได้ ซึ่งจำเป็นในกรณีที่เราเซตอัพระบบเรียบร้อยแล้ว เราใส่พาสเวิร์ดไว้ เราไม่ต้องการให้ใครมาเล่นหน้าเครื่อง เราอาจทำพรีเซตของตู้ใบนี้ไว้แล้ว เราล็อคตู้เลย สิ่งสำคัญห้ามลืมพาสเวิร์ด ไม่เช่นนั้นเราจะต้องล้างเครื่องฮาร์ดแวร์ใหม่ทั้งหมด ในส่วนล็อคนั้น เราสามารถเลือกล็อคเฉพาะบางฟังก์ชัน หรือล็อคทั้งหมดได้ ค่าเอาท์พุต/อินพุต ล็อคการ Load/Save ได้ จากนั้นคลิก OK จากนั้นสิ่งที่ล็อคไว้จะไม่สามารถทำอะไรได้ ทั้งในส่วนหน้าเครื่องหรือบนซอฟต์แวร์จนกว่าผู้ใช้จะทำการปลดล็อค
มุมขวามือด้านบนของหน้าต่างซอฟต์แวร์ DSP จะมีปุ่มฟังก์ชันต่างๆ ไว้ใช้งาน
ปุ่ม [Report] ใช้แสดงค่าต่างๆ ที่เราปรับแต่งทั้งหมด สามารถพริ้นต์เป็นกระดาษออกมาเก็บไว้เพื่อส่งงานให้ลูกค้า หรือทีมงาน หรือเก็บไว้ใช้ส่วนตัว รวมถึงยังสามารถ Save เป็นไฟล์สเปรดชีทเพื่อใช้กับซอฟต์แวร์ Excel ได้ด้วย
ทำความรู้จักฮาร์ดแวร์หน้าเครื่อง
เราได้ศึกษารายละเอียดการใช้งานเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ไประดับหนึ่งแล้ว บางครั้งเวลาทำงานต้องมีการใช้ฮาร์ดแวร์ จริงๆ เวลาอยู่หน้างาน จะใช้เฉพาะซอฟต์แวร์อย่างเดียวไม่ได้ เราต้องรู้จักฮาร์ดแวร์ด้วย ทีนี้ในส่วนของฮาร์ดแวร์นั้นจะมีด้านหน้ากับด้านหลังอุปกรณ์
ก่อนอื่นลองทำความรู้จักด้านหลังเครื่อง แต่ว่าเวลาทำงานจริงเราจะใช้หน้าเครื่องเป็นหลัก อย่างแรกคือปลั๊กไฟ AC ลักษณะปลั๊กเป็นแบบเดียวกับคอมพิวเตอร์ มีวงจรฟิวส์ และฟิวส์สำรองอีกตัวนึง กรณีเกิดการลัดวงจรหรือฟิวส์ขาด เราสามารถเปลี่ยนฟิวส์ได้
ด้านหลังอุปกรณ์ประกอบด้วยช่อง XLR IN, OUT รวมถึงสวิตซ์เปิด/ปิดเครื่อง และช่องต่อกับไฟฟ้า AC
ด้านหลังเครื่องจะประกอบด้วยสวิตซ์ Power และสวิตซ์เลือกระดับแรงดันไฟฟ้า พร้อมจุดลงกราวด์ลงแท่น ปุ่มป้องกันการลูปของสัญญาณ มีช่อง RS485 สำหรับเชื่อมต่อการควบคุมระยะไกล
ในซีรี่ส์นี้ รุ่น DP48 ปัจจุบันถือเป็นรุ่นใหญ่สุดของซีรี่ส์ มีจำนวนสูงสุด 4 อินพุต 8 เอาท์พุต สำหรับรุ่น DP26 จะมี 2 อินพุต ดังนั้น ช่องอินพุตและเอาท์พุตที่เกินมาจึงถูกปิดด้วยแผ่นเหล็ก
