CC-5MT อุปกรณ์ควบคุมกล้องติดตามภาพอัตโนมัติ

CC-5MT

CC-5MT สามารถเชื่อมต่อกับกล้องวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ พร้อมแสดงผลภาพได้พร้อมกัน 3 จอ ใช้ร่วมกับชุดประชุม CF-5M Series ได้อย่างลงตัว

NPE CC-5MT เป็นเครื่องควบคุมกล้องเพื่อติดตามภาพแบบอัตโนมัติ หรือ Auto-Tracking Camera Controller สำหรับอุปกรณ์ตัวนี้เป็นเครื่องที่อยู่ในกลุ่มของระบบกล้องติดตามภาพอัตโนมัติชุด CF-5M Series สามารถรองรับการทำงานได้ 2 ระบบ ได้แก่

  • ระบบกล้องวงจรปิดทั่วไปที่ไม่ได้ต่อกับชุดประชุม
  • ระบบกล้องติดตามภาพที่ใช้ร่วมกับชุดประชุม CF-5M Series
NPE Conference

CC-5MT มีฟีเจอร์โดดเด่นหลายอย่าง อาทิ ฟังก์ชันตั้งค่าตำแหน่งของกล้องเพื่อใช้ร่วมกับชุดประชุม CF-5M Series รวมถึงฟังก์ชันกำหนดตำแหน่งของชุดไมค์ประชุม อุปกรณ์รุ่นนี้สามารถเชื่อมต่อกับเครื่องควบคุมชุดประชุม และยังมีช่องเชื่อมต่อกับกล้อง video conference พร้อมชุดแยกสัญญาณได้ 3 จอภาพอีกด้วย

อุปกรณ์ตัวนี้จะใช้ควบคุมกล้องให้หมุนซ้าย/ขวา ก้มเงยหรือซูมเข้าหา สามารถล็อค IP ได้ เช่น กำหนดให้กล้องหมุนไปทิศนี้มันเป็น IP ที่ลำดับเท่าไหร่ ซึ่งทำให้จับภาพได้ตำแหน่งที่แม่นยำ รวมถึงยังซิงค์กับชุดประชุม CF-5MS ได้อีกด้วย

ไอเดียการใช้งาน CC-5MT

สำหรับการใช้งานจริงนั้น จะมีการเชื่อมต่อโดยที่ด้านหลังอุปกรณ์จะมีช่องเชื่อมต่อสัญญาณ หมายความว่า เราสามารถเชื่อมต่อสัญญาณระหว่างตัวควบคุมกล้องวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ไปยังอุปกรณ์ชุดประชุม ปกติในระบบกล้องอะนาล็อคธรรมดา ที่เป็นสายที่มีขั้วต่อแบบ BNC เราสามารถนำมาเชื่อมต่อกับ CC-5MT ได้

เมื่อเชื่อมต่อเสร็จแล้ว จะมีเอาต์พุตให้จำนวน 3 ช่องสัญญาณ เราสามารถนำสัญญาณดังกล่าวแชร์ออกไปได้ถึง 3 หน้าจอภาพ นี่คือรูปแบบการใช้งานอะนาล็อค

เวลาเราเซตอัพระบบชุดประชุม เราควรตั้ง IP เครื่องเสียก่อน ยกตัวอย่าง เรามีไมค์ในห้องประชุมจำนวน 10 ตัว วางกระจาย ณ จุดต่างๆ 10 ตำแหน่ง ซึ่งต้องมีการวางแผนไว้ว่า ไมค์แต่ละจุดห่างกันเท่าไหร่ โดยกำหนดจุดวางไมค์เอาไว้

เมื่อมาร์คจุดวางไมค์แล้ว ให้เซตจุด IP ไมค์ หมายความว่า เราทำการเซตตำแหน่งของไมค์แต่ละตัว เช่น ไมค์ตัวที่ 1 คือ IP ที่ 1 ระบบก็จะจดจำตำแหน่งว่าไมค์ตัวนั้นเลขลำดับ IP คืออะไร เรียงเป็น IP ที่ 2..3..4 อันนี้คือรูปแบบตำแหน่งไมค์

