เปิดประตูสู่โลกอุปกรณ์ CIS ของ Yamaha

DSC 0106 head

“ระบบเสียงที่มีคุณภาพคือตัวแปรสำคัญ เพราะมันมีบทบาทต่อการสร้างอารมณ์และบรรยากาศที่ดีให้กับผู้ฟัง”

หลายคนมีความคิดที่จะปรับปรุงคุณภาพเสียงให้เข้ากับสถานที่ต่างๆ เพื่อใช้งานเสียงดนตรี หรือเสียงประกาศ การเลือกใช้ระบบเสียงคุณภาพจะช่วยสร้างความประทับใจให้กับผู้ฟัง และยังส่งผลเกี่ยวเนื่องกับตัวธุรกิจเหล่านั้นอีกด้วย

CIS (Commercial Installation Solutions) เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์สินค้าของ Yamaha ที่จะมาตอบโจทย์ความต้องการในเชิงธุรกิจทุกรูปแบบ ผ่านประสบการณ์อันยาวนานของ Yamaha ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบวิจัยพัฒนาเครื่องเสียง รวมถึงอุปกรณ์ประมวลผลต่างๆ

คุณศักดิ์ชัย ชัยประภาทอง เจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิคอาวุโสของสยามดนตรียามาฮ่า ได้เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับประเด็นนี้ ที่งานสถาปนิก ’62 ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองทองธานี เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมานี้เอง

ปีนี้สยามดนตรียามาฮ่านำสินค้าอะไรมาโชว์บ้าง

ตัวโปรดักซ์ที่ Yamaha มานำเสนอ ส่วนใหญ่หลักๆ จะเกี่ยวข้องกับด้าน CIS (Commercial Installation Solutions) อุปกรณ์ทั้งหมดจะเกี่ยวกับงานด้านการติดตั้งในทางธุรกิจ จะต่างกับงานที่เราเคยไปออกบูธ เช่น งานบ้านและสวน เพราะงานนั้นจะเกี่ยวข้องกับคอนซูมเมอร์ เป็นคนละกลุ่มเป้าหมาย คือเป็นผู้ใช้ที่เข้ามาซื้อของไปใช้เองที่บ้าน แต่ในส่วนของงานนี้ (สถาปนิก ’62) จะเน้นไปที่งานติดตั้งเป็นหลัก

03
architect ’19 : มุมนี้โชว์ลำโพง Surface Mount ซึ่งประกอบด้วย VS, VXS และ VXL ซีรี่ส์

ฉะนั้น ไลน์โปรดักซ์กลุ่มของสินค้าที่นำมาโชว์ก็จะเป็นสินค้าด้าน CIS เป็นหลัก และลำโพงที่เราโชว์ก็จะเกี่ยวกับงานติดตั้ง เช่น ลำโพงติดเพดาน ลำโพงติดพนัง แต่ของ Yamaha จะเรียกว่า Surface Mount และ Ceiling Mount

ลำโพงที่เป็นซิลลิ่งก็เป็นพวก VXC ถ้าเป็นตัว Surface Mount ก็จะเป็นตัว VXS หรือ VS รวมถึง VXL ที่เป็นไลน์อาร์เรย์ตัวใหม่ของ Yamaha

สำหรับรุ่นนำมาติดตั้งโชว์มีรุ่น VXL1-8, VXL1-16, VXL1-24, VXL1-1P รุ่นที่ลงท้ายด้วยรหัส “P” ถือเป็นเทคโนโลยีใหม่ของ Yamaha สามารถนำไปใช้งานกับตัว Dante โดยไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อสายไฟฟ้าเพื่อไปเลี้ยงลำโพง แต่จะใช้แรงดันไฟฟ้าจากตัว Ethernet Switch หรือที่เรียกว่า PoE (Power over Ethernet)

เพราะตัวนี้มีเทคโนโลยีใหม่ ที่ติดตั้งง่ายขึ้น โดยใช้แค่สาย LAN เพียงเส้นเดียว คือวิ่งจากเน็ตเวิร์กสวิตซ์ที่เป็น PoE จ่ายไฟมาที่ลำโพงได้เลย ซึ่งเป็นความทันสมัยที่เรานำมาโชว์ในงานนี้

