“ข้อดีของ dB-Mark คือในแต่ละแบนด์ความถี่ ผู้ใช้สามารถเลือกความกว้าง/แคบแบนด์วิธของความถี่ได้”
เมื่อสองสัปดาห์ก่อน บทความตอนแรกได้ถูกเผยแพร่ไปในโลกโซเชียลและบนเว็บไซต์ reverbtimemag.com ได้รับความสนใจจากผู้อ่านเป็นจำนวนมาก หากใครพลาดตอนแรกสามารถอ่านย้อนหลังได้ที่ลิงค์นี้ https://bit.ly/2KInk4m ในตอนที่ 2 เนื้อหาจะเน้นไปที่การใช้งานซอฟต์แวร์ของ DP26 Mark IV และเรายังจัดทำคลิปมาให้ดูการใช้งานฟังก์ชัน X-OVER อีกด้วย
ในการใช้งาน X-OVER จะต้องเริ่มที่ [OUT 1] โดยการเริ่มตัดความถี่ซับวูเฟอร์ โดยกรอกข้อมูลเข้าไปที่ช่อง FQCY Hz แล้วเราจะเห็นลักษณะความชันของกราฟ..แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการเลือกโหมดฟิลเตอร์ลักษณะใด เช่น Linkwitz–Riley, Butterworth, Bessel โดยคลิกที่ช่อง Mode ภายในช่องนี้จะมีรายชื่อฟิลเตอร์ที่มาจากโรงงานให้เราเลือกใช้งาน สมมติว่าเรากำหนดเป็น Butterworth เพื่อให้เสียงมันกระแทก จากนั้นให้เลือกค่าความชัน (Slope) ซึ่งเราสามารถเลือกได้ตั้งแต่ 12dB/Octave จนถึง 48dB/Octave
ยิ่งค่าตัวเลขเยอะ ความชันยิ่งสูง ตัวอย่าง เราอาจเลือกความชันเป็น 36dB/Octave จากนั้นเราจะเห็นรูปร่างของกราฟ คือจะเริ่มต้นจาก 20Hz ไปจบที่ 80Hz บางคนอาจจัดวางรูปแบบเป็น Hi-Mid-Low ซึ่งจะทำให้สับสนได้ง่าย อีกฟังก์ชันหนึ่งที่น่าสนใจคือ ฟังก์ชัน Link กรณีเราปรับแต่ง [OUT 1] เสร็จเรียบร้อยแล้ว หากต้องการให้ [OUT 2] มีค่าต่างๆ เหมือนกับ [OUT 1] ให้คลิกที่ Link ของ [OUT 2] เป็นค่า Link_1
คลิปวิดีโอแนวทางการใช้งานฟังก์ชัน X-OVER บน DP26 Mark IV
ถัดมาเป็น [OUT 3] ย่าน Low ถูกตัดช่วงย่านความถี่ 80Hz โดยให้กำหนดย่าน High-pass เป็น 80Hz และกำหนดรูปแบบฟิลเตอร์เป็น Butterworth เหมือนเดิม แล้วค่อยเลือกความชันของกราฟเป็น 36dB/Octave ทีนี้ให้เราเลือกย่าน Low-pass โดยกำหนดความต้องการว่าจะให้ย่าน Mid ไปจบที่ความถี่ใด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสเป็คดอกลำโพง
สมมติกำหนดเป็น 2.5kHz ให้กรอกตัวเลข 2500 เข้าไป แล้วเลือกความชันเป็น 36dB/Octave แล้วกด Link_3 ใน [OUT 4] เพื่อให้ค่าในเอาท์พุต 4 ทำงานตาม [OUT 3] ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาในการปรับแต่งได้ ส่วน [OUT 5] ทำเป็น Hi ให้เลือก High-pass เป็น 2.5kHz (2500Hz) แล้วกำหนดความชันเป็น 36dB/Octave ส่วนย่าน Hi เราไม่ทำอะไร และ [OUT 6] ให้กำหนดเป็น Link_5
ในการ Link ระบบจะทำการลิงค์ค่าทุกอย่าง มันลิงค์ทุกฟังก์ชันที่เป็นคอมเพรสเซอร์ ดีเลย์ X-OVER และ EQ แทนที่เราจะแต่งค่าต่างๆ เองทุกเอาท์พุต แต่เราไม่จำเป็นต้องทำแบบนั้น เพราะเมื่อตั้งค่าเอาท์พุตใดๆ เสร็จ เราสามารถกำหนดเอาท์พุตอื่นๆ ลิงค์ค่าต่างๆ เข้าด้วยกันได้