ในการเชื่อมต่อสายสัญญาณกับช่องอินพุต/เอาท์พุตนั้น เราต้องรู้ว่า [OUT 1] เป็นเสียงอะไร ย่านความถี่ไหน ซึ่งมันจะอ้างอิงกับซอฟต์แวร์ที่เราปรับแต่งไว้คือ [OUT 1, 2] เป็นซับวูเฟอร์ เราต้องเชื่อมต่อสัญญาณ [OUT 1, 2] ไปยังเพาเวอร์แอมป์ที่ใช้ขับตู้ซับวูเฟอร์ [OUT 3, 4] เป็นสัญญาณ Mid ต้องเชื่อมต่อไปที่ลำโพงเสียงกลาง และ [OUT 5, 6] เป็น Hi ต้องเชื่อมต่อกับเพาเวอร์แอมป์ที่ขับ ลำโพงเสียงแหลม ส่วนประกอบด้านหลังอุปกรณ์จะมีเพียงเท่านี้
ด้านหน้าเครื่อง
ด้านหน้าอุปกรณ์ dB-Mark DP26 Mark IV
หลังจากเราเปิดสวิตซ์เพื่อให้เครื่องเริ่มทำงานแล้ว ด้านหน้าเครื่องเริ่มจากฝั่งของสัญญาณอินพุต ถัดไปเป็นหน้าจอ LCD ถัดไปเป็นปุ่ม Edit ตามด้วยส่วนของฟังก์ชัน และภาคควบคุมเอาท์พุต ขวามือสุดคือช่องเชื่อมต่อกับสาย USB ทีนี้มาทำความรู้จักส่วนประกอบต่างๆ แบบละเอียด สำหรับฟังก์ชันต่างๆ เมื่อมีการใช้งานจะแสดงบนหน้าจอเครื่องซึ่งมีแสงพื้นหลังเป็นสีฟ้า ภายในจอจะแบ่งเป็น 2 แถวไว้แสดงอักขระต่างๆ
โดยมีแถวบนกับแถวล่าง ในแต่ละแถวนั้นสามารถแสดงอักขระได้สูงถึง 24 ตัวอักษร เครื่องนี้มีจำนวน 2 แถว ถัดไปเป็นปุ่ม Digital Encoder สำหรับ Edit/Enter บางยี่ห้ออาจเรียกว่า Data Wheel มีไว้สำหรับเปลี่ยนค่าพารามิเตอร์ หรือค่าต่างๆ ของฟังก์ชัน ซึ่งรายละเอียดฟังก์ชันต่างๆ จะกล่าวในลำดับต่อไป
การจัดการอุปกรณ์เบื้องต้น
ฝั่งอินพุต เนื้อหาจะแนะนำแนวทางวิธีการปรับแต่ง โดยในการปรับแต่งฝั่งเอาท์พุตนั้นจะคล้ากับอินพุต คือการทำงานแต่ละปุ่มจะเหมือนกัน เมื่อต้องการ Edit ให้กดปุ่มที่อยู่เหนือตัว A, B
ซึ่งปุ่มเหล่านี้จะทำหน้าที่ 2 อย่างคือ Mute กับ Edit ในการใช้งานหาก กดปุ่มเหล่านี้ช่วงเวลาสั้นๆ (Short) มันจะทำการ Mute หากกดแช่ไว้นานๆ (Long) ประมาณ 2 วินาทีมันจะเข้าสู่โหมดการ Edit ทีนี้เรามาดูกันว่า Short, Long ใช้งานยังไง
เมื่อกดปุ่มเหล่านี้ให้กลายเป็นโหมด Edit ในฝั่งอินพุตนั้น ฟังก์ชันแรกที่สามารถปรับแต่งได้คือ EQ หรือในอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์จะมีให้ทั้งหมด 6 แบนด์ความถี่ซึ่งเท่ากับจำนวนแบนด์ความถี่ในซอฟต์แวร์ การปรับแต่งค่า EQ บนซอฟต์แวร์จะทำงานได้ง่ายกว่า เนื่องจากเราไม่ต้องกดปุ่มฟังก์ชันใดๆ เพื่อปรับค่าพารามิเตอร์ต่างๆ เราสามารถลากเมาส์ไปคลิกฟังก์ชันต่างๆ บนซอฟต์แวร์ได้เลย
