B3 DT Series วงจรแอมป์ Class-D ด้วยขุมพลัง 850W-2500W/Ch. ตั้งค่า Input Sensitivity ได้
สำหรับ B3 DT Series เป็นเพาเวอร์แอมป์รุ่นใหม่ล่าสุดของแบรนด์ β3 (อ่านว่า “เบ-ต้า-ทรี”) ตัวแอมป์ออกแบบวงจรภาคขยายเป็น Class-D ใช้หม้อแปลงแบบทอรอยด์ ต่างจากแอมป์ Class-D ทั่วไปที่นิยมใช้วงจรจ่ายไฟแบบสวิตชิ่ง ใน Series นี้มี 2 รูปแบบ คือ 2 แชนแนล และ 4 แชนแนล โดยทางบริษัทนัฐพงษ์ฯ เป็นผู้นำเข้า β3 อย่างเป็นทางการ ซึ่ง DT Series ถูกนำเข้ามาทั้งหมด 6 รุ่น
เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน
2 แชนแนล
DT1000 กำลัง 550W/Ch. @ 8 Ohms, 850W/Ch. @ 4 Ohms ราคาปกติ 12,000 บาท/เครื่อง
DT2000 กำลัง 1000W/Ch. @ 8 Ohms, 1500W/Ch. @ 4 Ohms ราคาปกติ 13,500 บาท/เครื่อง
DT4000 กำลัง 1500W/Ch. @ 8 Ohms, 2500W/Ch. @ 4 Ohms ราคาปกติ 20,500 บาท/เครื่อง
4 แชนแนล
DT2004 กำลัง 550W/Ch. @ 8 Ohms, 850W/Ch. @ 4 Ohms ราคาปกติ 16,000 บาท/เครื่อง
DT4004 กำลัง 1000W/Ch. @ 8 Ohms, 1500W/Ch. @ 4 Ohms ราคาปกติ 25,500 บาท/เครื่อง
DT8004 กำลัง 1500W/Ch. @ 8 Ohms, 2500W/Ch. @ 4 Ohms ราคาปกติ 27,000 บาท/เครื่อง
β3 DT1000
สำหรับเพาเวอร์แอมป์รุ่น DT1000 จะให้กำลังขับที่ 550W ต่อแชนแนล อิมพีแดนซ์ 8 Ohms และ 850W ต่อแชนแนล ที่อิมพีแดนซ์ 4 Ohms ตัว DT Series ทุกรุ่นจะมีลักษณะการใช้งานใกล้เคียงกัน กล่าวคือ ช่องเชื่อมต่อสัญญาณต่างๆ มีลักษณะเหมือนกัน สิ่งที่ต่างกันชัดเจนคือกำลังวัตต์ และอัตราการกินกระแสไฟฟ้า รวมถึงน้ำหนักตัวเครื่อง ส่วนสเป็คอื่นๆ แทบจะไม่ต่างกันมากนัก ใช้กระแสไฟฟ้า 3A น้ำหนักเครื่อง 11.5 kg.
ค่า THD, Input Sensitivity, IMD, Frequency response, Damping factor ระบบพัดลมระบายอากาศ ค่าต่างๆ เหล่านี้ส่วนใหญ่จะเหมือนกัน
β3 DT2000
เพาเวอร์แอมป์ DT2000 ให้กำลังขับ 1000W ต่อแชนแนล ที่อิมพีแดนซ์ 8 Ohms หรือ 1500W ต่อแชนแนล ที่อิมพีแดนซ์ 4 Ohms ใช้กระแสไฟฟ้า 5A น้ำหนักเครื่อง 14 kg.
β3 DT4000
เพาเวอร์แอมป์ DT4000 ให้กำลังขับ 1500W ต่อแชนแนล ที่อิมพีแดนซ์ 8 Ohms หรือ 2500W ที่ 4 Ohms ใช้กระแสไฟฟ้า 6A น้ำหนักเครื่อง 16.5 kg.
นี่คือภาพรวมของ DT Series ที่เป็นเพาเวอร์แอมป์ 2 แชนแนล
β3 DT2004
สำหรับเพาเวอร์แอมป์ขนาด 4 แชนแนล ตัวแรกรุ่น DT2004 จะให้กำลังขับที่ 550W ต่อแชนแนล ที่อิมพีแดนซ์ 8 Ohms และ 850W ต่อแชนแนล ที่อิมพีแดนซ์ 4 Ohms ใช้กระแสไฟฟ้า 7A น้ำหนักเครื่อง 15.5 kg.