หลังจากเราได้เซตตำแหน่งไมค์เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนถัดไปคือการเซตตำแหน่งกล้อง นั่นคือ IP ของกล้อง เราสามารถจัดการผ่านอุปกรณ์ CC-5MT เพื่อสั่งให้กล้องหมุนไปยังไมค์เหล่านั้น เช่น ไมค์ตัวที่ 1 โดยเซตว่านี่คือ IP ของกล้องเป็น IP ที่ 1

จากนั้นกำหนด IP ถัดไป คือลำดับที่ 2 ตามต้องการ ไล่ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะครบจำนวน 10 ตัว เพื่อให้กล้องมันจดจำตำแหน่งที่วางไมค์เอาไว้ ซึ่งระบบจะจดจำว่า ถ้ากล้องหันมาตำแหน่งนี้ มันคือตำแหน่ง IP ที่เท่าไหร่ ซึ่งเป็นการสั่งให้ระบบจำไว้ก่อน เมื่อเสร็จแล้ว เราต้องเซต IP ของกล้องและ IP ของไมค์ให้ตรงกัน ทั้งหมดเราสามารถจัดการได้ผ่านอุปกรณ์ CC-5MT

ระบบการจดจำตำแหน่งกล้องนั้น จะจดจำจากตำแหน่งที่วางไมค์ หากมีการย้ายไมค์ออกจากตำแหน่งเหล่านั้น ระบบจะไม่ติดตามตัวไมค์ เพราะกล้องจำตำแหน่ง IP ไม่ได้ติดตามไมค์ เพราะไม่มีระบบเซ็นเซอร์จับภาพว่าไมค์ย้ายไปอยู่ที่ไหน

หลายคนอาจเข้าใจว่า เมื่อทำการย้ายตำแหน่งไมค์แล้ว กล้องมันจะหมุนตาม เป็นการเข้าใจผิด เพราะจริงๆ แล้วกล้องถูกล็อคด้วยตำแหน่ง IP ที่เซตค่าไว้ เมื่อมีการกดสวิตซ์เปิดไมค์ กล้องจะหันไปยังตำแหน่ง IP ที่เซตเอาไว้

ดังนั้นเวลาเซตกล้องเพื่อล็อคตำแหน่ง กล้องจะแพน เพื่อให้เห็นว่าไมค์อยู่ตรงไหน สิ่งที่เราต้องทำคือห้ามขยับตำแหน่งของไมค์ เพราะหากขยับภาพที่จับได้จะเปลี่ยน

เวลาใช้งานจริง เราไม่ได้ซูมภาพเพียงแค่คนๆ เดียว ส่วนใหญ่จะดึงมาให้เห็นซ้ายและขวา คนหลักอยู่ตรงกลาง เหตุผลเพราะว่าไมค์หรือกล้องอาจขยับตำแหน่งไปจากเดิม แม้คนนั่งไม่ถูกตำแหน่งแต่กล้องก็ยังมองเห็นอยู่ ตรงนี้อยู่ที่เทคนิคการปรับแต่งการติดตั้งหน้างาน

อย่างไรก็ดี หากไมค์ติดตั้งมีจำนวนน้อย อาจฉายมุมภาพให้เห็นเพียงแค่คนเดียวก็ได้ ขึ้นอยู่กับการใช้งานเป็นหลัก

PTZ12UD กล้องวิดีโอ Conference

PTZ12UD เป็นกล้องวิดีโอติดตามภาพ หรือกล้อง video conference เหมาะสำหรับติดตั้งในห้องประชุมองค์กรที่ต้องการนำภาพผู้พูดขึ้นจอภาพ หรือส่งไปยังภายนอก ใช้เป็นกล้องประชุมทางไกล กล้องรุ่นนี้จะสัญญาณภาพไปที่เครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านทางสาย USB โดยสัญญาณภาพจากตัวกล้องจะส่งออกมา 2 รูปแบบ

แบบแรก ช่อง DVI ใช้ส่งสัญญาณภาพจากตัวกล้องเข้าจอมอนิเตอร์โดยตรง เป็นการแสดงภาพจากกล้องโดยตรง