ทีนี้หากเราต้องการดูกราฟ เราอยากเห็น Curve ของย่านความถี่ต่างๆ ให้คลิกที่ปุ่ม Curve ของแต่ละเอาท์พุต ไล่จาก [OUT 1], [OUT 3], [OUT 5] จากนั้นซอฟต์แวร์จะโชว์กราฟทุกย่านความถี่ให้เห็น
การปรับแต่ง EQ
ในขั้นตอนการแต่ง EQ หากเราไม่ต้องการปรับแต่ง EQ บนซอฟต์แวร์ สามารถแต่งบนหน้าเครื่องได้ หรือกรณีเราต้องการทำพรีเซตค่า EQ ลำโพงแต่ละดอก แม้เราทำข้างนอกได้ แต่จะแต่งค่าโดยละเอียดของแต่ละดอกไม่ได้ จะทำได้เพียงปรับแต่งภาพรวมทั้งหมดเท่านั้น จะเห็นว่าการปรับแต่งบนซอฟต์แวร์ แต่ละเอาท์พุตสามารถปรับแต่ง EQ ได้สูงสุดจำนวน 6 แบนด์ความถี่ สามารถเลือกค่าโหมดของกราฟ ความถี่ และแบนด์วิธ Gain ได้
สำหรับค่าแบนด์วิธและความชันของกราฟนั้นจะมีความสัมพันธ์กัน ปกติ EQ มีจำนวนเอาท์พุตละ 6 แบนด์ความถี่ ถ้าหนึ่งข้างเราแต่งแค่ 3 ย่านความถี่ คือแต่งเป็น Low-Mid-Hi แต่ละเอาท์พุตจะมีเพียง 3 เอาท์พุต นั่นคือ 1, 3, 5 ถ้านับรวมก็จะเป็น 6×3 = 18 แบนด์ความถี่ กรณีเราแต่งเป็น 4 ทาง หรือ 5 ทาง กรณีที่เป็นเซตตู้ใหญ่ๆ คือมีกลางแหลม 4 ทางในตัว และมีซับวูเฟอร์
ในกรณีทำเป็น 5 ทาง เราก็ต้องใช้ 5 เอาท์พุต ซึ่งแต่ละเอาท์พุตมี 6 แบนด์ความถี่ 5×6 = 30 แบนด์ความถี่ ถามว่าในการออกแบบระบบเราจะใช้สูงถึง 6 แบนด์ความถี่เลยใช่ไหม นั่นอาจจะเป็นไปได้ยาก แต่บางคนต้องการความละเอียดอาจจะทำก็ได้
หลังจากป้อนค่าความถี่ที่ต้องการตัดครอสฯ เข้าไปแล้วจะเห็นลักษณะกราฟ จากนั้นให้เลือกชนิดของฟิลเตอร์
สำหรับข้อดีของ dB-Mark อย่างหนึ่งคือในแต่ละแบนด์ความถี่ ผู้ใช้สามารถเลือกความกว้าง/แคบแบนด์วิธของความถี่ได้ เราจะบูสต์จะคัต เราต้องการทำให้มันแคบๆ เพื่อไม่ให้มันไปรบกวนความถี่ข้างๆ หรือจะทำให้บานขึ้น โดยทำให้ตัวฐานความถี่มันกว้างขึ้น เพื่อที่เราไม่ต้องแต่งแบนด์ย่านความถี่มากนัก อย่างเช่นในกรณีเสียงที่มันเกิน เราอาจจะกดมันลงมาแล้วค่อยๆ บีบ ค่อยๆ ฟังเสียงนั้น
ในขั้นตอนการทำ EQ สมมติ เราเข้าไปที่ [OUT 1] คลิกที่ปุ่ม EQ เราจะเห็นสถานะของปุ่มฟังก์ชัน EQ เป็นสีเทาปกติอยู่ เพราะยังไม่มีการปรับแต่งอะไร กรณีเราไปเลือกความถี่ 31 Hz เรายังสามารถคลิกปุ่มสามเหลี่ยมข้างๆ เพื่อปรับความถี่ขึ้น/ลงได้อีกด้วย จากนั้นให้ปรับค่าแบนด์วิธ (Bandwidth) ปกติแล้วเราจะยังไม่เห็นอะไร เพราะค่า Gain ยังอยู่ที่ระดับ 0dB
ถ้าเราเลือกความถี่ไว้ 31Hz ตามปกติ จากนั้นปรับค่าแบนด์วิธ 0.30 แล้วปรับค่า Gain ในเรื่องเทคนิคการปรับแต่ง EQ นั้น มักนิยมบูสต์ขึ้นก่อน เพื่อหาความถี่ที่มันเกินแล้วค่อยคัตความถี่นั้นลง เช่น เราบูสต์ Gain ขึ้น +6dB กราฟในย่านความถี่ 31Hz มันจะโด่งขึ้น จากนั้นให้เรากวาดหาย่านความถี่ที่มีปัญหา ถ้าเราไปเจอความถี่ที่สร้างปัญหา อาจจะเป็นค่า 40Hz ที่ฟังแล้วรู้สึกว่ามันบวมๆ เราสามารถใช้เมาส์คลิกที่ตัวกราฟแล้วลากเมาส์เพื่อเลื่อนหาความถี่เป้าหมายได้ หากเจอความถี่ที่คิดว่าใช่ ให้เราคัตความถี่นั้นลง