ส่วนการใช้งานบนฮาร์ดแวร์นั้น การปรับแต่งค่าต่างๆ บนฮาร์ดแวร์ผู้ใช้จะต้องเลือกฟังก์ชันที่ต้องการปรับแต่ง ฟังก์ชันไหนที่ไม่สามารถปรับแต่งได้ ฟังก์ชันไหนที่ปรับได้
ปุ่มสวิตซ์ด้านล่างใช้สั่ง Mute เฉพาะเอาท์พุตนั้นๆ
แนวทางการปรับฟังก์ชัน EQ
ในการปรับแต่งค่า EQ เรารู้แล้วว่าค่า EQ ฝั่งอินพุตนั้นเราไม่สามารถเลือกโหมดได้ มันจะมีเพียงโหมดเดียวคือ PRQ หรือพารามิเตอร์เท่านั้น คือปรับ EQ ลักษณะระฆังคว่ำและระฆังหงาย
สำหรับวิธีการเลือกความถี่ ให้สังเกตว่าบนหน้าจอจะมีเคอร์เซอร์กระพริบอยู่ อยู่ที่เลข 3 ในกรณีเราต้องการเปลี่ยนความถี่ ให้เราหมุนปุ่ม Digital Encoder มันจะทำงานเป็นปุ่มหมุน Rotary หมุนได้ไม่มีสิ้นสุด เมื่อเราหมุนไปตามเข็มนาฬิกาให้สังเกตว่าตัวเลขบนจอจะเปลี่ยนค่า หากเทียบกับกรณีของซอฟต์แวร์ค่ามันจะเลื่อน
ถามว่ามันจะเลื่อนไปไหน ค่ามันจะไปข้างหน้าหรือค่าเพิ่มขึ้น กรณีเราหมุนทวนเข็มนาฬิกามันจะเลื่อนมาทางฝั่งซ้ายสุดของ EQ นั่นคือ 20Hz สุดกว่านี้คือค่า Off สมมติเราเลื่อนไปข้างหน้า แล้วเลือกความถี่เป็น 33.1Hz ในเบื้องต้นนั้นถือเป็นความถี่ที่เราต้องการ แต่อาจไม่ใช่ความถี่สุดท้ายที่เราจะเลือก แต่เราเลือกไว้ก่อน
หากต้องการเปลี่ยนเคอร์เซอร์ไปอยู่ตำแหน่ง Gain หรือค่าความดังของความถี่เหล่านั้น ให้กดปุ่ม Digital Encoder/Edit ลงไปหนึ่งครั้ง เคอร์เซอร์จะย้ายตำแหน่งทันที มันจะย้ายตำแหน่งไปอยู่ที่ dB แนวทางการปรับแต่ง EQ เราต้องบูสต์ขึ้นไป 3 หรือ 6dB เพื่อสุ่มหาค่าความถี่ที่เราต้องการ
ลักษณะการปรับค่า EQ ฝั่งอินพุต
ในการทำงานที่หน้าเครื่องอาจจะช้านิดนึง แตกต่างกับการทำงานบนซอฟต์แวร์ที่เราสามารถเลื่อนค่าความถี่ต่างๆ ได้ง่ายและมีความคล่องตัวกว่า ขณะบนตัวฮาร์ดแวร์เราต้องมั่นใจว่าความถี่ที่เลือกนั้นใช่หรือไม่ใช่
เมื่อเราต้องการบูสต์ความถี่เหล่านั้นมากขึ้น ให้หมุน Digital Encoder ไปจนกว่าจะได้ค่าเป้าหมายที่เราต้องการ สำหรับอุปกรณ์รุ่นนี้สามารถบูสต์ความถี่ได้สูงสุดถึง +20dB และคัตได้ -20dB
การหมุนแต่ละสเต็ปนั้นสามารถเพิ่มหรือลดสเต็ปละ +/- 0.1dB ซึ่งถือว่ามีความละเอียดพอสมควร สมมติเราต้องการปรับ Gain ให้ย่านความถี่ 33.1Hz ลงมา 6dB ให้คัตความถี่นั้นลงมาโดยการใช้ Digital Encoder..>>