β3 DT4004
ในรุ่น DT4004 ให้กำลังขับที่ 1000W ต่อแชนแนล ที่อิมพีแดนซ์ 8 Ohms หรือ 1500W ต่อแชนแนล ที่อิมพีแดนซ์ 4 Ohms ใช้กระแสไฟฟ้า 7A น้ำหนักเครื่อง 20 kg.
β3 DT8004
ในรุ่น DT4008 เป็นรุ่นใหญ่สุดใน Series ให้กำลังขับที่ 1500W ต่อแชนแนล ที่อิมพีแดนซ์ 8 Ohms และ 2500W ต่อแชนแนล ที่อิมพีแดนซ์ 4 Ohms ใช้กระแสไฟฟ้า 9A น้ำหนักเครื่อง 23.5 kg.
คุณสมบัติเชิงลึก
เพาเวอร์แอมป์ B3 DT Series ทั้ง 6 รุ่นนี้ จะมีสวิตซ์ปรับค่า Input Sensitivity ซึ่งอยู่ด้านหลังเครื่อง ค่าที่มีให้เลือกคือ 0.775V/1V/32dB มีค่า THD (total harmonic distortion)
น้อยกว่า 0.1% @ 8 Ohms, 1kHz ส่วนค่า IMD มีค่าน้อยกว่า 0.5% ที่ 8 Ohms, 60Hz/7kHz 4:1
ส่วนค่าการตอบสนองความถี่ 20Hz-20kHz +/- 2dB ค่า Damping Factor มากกว่า 500 @ 8 Ohms, 100Hz ระบบพัดลมระบายอากาศจะเป็นพัดลมแบบคู่ ควบคุมรอบหมุนตามอุณหภูมิของเครื่อง กรณีแอมป์ร้อนมาก รอบหมุนของพัดลมจะหมุนในอัตราเร็วขึ้นเพื่อเร่งระบายความร้อนออกจากตัวเครื่อง หากแอมป์ร้อนต่ำ รอบการหมุนพัดลมจะช้าตาม ทำให้กระแสไฟฟ้าถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
ค่า S/N แบบ A-Weight (8 Ohms, 1kHz, 32dB) แสดงตามตารางดังนี้
รุ่น | ค่า S/N |
DT1000 | >102dB |
DT2000 | >105dB |
DT4000 | >105dB |
DT2004 | >102dB |
DT4004 | >105dB |
DT8004 | >105dB |
DT Series ใช้แรงดันไฟฟ้า 220-230, 50/60Hz เป็นระดับแรงดันไฟฟ้าปกติที่ใช้ในประเทศไทย
สำรวจตัวเครื่อง B3 DT Series
ด้านหน้าเครื่องแอมป์ 2 แชนแนล ฝั่งซ้ายมือสุดจะพบสวิตซ์ Power สำหรับเปิด/ปิดเครื่อง ตรงกลางเป็นช่องระบายอากาศ และเห็นโลโก้ของแบรนด์เด่นชัด ถัดมาจะพบลูกบิดควบคุมแชนแนล A และ B ในแต่ละแชนแนลจะมีหลอด LED แสดงสถานะการทำงานของแอมป์ในขณะนั้น เช่นแสดงค่า Peak, Signal และ Error
ด้านหน้าเครื่องแอมป์ 4 แชนแนล ฝั่งซ้ายมือสุดมีสวิตซ์ Power ใช้เปิด/ปิดแอมป์ ตรงกลางมีช่องระบายอากาศ ด้านบนเป็นโลโก้สินค้า มีลูกบิดควบคุมแชนแนลแอมป์จำนวน 4 ตัว โดยมีหลอด LED แสดงสถานะการทำงานในขณะนั้น อาทิ Peak, Signal, Error เหมือนกับแอมป์ 2 แชนแนล
ด้านหลังเครื่องของแอมป์ 2 แชนแนล จะมีช่องสำหรับเชื่อมต่อสัญญาณ อินพุตเป็น XLR แบบตัวเมีย จำนวน 2 ช่อง และยังมีช่อง Link สัญญาณออกไปภายนอกแบบ XLR ตัวผู้ จำนวน 2 ช่อง ฝั่งเอาต์พุตมีช่องต่อแบบ Speakon จำนวน 2 ช่อง ซ้ายมือสุดจะเป็นพัดลม ขวามือสุดเป็นวงจรเบรกเกอร์ และสายไฟ AC ตรงกลางจะพบสวิตซ์ 2 ตัวคือปรับค่า Sensitivity เลือกได้ 3 ค่า และด้านล่าง Limiter เลือกได้ 2 โหมด