แบบที่สอง ช่อง USB ใช้ส่งสัญญาณภาพเข้าสู่คอมพิวเตอร์ เพื่อใช้บันทึกภาพลงคอมฯ หรือใช้ประชุมออนไลน์

ข้อสังเกต : เมื่อเราต่อใช้งานช่อง USB แล้ว ทางช่องสัญญาณ DVI จะไม่สามารถใช้งานได้

CC-5MT M-TYPE สามารถควบคุมและสั่งงานกล้อง PTZ12UD ผ่านทางสาย RS485 เช่น การซูมเข้า ซูมออก หมุนซ้าย/ขวา อย่างไรก็ดี การใช้งานกล้องในปัจจุบันแตกต่างจากในอดีต เดิมทีการเชื่อมต่อกล้องจะใช้สายประเภทโคแอกเชียล (Coaxial) ซึ่งมีข้อจำกัดหลายอย่าง

ปัจจุบันกล้องวิดีโอ Conference นิยมใช้การเชื่อมต่อผ่านพอร์ต USB เพราะข้อดีของการเชื่อมต่อ USB เราสามารถต่อกับคอมพิวเตอร์ได้เลย โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์แปลงสัญญาณภาพใดๆ เพิ่มเติม

คุณสมบัติกล้อง PTZ12UD

  • ความละเอียด 2.14MP
  • รองรับพอร์ต USB 3.0/2.0
  • โพรโตคอล UVC1.1
  • แสดงภาพ Full HD
  • ซูมภาพได้ 12X แบบ optical zoom
  • รองรับพอร์ต In/Out RS-232, RS485 Control
  • มีรีโมทควบคุม
  • รองรับ VISCA, PELCOD

ใช้งานร่วมกับกล้องวิดีโอคอนเฟอเรนซ์

สำหรับแนวทางการติดตั้งกล้องวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ (video conference) ซึ่งกล้องวิดีโอที่นำมาใช้ร่วมกับชุดประชุม ไม่จำเป็นต้องเป็นยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่ง สามารถใช้กล้องแบบ Tracking Camera ได้เลย

แต่สิ่งที่ต้องพิจารณาคือโพรโตคอลของกล้องและอุปกรณ์นั้นรองรับกันหรือไม่ อุปกรณ์ CC-5MT จะรองรับโพรโตคอล PELCO-D กล้องตัวใดมีมีโพรโตคอลตัวนี้อยู่ก็สามารถนำมาเชื่อมต่อได้ เพราะมันจะรู้จักกัน หากเป็นโพรโตคอลอื่นอาจควบคุมไม่ได้เพราะอุปกรณ์จะไม่รู้จักกัน

กล้องสำหรับประชุมบางรุ่นสามารถเชื่อมต่อแล้วมองเห็นกันทันที ไม่จำเป็นต้องเซตค่าใดๆ เพิ่มเติม บางรุ่นอาจต้องเซตอัพเล็กน้อย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าซื้อรุ่นใดมาใช้งาน ส่วนใหญ่ค่าที่ต้องเซตคือค่าขนาดจอ กล้องบางตัวเป็นแบบห้อยเพดาน อาจต้องปรับมุม

ในส่วนของอุปกรณ์ควบคุม CC-5MT มันสามารถต่อกับกล้องวิดีโอคอนเฟอเรนซ์โดยตรงได้ จากนั้นนำภาพขึ้นจอ เราจะมองเห็นภาพกันเองแค่ภายในห้อง ในกรณีต้องการประชุมแบบออนไลน์ จะต้องหาวิธีนำภาพดังกล่าวนี้ส่งผ่านอินเตอร์เน็ตให้ได้

การประชุมออนไลน์นั้น อาจต้องใช้คอมพิวเตอร์ หรือตัวแปลงสัญญาณภาพ หรือบางระบบอาจเลือกใช้ระบบกล้องวงจรปิดเหมือน กล้อง webcam ที่สามารถดูภาพทางอินเตอร์เน็ตได้ ซึ่งสามารถนำภาพไปเข้าระบบนั้นๆ ได้เช่นกัน