ส่วนตระกูล VXL ซีรี่ส์ที่เป็นรุ่นปกติก็ยังมีอยู่ คือต่อกับแอมป์ที่เป็นภาคขยายไปภายนอก แล้วนำมาต่อกับลำโพงอีกทีนึง เพื่อให้มีการขยายเสียงได้ เพราะฉะนั้น ตัวมันเองจะไม่มีภาคขยายในตู้ นี่เป็นส่วนหนึ่งของลำโพงที่เรานำมาโชว์

อุปกรณ์ที่โชว์ไม่ได้มีแค่ลำโพง

ส่วนอุปกรณ์อื่นๆ ที่จะตอบโจทย์ในเรื่องของการใช้งาน นอกเหนือจากลำโพง เราได้นำอุปกรณ์ระบบของชุดประชุม มีอุปกรณ์ที่เรียกว่า Video Sound Bar รุ่น CS-700 ซึ่งมีกล้องวิดีโออยู่ในตัว

สามารถที่จะใช้ประชุมทางไกลในระหว่างประเทศ ระหว่างสาขาก็ได้ หรือผ่านพวกซอฟต์แวร์ พวกสไกป์ (Skype) รวมถึงพวกซอฟต์แวร์อื่นๆ ที่รองรับภาพและเสียง

หรือกรณีเป็นการประชุมงานกลุ่มเล็กๆ ไปออกแคมป์ข้างนอก ซึ่งไม่มีไฟฟ้าใช้ ก็อาจจะใช้อุปกรณ์รุ่น YVC200 ตัวนี้จะเป็นอุปกรณ์พกพาส่วนตัว มีแบตเตอรี่ในตัว สามารถใช้งานแบตเตอรี่และเชื่อมต่อด้วยการชาร์จผ่านบลูทูธได้ แค่เรามีโทรศัพท์ก็สามารถประชุมกลุ่มเล็กๆ ได้ ตรงนี้ถือว่าสะดวกดี

DSC 0109 ok
คุณศักดิ์ชัย ชัยประภาทอง ฝ่ายเทคนิคอาวุโสของสยามดนตรียามาฮ่า เป็นผู้ถ่ายทอดเรื่องราว CIS ที่งานสถาปนิก ’62

เรายังมีเพาเวอร์แอมป์สำหรับงานติดตั้ง ซึ่งเป็นเน็ตเวิร์กเพาเวอร์แอมป์ นั่นคือ Dante เน็ตเวิร์ก เราก็นำมาโชว์ในงานนี้ รวมถึงตัวโพรเซสเซอร์สามารถที่จะวิ่งผ่าน Dante เน็ตเวิร์กได้เช่นกัน

ฉะนั้นมันจึงเป็นโซลูชันที่เป็น Dante เน็ตเวิร์กทั้งระบบ เป็นฟูลซิสเท็มซึ่งประกอบด้วยตัวโพรเซสเซอร์ เพาเวอร์แอมป์ จนมาถึงตัวลำโพง และลำโพงอาจจะมาถึงรุ่นที่เป็นเวอร์ชันธรรมดาทั่วไปที่เราใช้ คือเป็นไลน์โอห์ม หรือจะเป็นลำโพงที่มีลักษณะเป็น Dante นั่นคือลำโพงที่เป็น PoE ซีรี่ส์ จะลงท้ายด้วยตัว P

งานนี้จัดโพรเซสเซอร์แบบอลังการ

ส่วนโพรเซสเซอร์ที่นำมาโชว์ นอกเหนือจาก MRX7-D ซึ่งเป็นโพรเซสเซอร์ที่เป็นลักษณะแบบฟรีดีไซน์ กล่าวคือ เราสามารถที่จะออกแบบตัวอุปกรณ์ต่างๆ บนโพรเซสเซอร์ได้เลย หรือจะเป็นแบบ Pre-Install มาให้อย่างเช่น MTX5-D ซึ่งมี Dante เหมือนกัน เพียงแต่มันจะมีโครงสร้างของมิกเซอร์อยู่ในตัวอุปกรณ์โพรเซสเซอร์เลย เราไม่จำเป็นต้องสร้างขึ้นใหม่ คือหยิบมาใช้แล้วปรับแต่งได้เลย ซึ่งมันจะสะดวกขึ้น