ด้านหลังเครื่องของแอมป์ 4 แชนแนล ฝั่งอินพุตจะมีจุดเชื่อมต่อสัญญาณแบบ XLR ตัวเมียจำนวน 4 จุด คือ IN A, IN B, IN C และ IN D โดยมีสวิตซ์ปรับโหมด Link/Alone จำนวน 3 จุด จับคู่ระหว่างแชนแนล A+C, A+B และ C+D และยังมีช่อง Parallel เป็นเอาต์พุตสัญญาณของแชนแนล A แบบ TRS ให้อีกด้วย
จุดเชื่อมต่อของเอาต์พุตด้านหลังมีทั้งหมด 4 จุด เป็นแบบ Speakon ตรงกลางจะเป็นสวิตซ์ปรับค่า Sensitivity 3 ค่า และสวิตซ์ Limiter 2 โหมด เป็นวงจรลิมิเตอร์ที่บรรจุมาพร้อมกับแอมป์ โดยสัญญาณเสียงทุกแชนแนลจะแชร์จากวงจรเดียวกัน ฝั่งซ้ายมือสุดเป็นตำแหน่งพัดลม 2 ตัว ฝั่งขวามือสุดเป็นวงจรเบรกเกอร์และสายไฟ AC
ในส่วนของแอมป์ 4 แชนแนล สามารถปรับแต่งการใช้งานได้ 3 รูปแบบ คือ สามารถเลือกกำหนดเป็น Link หรือเซตเป็น Parallel ได้ เช่นต่ออินพุตช่อง A ส่วนช่อง B ไม่ต้องต่ออะไร โดยระบบจะ Link สัญญาณไปยัง B ให้เลย ทำให้เราดึงสัญญาณอินพุตของ A ผ่านช่อง B ได้
อีกแบบคือการ Link สัญญาณระหว่าง C และ D ได้ โดยทำการ Parallel ระหว่าง C+D อีกทั้งยัง Link A+C ได้ กรณีเราทำ A+C แยกเป็นซับวูฟเฟอร์ ส่วน B+D แยกขับกลางแหลมซ้าย-ขวา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการออกแบบแอปพลิเคชันระบบเสียงว่าต้องการลักษณะไหน
Limiter
MODE 1 = ใช้กรณีต้องการรีดพลังของแอมป์ออกมาสูงสุดโดยสัญญาณจะไม่เกิดการแตกพร่า แม้ว่าสัญญาณอินพุตจะสูงกว่าอัตราค่า Sensitivity ที่ตั้งไว้ก็ตาม เรายังได้คุณภาพเสียงที่ดีจากเพาเวอร์แอมป์ เหมาะกับงานเปิดเสียงเพลง และแอปพลิเคชั่นต่างๆ ที่มีไดนามิกเร้นจ์แคบๆ โดยทางโรงงานแนะนำให้เซตเป็นโหมดนี้
MODE 2 = ใช้กรณีต้องการรีดพลังแอมป์ออกมาสูงสุด มันจะลิมิตสัญญาณดิสตอร์ชันไว้ประมาณ 10% เหมาะสำหรับแอปพลิเคชันที่ต้องใช้ช่วงไดนามิกเร้นจ์กว้างๆ ในบางช่วงเวลา เช่น การใช้ขับซับวูฟเฟอร์กำลังวัตต์สูง แม้สัญญาณอินพุตขณะใดขณะหนึ่งมีค่าสูงกว่าอัตราส่วน Sensitivity ระบบจะยังรักษาอัตราความผิดเพี้ยนไว้ประมาณ 10%
กรณีใช้งานทั่วไปเลือกเซตเป็น MODE 1 กรณีใช้งานกับซับวูฟเฟอร์เลือกเป็น MODE 2
แนวทางการเซตค่า Input Sensitivity