CC-5MT ใช้กับคอมพิวเตอร์

miniPC เล็กกะทัดรัด เหมาะกับการติดตั้งในห้องประชุมสมัยใหม่

ปัจจุบันการจัดการสัญญาณภาพอาจง่ายขึ้น โดยอาศัย miniPC, PC หรือโน้ตบุ๊คมาช่วยก็ได้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ความต้องการผู้ใช้งาน อย่างกรณี miniPC จะง่ายและคล่องตัวกว่า เพราะสามารถควบคุมผ่านจอมือถือได้ เพราะตัวมันเองสามารถทำงานเหมือนคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่อง

ส่วนกล้องรุ่นใหม่ๆ นั้น มักจะเชื่อมต่อผ่านพอร์ต USB ทำให้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ ได้ง่าย บนตัว CC-5MT มันจะมีช่องเชื่อมแบบ RS-485 เราสามารถต่อสัญญาณควบคุมผ่านสายดังกล่าวเข้าที่กล้องวิดีโอได้ ทั้งนี้เพื่อให้กล้องติดตามภาพ หมุนหาตำแหน่งที่ตั้งไว้ ในบางกรณีสัญญาณภาพที่มาจากล้อง USB ไม่ต้องนำมาเข้าตัว CC-5MT แต่สามารถนำเข้าไปที่ตัวคอมพิวเตอร์โดยตรง

หลังจากนำสัญญาณภาพเข้าไปยังคอมพิวเตอร์แล้ว และเสียงจะมาจากชุดประชุม ก็คือตัว CF-5MS โดยอุปกรณ์ชุดประชุมนั้น จะมีช่องสำหรับบันทึกเสียง และช่องสำหรับเชื่อมต่อกับสัญญาณเสียงจากภายนอก

เสียงภายนอกในที่นี้หมายถึงเสียงที่เป็น Line In ซึ่งนำมาจากคอมพิวเตอร์ ส่วน Line Out ของชุดประชุมก็ส่งไปยังคอมพิวเตอร์ หมายความว่าคอมพิวเตอร์จะมีสัญญาณทั้งภาพและเสียงเข้า/ออกพร้อมกันคราวเดียว

ใช้ร่วมกับโปรแกรม Zoom

เมื่อมีการใช้งานจริง ผ่านซอฟต์แวร์ Zoom ให้เราไปตั้งค่าว่ากล้องใช้จาก USB ซึ่งระบบจะเซตว่าเป็นกล้องภายนอก ส่วนเสียงจากไมค์ให้เซตเป็นเสียงของ USB

กรณีเชื่อมต่อเป็นระบบอะนาล็อค ให้เซตเป็นไมค์บนตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ เวลาเสียงที่พูดตอบโต้กันก็จะเข้ามาที่ชุดประชุมตามปกติ นี่คือตัวอย่างการเซตเพื่อใช้ประชุมในลักษณะเป็นองค์กร

ตัวอย่าง เรามีสาขาหน้าร้าน มีโรงงาน ซึ่งมีห้องประชุมรูปแบบเดียวกัน ประกอบด้วยกล้อง คอมพิวเตอร์ ชุดไมค์ประชุม เสียงถูกเชื่อมต่อไปเข้าคอมพิวเตอร์ กล้องวีดีโอถูกเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์

ทั้งภาพและเสียงฝั่งเราจะถูกส่งไปอีกฝั่งหนึ่ง ส่วนฝั่งตรงข้ามที่มีการเชื่อมต่อในแบบเดียวกับฝั่งของเรา สามารถดึงภาพและเสียงผ่าน Zoom เข้ามา ทำให้สามารถพูดคุยโต้ตอบได้เลย

นอกจากนี้ รูปแบบการประชุมอาจไม่จำเป็นต้องทำจากที่ทำงาน อยู่บ้านก็เข้าร่วมประชุมได้ หาต้องการเข้าร่วมประชุมจากที่บ้าน ก็อาจใช้สมาร์ทโฟน เปิด Zoom ใส่หูฟังหรือเปิด Speaker phone ก็คุยกันได้เลย ซึ่งเสียงที่มาจากฝั่งทางบ้านก็จะมาดังในห้องประชุม ส่วนฝั่งห้องประชุมก็จะส่งไปยังฝั่งบ้าน