DSC 0107 rack
architect ’19 : ตู้แร็คบรรจุโพรเซสเซอร์รุ่น MRX7-D, MTX5-D, MTX3 ส่วนมิกเซอร์มีรุ่น TF-Rack เพาเวอร์แอมป์ รุ่น XMV ด้านบนสุดคือเน็ตเวิร์กสวิตซ์ของ Yamaha SWR2100 ซีรี่ส์

หรือจะเป็นรุ่นที่เล็กลงมาอย่าง MTX3 ซึ่งไม่มี Dante เน็ตเวิร์ก แต่จะมี YDIF (Yamaha Digital InterFace) ซึ่งเชื่อมต่อด้วยสาย LAN เช่นกัน เพียงแต่ลักษณะการเชื่อมต่อจะเป็น Ring Loop แตกต่างกับระบบ Dante ซึ่งสามารถเชื่อมต่อได้ทั้ง 2 แบบคือ Star หรือ Daisy Chain ก็ได้

แต่ตัว YDIF จะต้องฟีดแบ็กลูปกลับมาต้นทาง เพื่อที่จะทำเป็น Redundant ทำให้ระบบมีความปลอดภัย

Yamaha ผลิตเน็ตเวิร์กสวิตซ์เอง

ตอนนี้ Yamaha ได้เปิดตัวเน็ตเวิร์กสวิตซ์ขึ้นมาใหม่ ตระกูล SWR ที่เรานำมาโชว์ในงานนี้เป็นตระกูล 2100P-5/-10 สังเกตที่ลงท้ายด้วยตัว P สวิตซ์ตัวนั้นจะมี PoE ซัพพอร์ตในตัวจากสวิตซ์ คือมันมีข้อดีในแง่ที่ว่า ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์อื่นเช่น ลำโพงที่เป็น PoE

หรือตัวคอนโทรลเลอร์ภายนอก เช่นรุ่น MPP1 ซึ่งต้องใช้ไฟเลี้ยงจากภายนอก เราไม่จำเป็นต้องไปเชื่อมต่อไฟจากอะแดปเตอร์เลย เราสามารถจ่ายแรงดันไฟจากตัวเน็ตเวิร์กสวิตซ์ตัวนี้ ออกมาที่ตัวอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้ได้เลย ซึ่งทำให้การติดตั้งใช้งานมีความสะดวกและง่ายขึ้น ไม่จำเป็นต้องไปหาภาคจ่ายไฟอื่นๆ มาเพิ่มเติม

เหตุผลอีกอย่างที่เราใช้เน็ตเวิร์กสวิตซ์ของ Yamaha คือเราสามารถกำหนดโหมดการทำงาน ของเน็ตเวิร์กสวิตซ์ตัวนี้ให้รองรับ Dante เน็ตเวิร์กได้โดยตรง

สมมติ เราเลือกใช้สวิตซ์ยี่ห้ออื่น เราจะต้องทำการโปรแกรมอุปกรณ์ และสวิตซ์บางตัวก็ไม่สามารถใช้งานร่วมกับ Dante ได้ ไม่ใช่สวิตซ์ทุกตัวจะเชื่อมต่อกับ Dante ได้ ต้องดูรายชื่อของสวิตซ์เพราะมันอยู่ในแบล็กลิสต์

พวกนี้นำมาใช้ไม่ได้ โดยเฉพาะสวิตซ์ที่ระบุ EEE หรือพวก Green Ethernet เหล่านี้จะสร้างปัญหาให้กับระบบเน็ตเวิร์กเสียง หากเรานำมาใช้งานแล้วไม่ปิดฟังก์ชันนี้ เมื่อไม่มีการใช้งานชั่วคราว มันจะตัดไฟออกเลย แล้วทำให้เสียงในระบบหายไป เพราะเสียงมันต้องเปิดตลอดเวลาใช่ไหม..

อ่านต่อหน้า 2

Read Previous

เปิดตัว SHURE GLX-D ADVANCED ชุดไมโครโฟนดิจิตอลไร้สาย

Read Next

เจาะแก่นการใช้งาน dB-Mark DP26 Mark IV