ค่า Sensitivity เป็นอัตราส่วนการขยายสัญญาณ มีหน่วยเป็น dB/Vrms หากแอมป์รุ่นใดมีค่า dB สูงก็จะสามารถขยายสัญญาณของอินพุตได้สูง โดยการขยายสัญญาณนั้นจะเป็นไปตามขีดความสามารถของแอมป์รุ่นนั้นๆ
ในกรณี Sensitivity ถูกตั้งเป็น 0.775V หรือ 1V เมื่อมีอินพุตเข้ามา แอมป์จะขยายสัญญาณเต็มที่ก่อนที่จะเกิดอาการ Clip แอมป์รุ่นเดียวกันควรจะตั้งค่านี้ลักษณะเดียวกัน เพื่อให้สัญญาณอินพุตที่ป้อนเข้ามามีอัตราขยายเท่ากัน ค่า 0.775V เป็นค่าที่นิยมใช้กันมาก แต่ไม่เหมาะกับการใช้กับแอมป์ที่มีกำลังขับสูงสุดต่างกัน
กรณีตั้งเป็นค่า 32dB จะเป็นการกำหนดว่าจะให้แอมป์ขยายสัญญาณสูงขึ้นกี่ dB แอมป์ Series นี้มีให้เลือกเพียงค่าเดียวคือ 32dB ในบางรุ่นอาจจะมีให้เลือกหลายค่า ความหมายคือ หากตั้งไว้ที่ 32dB เมื่อป้อนสัญญาณอินพุตเข้ามาอัตราขยายสัญญาณจะเพิ่มขึ้น 32dB เสมอ เช่น เรานำ DT1000 มาใช้ร่วมกับ DT4000
แม้ทั้ง 2 รุ่นจะมีกำลังวัตต์ต่างกัน แต่เมื่อป้อนสัญญาณอินพุตเข้าไปแอมป์ทั้ง 2 รุ่นจะทำการขยายสัญญาณอินพุตในอัตราที่เท่ากัน จนกว่าแอมป์รุ่น DT1000 จะหยุดทำงาน เพราะว่ามีขีดความสามารถน้อยกว่า DT4004 นั่นเอง
สรุป
B3 DT Series เพาเวอร์แอมป์ Class-D ภาคจ่ายไฟใช้หม้อแปลงชนิดทอรอยด์ เหมาะกับงานติดตั้งภายในอาคาร โรงเรียน หน่วยงานต่างๆ รองรับงาน งานเปิดเพลงทั่วไป งานอีเว้นต์ งานประชุมภายในองค์กร และรวมถึงงานทัวริ่งคอนเสิร์ต สามารถใช้กับลำโพงพาสซีฟได้หลากหลายแบบ
ถ้าต้องการแอมป์ 2 แชนแนลให้เลือกรุ่น DT1000, DT2000 และ DT4000 โดยมีกำลังขับตั้งแต่ 550W/CH ถึง 1500W/CH ที่โหลด 8 Ohms
ถ้าต้องการแอมป์ 4 แชนแนลให้เลือกรุ่น DT2004, DT4004 และ DT8004 ซึ่งมีกำลังขับตั้งแต่ 550W/CH ถึง 1500W/CH ที่โหลด 8 Ohms หรือ 850W/CH ถึง 2500W/CH ที่โหลด 4 Ohms
บทความที่เกี่ยวข้อง :
NPE LSP Series ลำโพง 2 ทาง ใช้ดอก Lavoce
NPE T-12000 เพาเวอร์แอมป์กำลังขับ 10400W
สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
บริษัท นัฐพงษ์ เซลส์แอนด์เซอร์วิส จำกัด
สำนักงานใหญ่บ้านหม้อ โทร 0-2225-0094
สาขาเซียร์รังสิต โทร 0-2992-7379
สาขาศาลายา โทร 0-2889-5496
หากสนใจสั่งซื้อสินค้าสามารถแวะเยี่ยมชมได้ทางเว็ปไซต์ www.mynpe.com/beta3 และผ่านทาง Fanpage ของบริษัทได้ที่ www.facebook.com/mynpethailand หรือจะเข้ามา Follow twitter, Instagram, Line@ ของบริษัทก็ได้เช่นกันที่ @myNPEThailand ตามช่องทางที่สะดวก