สิ่งที่แตกต่างระหว่าง PC และ miniPC คือช่องเชื่อมต่อสัญญาณเสียงที่เป็นอะนาล็อค/ดิจิตอล สำหรับดิจิตอลจะเป็น USB ส่วนอะนาล็อคจะเป็นพวกแจ็คเสียบ Line In/Out หากเป็นโน้ตบุ๊คมันจะมีแจ็คตัวเดียว เพราะช่องต่อไมค์และหูฟังออกแบบให้อยู่ตำแหน่งเดียวกัน หากต้องการใช้จะต้องใช้แจ็คแปลงหูฟังแยกกับไมค์

อีกกรณีถ้าจะเอาแบบง่ายๆ หากออดิโออินเทอร์เฟซมาสักตัว แล้วนำ Line In/Out ของอุปกรณ์ไปเข้า USB โดยเชื่อมต่อผ่านคอมพิวเตอร์ไปเลย ซึ่งสัญญาณเสียงอะนาล็อคจะผ่าน Line In/Out ไปยังคอมพิวเตอร์ด้วย USB เพียงเส้นเดียว

ข้อดีของ miniPC คือมันง่าย ประหยัดทั้งงบประมาณและพื้นที่ติดตั้ง บางรุ่นมีพอร์ตอินเทอร์เฟซต่างๆ มาให้ครบถ้วน ทั้งช่องเชื่อมต่อ HDMI, USB, Ethernet มีเสาส่ง Wi-Fi เราสามารถนำสัญญาณจากช่อง HDMI ไปออกจอเป็นมอนิเตอร์ก็ได้ ส่วนแป้นคีย์บอร์ดสามารถใช้เป็นแอปพลิเคชันผ่านสมาร์ทโฟนได้ หรือหากต้องการใช้งานคีย์บอร์ดสามารถต่อตรงกับ miniPC ก็ได้

Audio Interface อุปกรณ์แปลงเสียงอะนาล็อคสู่ดิจิตอล ผ่านพอร์ต USB

สรุป

CC-MT ถือเป็นอุปกรณ์ควบคุมกล้อง conference เพื่อติดตามภาพอัตโนมัติ หรือระบบกล้องติดตามภาพแบบอัตโนมัติ ที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานร่วมกับกล้องวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ และอุปกรณ์ควบคุมไมค์ชุดประชุม CF-5M Series

เครื่องนี้สามารถใช้ร่วมกับกล้องวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ที่รองรับโพรโตคอล PELCO-D ตัวอุปกรณ์สามารถเซตตำแหน่ง (Camera IP Address) เพื่อติดตามภาพผู้พูดขณะใช้งานไมค์ประชุมขณะนั้นๆ ได้ และยังสามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ส่งสัญญาณภาพขึ้นจอโปรเจคเตอร์ หรือส่งภาพผ่านอินเตอร์เน็ต ซึ่งช่วยให้การประชุมออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันประชุมต่างๆ สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง :

CF-5M Series ไมโครโฟนชุดประชุมดิจิตอล


NPE CF-128 Series ไมค์ชุดประชุม พร้อมอุปกรณ์ควบคุม

สามารถสอบถาม ติดตามข่าวสาร และข้อมูลได้ที่ :

✅ สนใจสั่งซื้อสินค้า ผ่านเว็ปไซต์
www.mynpe.com/
✅ Line@ : http://bit.ly/LineMyNPEThailand
✅ Facebook : http://m.me/mynpethailand
✅ Twitter : twitter.com/mynpethailand
✅ Instagram : instagram.com/mynpethailand
✅ Youtube : www.youtube.com/user/mynpe

☎️ Tel : 02 225 0094 (Banmoh Branch)
Map : www.mynpe.com/mynpe-banmoh
☎️ Tel : 02 992 7379 (Zeer Rangsit Branch)
Map : www.mynpe.com/mynpe-zeer
☎️ Tel : 02 889 5498 (Salaya Branch)
Map : www.mynpe.com/mynpe-salaya

Read Previous

CF-5M Series ไมโครโฟนชุดประชุมดิจิตอล

Read Next

Celestion TF12 Series ดอกลำโพงคุณภาพระดับโลก